Step by step การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop

ถ้าคิดจะทำธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอย่าง petshop ให้ลองถามใจตัวเองก่อนว่า “อยากทำ” หรือ “ทำตามคนอื่น” ธุรกิจสัตว์เลี้ยงต้องเริ่มจากใจชอบก่อน ไม่ชอบทำไม่ได้เด็ดขาด ประเภทเกลียดหมา กลัวแมว แพ้ขนสัตว์ แนะนำให้ไปทำธุรกิจอย่างอื่นจะดีกว่า

แต่ถ้ามั่นใจว่าฉันนี่แหละ “คนรักสัตว์ตัวจริง” www.ThaiSMEsCenter.com ก็มีข้อมูลน่าสนใจเป็นแนวทางการเปิดร้าน petshop สำหรับมือใหม่หัดลงทุนทั้งหลาย มาเลือกรูปแบบธุรกิจสัตว์เลี้ยงกันก่อน

เราอาจคุ้นเคยว่า petshop ก็คือบริการอาบน้ำ ตัดขน ซึ่งความเป็นจริงคำว่า petshop อาจหมายถึงบริการที่ครบวงจรแต่ถ้าไม่พร้อมจริงๆ จะเลือกทำเฉพาะทางอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกเช่น

1.ขายเฉพาะอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง

Step by step การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop

ภาพจาก goo.gl/MoAYbQ , goo.gl/8XPK9B

เช่น แชมพู ปลอกคอ สายจูง กรง เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าแฟชั่น ลูกค้าจะซื้อด้วยความพอใจและไม่ค่อยเกี่ยงเรื่องราคา ใครที่มีประสบการณ์ทำร้าน petshop มาก่อนจะรู้ว่านี่คือส่วนที่ทำกำไรได้ดีที่สุด

2.ขายอาหารสัตว์ ทั้งอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารสด

Step by step การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop

ภาพจาก goo.gl/2EdJPj

กำไรในส่วนนี้ไม่ค่อยมาก เป็นสินค้าประเภทมาเร็วไปเร็วต้องหมุนเวียนสินค้าให้ดี อย่าค้างนาน เพราะจะทำให้ทุนจม ส่วนใหญ่เป็นการรับสินค้าจากเซลล์มาจำหน่ายหรือจากบริษัทโดยตรง ที่บางครั้งอาจมีการจัดโปรมาเพื่อกระตุ้นการขายให้มากขึ้น

3.ขายพันธุ์สัตว์ ทั้งแบบซื้อขาดและฝากขาย

k4

ภาพจาก goo.gl/op7N4T

สินค้าอื่นอาจมีต้นทุนเพิ่มเป็นค่าดอกเบี้ยหรือค่าเสียโอกาส แต่สัตว์นั้นมีค่าอาหาร ค่าดูแล ค่าเสื่อมสภาพเจ็บป่วย เรียกว่ายิ่งอยู่กับเรานานต้นทุนยิ่งเพิ่มวิธีที่ดีที่สุดคือฝากขายดยกำหนดแบ่งราคาขายกันเมื่อขายได้ เช่น 30 % หรือ 50 % แล้วแต่ความยากง่ายของการขาย แต่ถ้าขายไม่ได้อาจต้องขอเก็บค่าเลี้ยงดู เช่น 15 % ของราคาขาย เป็นต้น

4.เสริมสวยตัดแต่งทรงขน (grooming)

Step by step การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop

ภาพจาก goo.gl/ma9WNw

เป็นงานที่เสริมความงามให้สัตว์เลี้ยงสำหรับเจ้าของที่รักความสวยงาม และให้ความสะอาดกับสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ สัตว์เลี้ยงที่นิยมมาเสริมสวยกันมากก็ ได้แก่ สุนัข รองลงมาก็เป็น แมว หนู กระต่าย ตามลำดับ

ค่าบริการตกตัวละประมาณ 250-300 บาท รายได้โดยเฉลี่ยเฉพาะบริการนี้จะได้วันละ 1,200 บาท ขึ้นอยู่กับทำเล และความชำนาญของช่าง

เริ่มต้นเปิดร้าน petshop

Step by step การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop

ภาพจาก goo.gl/9XWb7H

1.ทำเลต้องดี

เป็นกฎพื้นฐานของการลงทุนยิ่งเป็น petshop ยิ่งต้องทำเลดีคูณสอง ก่อนจะเปิดร้านต้องสำรวจพื้นที่ให้แน่ใจว่าในบริเวณนั้นมีปริมาณสัตว์เลี้ยงมากน้อยแค่ไหน ทำเลที่ดีเช่นใกล้หมู่บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า บางทีถ้าต้องแลกกับค่าเช่าที่แพงสักหน่อยก็อาจต้องตัดสินใจลองดูหากทำเลไม่ดี petshop จะทำกำไรได้ยากมาก

k3

ภาพจาก goo.gl/jHBNPC

2.ติดต่อโรงงานหรือตัวแทนจำหน่ายนำสินค้ามาขาย

ปัจจุบันสามารถติดต่อผ่านเซลล์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงทั้งอุปกรณ์ และอาหาร โดยแจ้งว่าต้องการสินค้าเพื่อมาวางขาย ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการติดต่อและตรวจสอบหลักฐานประมาณ 1-3 วัน

โดยเซลล์จะส่งใบเสนอราคามาให้ ว่ามีสินค้าอะไรให้สั่งบ้าง ต้นทุนเท่าไหร่ ราคาขายที่แนะนำเท่าไหร่ การสั่งของต้องสั่งสินค้าจำนวนหนึ่งโดยมียอดขั้นต่ำที่ทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนด

l

ภาพจาก goo.gl/TSV6s7

3.อย่าลืมเรื่องขอใบอนุญาต

ของบางอย่างในร้าน pet shop ต้องขออนุญาตก่อนขาย เช่น การสะสมอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายต้องขออนุญาตกับกรมปศุสัตว์ หรือปศุสัตว์จังหวัด อาหารสำหรับสุนัขและแมวต้องมีทะเบียน แต่อาหารสำหรับนก หนู ปลาสวยงาม สัตว์เลื้อยคลาน ฯลฯ ยังไม่มีการบังคับเรื่องทะเบียน

อุปกรณ์ส่วนใหญ่ เช่น กรง ตู้ปลา ปลอกคอ เสื้อผ้า ที่นอน ไม่ต้องขออนุญาตขาย ส่วนวัสดุสิ้นเปลืองบางอย่างต้องมีใบอนุญาต เช่น แชมพู ถ้าเป็นแชมพูธรรมดาไม่มีส่วนผสมที่ควบคุม ก็ขายได้โดยเสรี แต่ถ้าเป็นแชมพูที่ใช้ขจัดเห็บหมัดที่ต้องมีเลขทะเบียน อย. (คณะกรรมการอาหารและยา) อาจต้องมีใบอนุญาตให้มีและขายได้ จึงควรศึกษาให้ดีก่อน แต่ที่แน่นอนคือ ยารักษาโรคสำหรับสัตว์ต้องมีทะเบียนและต้องมีใบอนุญาตให้ขายด้วย

l1

ภาพจาก goo.gl/yxtdgu

4.คิดเรื่องการต่อยอดทางธุรกิจไว้ด้วย

นอกจากการเรียนรู้เทคนิคตัดขน อาบน้ำ และจ้างช่างที่มีความชำนาญหรือว่าลงมือทำเอง สิ่งที่จะทำให้ pet shop เติบโตได้ต้องมีเรื่องการต่อยอด เช่น เข้าร่วมกับกิจการอื่นที่เอื้อกัน เช่น โรงพยาบาลสัตว์ ร้านอาบน้ำตัดขน ร้านรับฝากสัตว์เลี้ยง ร้านขายสัตว์เลี้ยง สระว่ายน้ำ ศูนย์ฝึกสุนัข คาเฟ่สำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

และหากมีบริการรับส่งพ่วงเข้ามาด้วย ก็ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ สามารถดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น หรือสามารถคิดทำสินค้าเป็นของตนเอง เพื่อเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ในอนาคต

คำนวณรายได้จากการเปิดร้าน pet shop

k2

ภาพจาก goo.gl/7JM5i9

  1. รายได้จากธุรกิจมี 3 ส่วนหลักคือ
  2. รายได้จากการอาบน้ำตัดขนสุนัขและแมว
  3. รายได้จากการขายสินค้า pet shop
  4. รายได้จากการรับฝากเลี้ยง

เมื่อมีรายได้ ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายหลักๆ จะประกอบด้วย ค่าเช่า, ค่าไฟ, ค่าน้ำ, ค่าแชมพูอาบน้ำสุนัข, ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาดร้าน, กรง, ถ้วย, รวมถึงสินค้าที่ขาย ค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่า internet

Step by step การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop

ภาพจาก goo.gl/DHVFi5

ซึ่งหากจะคำนวณว่ารายได้เท่าไหร่จึงจะคุ้มค่าก็ต้องรู้ก่อนว่ารายจ่ายเรามีเท่าไหร่ โดยเฉลี่ยถ้าการอาบน้ำตัดขนคิดราคาประมาณ 200 บาท หากมีลูกค้าทุกวัน เฉลี่ยวันละ 5 ตัว 1 เดือน 150 ตัวรายได้ประมาณ 30,000 บาท รวมกับค่าฝากเลี้ยง รายได้จากการขายสินค้า ขั้นต้นก็ไม่ควรต่ำกว่า เดือนละ 50,000 เพื่อเอาไปหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ปัญหาที่การทำ petshop ไม่เติบโตอย่างที่คิดเพราะลูกค้าส่วนใหญ่ประหยัดรายจ่ายไม่พาสุนัขหรือแมวมาอาบน้ำตัดขน บางคนเลือกจะทำเอง หรือการขายอาหารสัตว์ก็ไม่ได้กำไรอย่างที่คิดโดยเฉลี่ยบริษัทจะให้กำไรอยู่ที่ 5-15%

เช่นถ้าทุน 100 เราก็ต้องขาย 105-110 หากตั้งราคาแพงกว่านี้ก็ขายยาก แม้แต่อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง กำไรอาจจะมากหน่อยที่ 20-30% แต่กำไรต่อชิ้นก็บวกได้ไม่เกิน 200-300 บาทแพงกว่านี้ก็ขายยาก

l2

ภาพจาก goo.gl/Pxifsr

ที่น่ากลัวกว่าคือ บริษัท และ เจ้าของแบรนด์ต่างๆ ที่เราเคยรับสินค้ามาขายต่อ ก็เริ่มเปิดขายออนไลน์ มีเว็บเพจ เฟสบุ๊ค มีบริการส่งถึงมือลูกค้าโดยตรงไม่ต้องมาง้อร้านค้าเหมือนแต่ก่อน

ดังนั้นหากใจรักและอยากทำ petshop จริงๆต้องมีสิ่งที่แตกต่างและดึงดูดลูกค้าให้สนใจ ถ้าคิดเหมือนทำเหมือน ไม่คิดต่างทำต่าง เงินที่ลงทุนไปก็อาจได้ไม่คุ้มเสีย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/308q02a

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด