Step by Step ข้อควรรู้ก่อนเปิด ธุรกิจ ปั๊มแก๊ส LPG

ปัจจัยทาง ธุรกิจ ในปัจจุบันยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจฝืดเคืองการจะเลือกลงทุนอะไรสักอย่างที่ต้องใช้เม็ดเงินสูงจะต้องวิเคราะห์เจาะลึกมองหน้ามองหลังให้ดี เพราะงั้นคือความเสี่ยงที่เราต้องแบกรับเมื่อได้ลงมือทำไปแล้ว

มีธุรกิจหลายอย่างที่มีงบการลงทุนที่สูงแต่ก็มีการประเมินเบื้องต้นแล้วว่าน่าจะคุ้มค่าโดยเฉพาะในหมวดหมู่ของพลังงานอย่างเช่นสถานีบริการ LPG เป็นต้น

 ธุรกิจ

LPG ถือเป็นพลังงานทางเลือกของรถยนต์ที่มาแรงในหลายปีหลังยิ่งมีการผันผวนของราคาน้ำมันที่เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลงจนคนขับรถเองเริ่มไม่วางใจ หลายคนจึงหันมาติดตั้งระบบแก๊ส LPGที่ ณ ตอนนี้ราคาน่าจะถูกที่สุดเมื่อเทียบกับ NGV หรือว่าน้ำมันเบนซินและดีเซล

แต่การที่เห็นว่าดีหรือมีอนาคตไกลก่อนที่จะเข้าสู่ธุรกิจนี้ก็ควรศึกษาข้อมูลสักเล็กน้อยว่าเหมาะสมกับตัวเราเองแค่ไหน

www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมเอาลำดับขั้นของการจัดตั้งสถานีบริการ LPG นำเสนอทุกท่านก่อนตัดสินใจถ้าอ่านแล้วดีมั่นใจว่าใช่ก็เดินหน้าประกอบกิจการกันได้เลย

ภาพรวมของการเติบโตในธุรกิจ LPG

kk22

ถ้ามองที่การเติบโตถือว่าธุรกิจนี้น่าสนใจมากทีเดียวดูได้จากที่ยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. ยังกระโดดเข้ามาร่วมวงในธุรกิจนี้ ข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงานในเดือนมีนาคม2559ระบุว่ามีสถานีบริการ LPG ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,860 แห่ง โดยบริษัทสยามแก๊ส แอนด์ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด มีสถานีบริการมากที่สุดคือ 473 แห่ง ที่เหลือก็เป็นยักษ์ใหญ่ในวงการนี้ไม่ว่าจะเวิลด์แก๊ส หรือว่าปิคนิค ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสถานีบริการนี้บ่งบอกให้เห็นว่าปริมาณคนที่หันมาใช้พลังงาน LPG มีมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ราคาอ้างอิงในตลาดโลกช่วงหลังเริ่มจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นมากก็ตามที

คิดจะทำธุรกิจสถานีบริการ LPG ต้องมีความพร้อมเรื่องเงินทุนมากทีเดียว

นี่คืองานใหญ่ที่ต้องมีความพร้อมเยอะมากเริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลรอบด้าน และดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนเริ่มตั้งแต่จดทะเบียนจนสร้างสถานีเสร็จสิ้น คำนวณกันคร่าวๆ โดยไม่เอาราคาที่ดินมาเกี่ยวข้อง (ในกรณีที่ต้องซื้อที่ดินใหม่) นี่คืองบประมาณสำหรับการเดินเรื่อง จนถึงการก่อสร้าง

งานระบบที่ถูกต้องตามกฏหมาย ต้องมีเงินลงทุนอย่างน้อย 6-7ล้านบาท และต้องมีพื้นที่ตามกำหนดคือตั้งแต่ 3 งาน-1ไร่ พร้อมกับมีเงินหมุนเวียนในระบบอีกอย่างน้อย 300,000 บาท เพื่อบริหารจัดการธุรกิจให้เดินหน้าอย่างคล่องตัว

โครงสร้างที่สำคัญของสถานีบริการ LPG พร้อมราคาในเบื้องต้น

ธุรกิจปั๊มแก๊ส LPG

จากการลงพื้นที่สอบถามผู้ประกอบการก็ทำให้เราได้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับโครงสร้างและราคาประเมินเบื้องต้นเอามาสรุปเป็นตารางให้รับทราบหากคิดจะเปิดสถานีบริการ LPG คุณต้องมีสิ่งเบื้องต้นเหล่านี้

อุปกรณ์สำคัญของปั๊มแก๊สที่จำเป็นต้องมี

(ขนาดขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด)

ราคา/ หน่วย

(โดยประมาณ)

เป็นจำนวนเงิน

(โดยประมาณ)

1.อาคารหลังคาหัวจ่ายก๊าชขนาด 6 x 9 เมตร 240,000 240,000
2.เสากันชนและรั้วตาข่ายขนาด 7.5 x 8.0 90,000 90,000
3.กำแพงกันไฟสูง 2 เมตร ยาว 120 เมตร 2,500 300,000
4.พื้นคอนกรีตหนา 20 ซม. ในพื้นที่ 1,400 ตรม. 650 910,000
5.รางระบายน้ำ โดยรอบ 160 เมตร 1,000 160,000
6.ระบบไฟฟ้า  ระบบล่อฟ้า  และเครื่องเตือนก๊าชรั่ว 300,000 300,000
7.บ่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 6.40 x 6.80 x 3.25 เมตร 850,000 850,000
8.ตู้จ่ายก๊าช จำนวน 2 ตู้ 550,000 1,100,000
9.ปั๊มสูบถ่ายก๊าชขนาด 1 ½  x 1 จำนวน 2 ชุด 180,000 360,000
10.อุปกรณ์วาล์ว ค่าติดตั้ง และระบบดับเพลิง 500,000 500,000
11.ถังเก็บและจ่ายก๊าชแบบฝังดินปริมาตร 8,949 ลิตร จำนวน 2 ถัง 400,000 800,000
5,610,000

จะเห็นว่าเฉพาะอุปกรณ์สำคัญและการก่อสร้างตามแบบที่กฏหมายกำหนดทุกประการมีเงินลงทุนเกือบ6ล้านบาท แต่ยังไม่รวมเรื่องการปรับภูมิทัศน์และการตกแต่งโดยรอบซึ่งคาดว่าถ้าเอาแบบสมบูรณ์สวยงามราคาเบื้องต้นน่าจะเกือบๆ 7 ล้านบาทเลยทีเดียว

แนวทางการขออนุญาติและการหาทำเลที่เหมาะสม

ธุรกิจปั๊มแก๊ส LPG

  1. เริ่มจากการตรวจสอบผังเมืองกับกรมโยธาเพื่อแสดงความต้องการที่จะสร้างปั๊มและติดต่อกับ เทศบาลตำบลหรือ อบต.เพื่อทำรายงานความเห็นชอบของคนในพื้นที่
  2. ยื่นหลักฐานกับกรมธุรกิจพลังงานเพื่อยื่นแบบในการก่อสร้างหรือให้ทางกรมฯออกแบบก่อสร้างมาให้เพื่อให้ผ่านการอนุมัติง่ายขึ้น
  3. เมื่อได้แบบก่อสร้างแล้วต้องไปยื่นกับกรมทางหลวงเพื่อขอทำทางเชื่อมเข้ากับสถานีบริการ และรอจนกว่าจะได้ใบอนุญาติให้ก่อสร้างจากกรมธุรกิจพลังงานก่อนเท่านั้นถึงจะเริ่มลงมือก่อสร้างได้
  4. ระหว่างก่อสร้างต้องติดต่อบริษัทที่จะทำการค้าด้วยเช่นปิคนิค เวิร์ลแก๊ส หรือว่าสยามแก๊ส เป็นต้น
  5. เมื่อโครงสร้างแล้วเสร็จต้องจ้างบริษัทที่เชื่อถือได้สำหรับงานระบบเพื่อให้สามารถยื่นขอใบอนุญาติประกอบการจากกรมธุรกิจพลังงานง่ายขึ้น
  6. ต้องจดทะเบียนการใช้เครื่องจักรกับกรมอุตสาหกรรมจังหวัดให้เรียบร้อยด้วย

ผลตอบแทนที่ได้จากการทำธุรกิจสถานีบริการ LPG

ธุรกิจปั๊มแก๊ส LPG

การคิดกำไรจากธุรกิจแก๊ส LPG จะเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อกิโลกรัมเพราะเวลานำเข้าแก๊สจะซื้อขายที่หน่วยกิโลกรัม ถ้ายิ่งราคาแก๊สแสดงหน้าปั๊มสูงมากเปอร์เซ็นต์ที่ได้ก็จะมากขึ้น จากการพูดคุยเจ้าของปั๊มบางคนบอกว่ามีกำไรอยู่ที่ประมาณ 3.25 บาท/กก.

แต่นี่ยังไม่ใช่กำไรสุทธิเพราะยังต้องหักรายจ่ายส่วนอื่นไม่ว่าจะเป็นค่าการบริหาร ค่าแรง ค่าไฟ ฯลฯ กำไรที่ได้จึงเหลือไม่มากแต่ถ้าอยู่ในทำเลที่ดีเช่นมีรถบรรทุกวิ่งผ่านหรือว่าอยู่ใกล้อู่Taxi ธุรกิจนี้ก็จะมีกำไรมากขึ้นด้วย

ธุรกิจปั๊มแก๊ส LPG

ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะหรือมีความพร้อมมากพอที่จะเปิด ธุรกิจปั๊มแก๊ส LPG ได้หรือไม่มาลองหาคำตอบกับแบบทดสอบความพร้อมธุรกิจปั๊มแก๊ส LPG เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนลงมือทำกันต่อไป แบบทดสอบความพร้อม ธุรกิจปั๊มแก๊ส แอลพีจี 


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด