Step by Step ข้อควรรู้ก่อนทำ ธุรกิจสปา

ธุรกิจ หรืออาชีพที่อยู่ในรูปแบบงานบริการจำเป็นต้องมีการใช้ทักษะและฝีมือมาร่วมในงานด้วยถือเป็นมนต์เสน่ห์ระดับชาติที่ไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศเท่านั้นแต่สามารถขยายไปไกลได้ถึงต่างประเทศ

ธุรกิจสปาคือตัวอย่างของอาชีพนี้ที่รัฐบาลเองก็ให้การส่งเสริมอยู่ไม่น้อย เพราะนี่คือธุรกิจอาชีพที่สามารถทำเงินเข้าประเทศได้สูงถึง 32,444 ล้านบาท มีจำนวนธุรกิจสปาที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศมากกว่า 1,600 แห่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวถึงร้อยละ 30 ของสถานประกอบการสปาทั้งหมด

ธุรกิจสปา

เมื่อทิศทางของตลาดดูแนวโน้มแล้วสดใสมากๆ www.ThaiSMEsCenter.com จึงรวบรวมเอาแนวทางของการเปิดธุรกิจร้านสปามาไว้เป็นตัวอย่างให้สำหรับคนสนใจได้มีกรอบปฏิบัติที่ถูกต้องกับการเริ่มต้นธุรกิจอาชีพที่บริหารดีๆ มีสิทธิ์โกอินเตอร์ได้เลยทีเดียว

จุดเด่นของธุรกิจสปา

ธุรกิจนี้มีอนาคตในตลาดสดใสทั้งในและต่างประเทศ การลงทุนก็เริ่มได้ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแล้วแต่รูปแบบและขนาดของร้าน และนี่คือธุรกิจที่ภาครัฐเองก็ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เพราะถือเป็นงานฝีมือที่สามารถส่งออกในตลาดต่างประเทศได้ และเนื่องจากเป็นงานที่ขายเรื่องฝืมือจึงไม่จำเป็นต้องสต็อคสินค้า รูปแบบรายได้ค่อนข้างแน่นอนรายจ่ายก็ไม่จุกจิกมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทอื่นๆ

การขออนุญาตเพื่อเปิดร้านสปา

เมื่อกำหนดรูปแบบของร้านสปาว่าจะให้เป็นนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากนั้นก็ขอจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและต้องมีการขอเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่กรมสรรพพากรและกรณีที่มีลูกจ้างก็ต้องดำเนินการขอเลขบัญชีนายจ้างจากสำนักงานประกันสังคมก่อนและต้องขออนุญาตต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรับรองมาตรฐานการเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และใบอนุญาติเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกฏหมาย

ธุรกิจสปา

สิ่งที่ต้องเรียนรู้และใสใจถ้าคิดจะทำธุรกิจสปา

1.ต้องวางแผนการทำธุรกิจให้ชัดเจน

คือการกำหนดความต้องการที่ชัดเจนว่าต้องการอะไรบ้างจากการทำธุรกิจสปา คำว่าแผนธุรกิจคือสิ่งที่เราอยากทำให้เกิดเป็นผลสำเร็จดังนั้นต้องมีเป้าหมายว่าถึงระดับไหนที่จะเรียกว่าคือความสำเร็จของธุรกิจที่เราต้องการ

2. ไม่จำเป็นต้องใช้ความสำเร็จของคนอื่นมาเป็นมาตรฐานในการทำธุรกิจ

การทำธุรกิจสปาสามารถใส่ความเป็นตัวเองลงไปได้นี่คือธุรกิจที่เป็นเหมือนศิลปะแขนงหนึ่งสิ่งที่เราต้องการและคิดว่าน่าจะตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าไม่ว่าจะการตกแต่งร้าน บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้เราไม่ควรยึดติดกับสิ่งที่เคยเห็นมาถ้าคิดจะทำให้ธุรกิจสปาของเราโดดเด่นกว่าคนอื่น

3.ความรู้สึกของลูกค้าเป็นสิ่ง “สำคัญมาก”

นี่คือธุรกิจบริการดังนั้นความรู้สึกของลูกค้าคือตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดี ถ้าคอมเมนต์หลังจากการใช้บริการเป็นในทางที่ดีนั้นหมายความว่าลูกค้ารู้สึกดีมีความสุขก็จะกลายเป็นการบอกต่อและแนะนำลูกค้าคนอื่นเข้ามาได้อีกแต่ถ้าเป็นตรงกันข้ามคือความเสียหายที่อาจไม่เกิดในทันทีแต่มีผลกระทบในระยะยาวแน่นอน

4.เริ่มต้นจากร้านเล็กๆก็เป็นธุรกิจที่ใหญ่โตในอนาคตได้

การเริ่มต้นที่ดีน่าจะเป็นแบบไล่ระดับจากเล็กไปใหญ่ในธุรกิจนี้ควรสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าให้เกิดก่อนสะสมฐานลูกค้าต่อเนื่องแล้วค่อยขยายไปเป็นร้านใหญ่ การเริ่มจากร้านเล็กๆส่วนหนึ่งคือเซฟต้นทุนและสะสมประสบการณ์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากกับธุรกิจสปานี้

ธุรกิจสปา

รูปแบบของธุรกิจสปา

ในการเลือกทำธุรกิจสปาอาจจะมีแบบครบวงจรในร้านเดียวหรืออาจจะเลือกตามแต่ที่เราถนัดก็ได้ ซึ่งรูปแบบของร้านสปาก็มีด้วยกัน 4 ประเภทคือ

  1. การนวด มีทั้งที่เป็นแบบนวดเท้า นวดตัว นวดแผนไทย และการนวดแบบตะวันตก มีการจุดเทียนหอมเป็นอโรมาเพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย
  2. ทำ Treatment เป็นสปาที่มีการใช้ยาหรือสมุนไพรทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลาย ได้ทั้งการบำรุงผิวกายและหน้า อาจจะไม่ต้องมีทักษะด้านการนวดเหมือนแบบแรกมากนัก
  3. การขายอุปกรณ์ทำสปา จะเรียกว่าเป็นบริการเสริมสำหรับธุรกิจนี้ที่ควรมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับคนที่อยากกลับไปทำสปาเองที่บ้าน อุปกรณ์เหล่านี้ก็เช่น น้ำมันนวด น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
  4. ให้บริการผ่านตัวช่วยที่น่าสนใจ เป็นการสร้างสรรค์ที่ทำให้ธุรกิจดูมีความน่าสนใจโดยใช้ตัวช่วยอื่นเข้ามาดึงดูดเช่น การใช้ปลา หรือที่เรียกว่า Fish Spa หรือเพิ่มเครื่องมืออื่นเช่นบ่อน้ำแร่ แช่น้ำนม เป็นต้น

อุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต้องมีพร้อมราคาโดยประมาณ

  1. เตียงนวดหรือเบาะนวดพร้อมหมอน ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพและวัสดุ เริ่มตั้งแต่ 1,500-6.500 บาท สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์นวดแผนไทยหรือร้านเฟอร์นิเจอร์
  2. เตียงนวดฝ่าเท้า ราคาประมาณ 2,700-4,000 บาท
  3. เสื้อกราวน์สำหรับพนักงานนวด ราคาประมาณ 150-300 บาท
  4. เสื้อและกางเกงสำหรับลูกค้า ราคาประมาณ 200-300 บาท
  5. กางเกงสำหรับลูกค้านวดฝ่าเท้า ราคาประมาณ 100 บาท
  6. ผ้าปูเตียง ปลอกหมอน นิยมสีพื้นดูสบายตา หาซื้อได้ง่ายที่พาหุรัดหรือสำเพ็ง
  7. ผ้าขนหนู
  8. ครีมหรือน้ำมันสำหรับนวดฝ่าเท้า มีจำหน่ายตามโรงเรียนแพทย์แผนโบราณต่างๆ ราคาประมาณ 650 บาท (1800 ซีซี)
  9. น้ำมันนวดตัว ราคาขายปลีกประมาณ 580 บาท(4000 ซีซี)
  10. ไม้กดจุด ราคาอันละประมาณ 20 บาท

ระยะเวลาในการคืนทุนและผลตอบแทนที่ได้รับ

ธุรกิจสปา

ธุรกิจสปา มีระยะเวลาในการคืนทุนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดการลงทุนและจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการแต่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1-2 ปีเป็นอย่างน้อยจากการสอบถามผู้ที่เปิดกิจการนี้เล่าว่ามีการลงทุนด้านอุปกรณ์ต่างๆภายในร้านประมาณ 300,000 บาท (ไม่รวมเรื่องของตึกอาคารที่อาจจะซื้อหรือเช่ามาอีกที)

เมื่อเปิดกิจการคิดค่าบริการอยู่ที่ชั่วโมงละ 150 บาท แต่ถ้าเป็นการนวดที่แบบเน้นแก้อาการปวดเมื่อยโดยเฉพาะก็คิดเพิ่มเป็นชั่วโมงละ 200 บาท บริการขัดหน้า นวดหน้า ครั้งละ 200 บาท เฉลี่ยถ้ามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 10 คน/วัน ก็จะมีรายได้ 2,000 -3,000 บาท คิดเป็นต่อเดือนก็ประมาณ70,000-80,000 บาท

แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆแล้วจะเหลือกำไรสุทธิประมาณ 40 % เป็นอย่างน้อยมองในแง่ดีนี่คืออาชีพที่ลูกค้ามีต่อเนื่อง อยู่ที่การบริหารจัดการของผู้ลงทุนว่าจะทำได้ดีแค่ไหน ธุรกิจนี้ยิ่งอยู่นานความเชี่อมั่นยิ่งมาก รายได้ก็จะมากตามไปด้วย

ธุรกิจสปา

ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะหรือมีความพร้อมมากพอที่จะทำธุรกิจสปาได้หรือไม่มาลองหาคำตอบกับแบบทดสอบความพร้อมธุรกิจสปาเพื่อสร้างความมั่นใจก่อนลงมือทำกันต่อไป

แบบทดสอบความพร้อม ธุรกิจสปา


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด