Step by Step ข้อควรรู้ก่อน เปิดร้านอาหารตามสั่ง

การกินเป็นสิ่งสำคัญถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่คนเราจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะดีร้ายแค่ไหน แต่ธุรกิจที่เกี่ยวกับ อาหาร ก็ยังเป็นที่ต้องการของคนทุกเพศทุกวัยเสมอ

ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นผู้ลงทุนเข้ามาในธุรกิจนี้กันมากมายโดยมีรูปแบบอาหารให้เลือกทานกันอย่างหลากหลายแล้วแต่ว่าใครมีทักษะหรือว่าถนัดที่จะทำอาหารกันแบบไหน แต่ถ้าจะให้ตอบโจทย์ได้ดีก็ต้องแบบกินง่าย ทานง่าย ราคาไม่แพง ไม่ว่าเวลาไหนก็สามารถหาทานได้ เรียกว่าเป็นอาหารตามใจที่อยากกินอะไรก็สั่งได้

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

รูปแบบการเปิดร้านอาหารตามสั่งนั้นดูแล้วไม่น่ายากแต่ก็ใช่ว่าใครจะเข้ามาทำแล้วก็สำเร็จไปทุกราย www.ThaiSMEsCenter.com จึงรวบรวมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำธุรกิจร้านอาหารตามสั่งมาดูกันว่าถ้าอยากมีอาชีพนี้จริงๆ เราต้องเริ่มจากอะไรกันก่อนบ้างเพื่อจะได้เตรียมตัวกันได้ถูกต้อง

มองหาทำเลที่ดีแนะนำว่าควรเป็นแหล่งชุมชนจะได้เปรียบมาก

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

การขายอาหารตามสั่ง ควรมีพื้นที่ขายอยู่ในบริเวณชุมชนที่มีคนเยอะๆ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ก็มีข้อดีที่คล้ายกันคือถ้าเป็นบ้านพัก คอนโด หรือหอพัก ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นพนักงาน หรือนักเรียนนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่บริเวณนั้น โดยจะเดินเข้าออกได้บ่อยๆเพราะสะดวกส่วนตลาดโต้รุ่ง หรือ

ตลาดกลางเดินคืน จะมีคนไปเดินเล่นค่อนข้างมาก ก็เป็นแหล่งเปิดร้านชั้นดีหรือจะเป็นหน้าโรงเรียน และมหาวิทยาลัยที่ลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือนักเรียนหรือนักศึกษาที่มักใช้บริการ ร้านอาหารตามสั่งเป็นร้านประจำอยู่แล้ว

พัฒนาฝีมือให้มั่นใจก่อนเปิดกิจการอย่างจริงจัง

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

เมื่อได้ทำเลเหมาะๆ ก็ค่อยหันมาดูเรื่องฝีมือยิ่งถ้ามี พื้นฐานหรือชอบทำอาหารอยู่แล้วจะดีมากแต่ถ้าเป็นมือใหม่อยู่แนะนำว่าให้ทดลองทำปรับสูตร ปรับรสชาติไปเรื่อยๆ พร้อมกับให้ลูกค้าคอมเม้นท์ ติชม

ดูบ้างว่าลูกค้าอยากได้รสชาติแบบไหน ค่อยๆทำไปเรื่อยจนกว่าจะเจอสูตรลงตัวที่สำคัญต้องเน้นเรื่องความสะอาด มีคุณภาพ และตั้งราคาที่สมเหตุสมผลด้วย

มาถึงเรื่องเงินทุนและอุปกรณ์สำคัญในการทำธุรกิจอาหารตามสั่ง

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

การลงทุนครั้งแรกประมาณ 20,000 บาท จะขึ้นอยู่กับการตกแต่งร้านเป็นหลักซึ่งยังไม่รวมค่าเช่า และของแต่งร้านอื่นๆเช่น ตู้กระจกราคาประมาณ 2,500 บาท เตาแก๊สพร้อมถัง 2,000 บาท โต๊ะเก้าอี้ 6 ชุด ประมาณ 3,600 บาท โต๊ะวางกระจก 500 บาท เป็นต้น

นอกจากนี้ก็มีอุปกรณ์พื้นฐานอื่นๆที่จำเป็น เช่น หม้อหุงข้าว ทัพพี มีด เขียง กระทะ ตะหลิว หม้อต้มซุป จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ถุงพลาสติก ยางรัดถุง และกล่องโฟม เป็นต้น

เงินลงทุนต่อวัน : เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 700 – 4,000 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาในร้าน

รายได้ต่อวัน : เฉลี่ยแล้วประมาณ 2,000 บาทเป็นอย่างน้อยซึ่งปัจจุบันราคาจำหน่ายแต่ละเมนูไม่ต่ำกว่า 35-40 บาท หรืออาจจะแพงกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับเมนูที่ลูกค้าสั่งว่ายากง่ายขนาดไหน

10 เมนูยอดฮิตที่ทำให้ดีให้ถูกใจ ก็ได้กำไรสบายๆ

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

จากการที่ทีมงานเราเองก็คร่ำหวอดเกี่ยวกับการกินอาหารตามสั่งมาไม่น้อย พอมาประมวลผลกันอีกทีก็สรุปได้ว่าเมนูที่เราสั่งกินกันมาเนิ่นนาน ส่วนใหญ่ก็จะวนๆเวียนๆ อยู่ไม่กี่อย่าง เรารวบรวมมาเป็น 10 เมนูยอดฮิตที่ต้องทราบเพราะว่าลูกค้าจะต้องถามหาเมนูเหล่านี้แน่นอน

  1. ข้าวกระเพรา(หมู,ไก่,รวมมิตร)+ไข่ดาว
  2. ข้าวผัดต่างๆ
  3. ข้าวไข่เจียว
  4. ข้าวหมูทอดกระเทียมพริกไทย
  5. ผัดผักราดข้าว
  6. ถั่วฝักยาวผัดพริกแกงราดข้าว
  7. ผัดพริกสดราดข้าว
  8. สุกี้น้ำ-แห้ง
  9. ราดหน้า-ผัดซีอิ๊ว
  10. ผัดไท

ทีเด็ดเคล็ดลับเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารตามสั่งเติบโตอย่างสดใส

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

เทคนิคเล็กๆน้อยเป็นสิ่งที่คนเปิดร้านอาหารตามสั่งควรใส่ใจให้มาก เพราะต้องไม่ลืมว่านี่คือธุรกิจที่มีทั่วบ้านทั่วเมืองมองไปทางไหนก็เจอ

ดังนั้นทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้กิจการของเราไปต่อเนื่องได้คือต้อง พัฒนาร้านให้ดีไม่จำเป็นว่าต้องสวยหรือโดดเด่นแต่ให้เน้นที่

  1. ความสะอาด โดยเฉพาะพวกเศษอาหารเหลือควรมีการจัดการที่ดีเยี่ยม เพื่อป้องกันไม่ให้พวกแมลงสกปรกเข้ามารบกวนในร้านเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยที่จะรับประทานอาหารตามสั่งของเรา
  2. ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส รู้จักการทักทายลูกค้า ให้จำไว้เสมอว่าต่อให้เรายุ่งแค่ไหนก็ไม่ควรอารมณ์เสียหรือพูดจาห้าวๆห้วนๆ ใส่ลูกค้า เรียกว่านี่คือหัวใจของงานบริการ ที่จะทำให้คนพูดถึงบอกต่อ เป็นประชาสัมพันธ์ทางอ้อมที่เราไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเลยแม้แต่น้อย

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

เทคนิคอื่นที่นอกเหนือจากนี้ในกรณีที่ร้านอาหารตามสั่งของเราเริ่มมีกำไรมากขึ้น มีลูกค้ามากขึ้น ก็อาจจะต้องเพิ่มบุคลากรอย่างพ่อครัวแม่ครัว หรือว่าเด็กเสิร์ฟ แม้จะเป็นการเพิ่มต้นทุนขึ้นมาแต่ถ้าแลกกับความพอใจของลูกค้าและรายได้ที่มากขึ้น ก็ถือว่าคุ้มค่าและสมควรทำเป็นอย่างยิ่ง

ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะหรือมีความพร้อมมากพอที่จะเปิดธุรกิจร้านอาหารตามสั่งได้หรือไม่มาลองหาคำตอบกับแบบทดสอบความพร้อมร้านอาหารตามสั่งเพื่อสร้างความมั่นใจก่อนลงมือทำกันต่อไป แบบทดสอบความพร้อมร้านอาหารตามสั่ง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด