SME เรียนรู้อะไร! จากความสำเร็จของ KFC ในจีน

ปัจจุบันมีหลายๆ ธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลก ต้องการขยายตลาดเพื่อเจาะ กลุ่มผู้บริโภคชาวจีน เพราะมีจำนวนประชากรมากกว่า 1.3 พันล้านคน จึงไม่แปลกที่จะมีธุรกิจประเภทต่างๆ จากทั่วโลก ดาหน้าเข้าไปขุดทองในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แต่ก็ใช่ว่าทุกธุรกิจที่เข้าไปในประเทศจีนจะประสบความสำเร็จกันหมด พอเข้าไปแล้วก็ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก เพราะไม่รู้จักพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนดีพอ แต่ถ้าธุรกิจไหนตอบโจทย์ชาวจีนได้ก็จะโตๆ และก็โต

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com อยากจะพาผู้ประกอบการ SME ไปเรียนรู้ความสำเร็จของ KFC ในประเทศจีน ว่าจะสามารถนำเอาวิธีการดำเนินธุรกิจของ KFC ที่บินข้ามน้ำข้ามทะเล ไปเจาะตลาดจีนจนประสบความสำเร็จได้

อย่างแรก คือ คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการขายสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน ด้วยการศึกษาแบรนด์ระดับนานาชาติ เช่น KFC แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดในจีน แม้ว่า KFC จะมาจากสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อเข้าทำตลาดในเมืองจีน ก็ต้องโละเอาแนวคิดการตลาดแบบตะวันตกทิ้งไปให้หมด

วิธีการ คือ ปรับเปลี่ยนแนวทางการตลาดให้เข้ากับคนจีนมากที่สุด ส่งมอบประประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งก่อนจะเข้าไปเจาะตลาดจีน ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาตลาด และสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีน เพื่อจะได้รู้ว่าชาวจีนชอบหรือไม่ชอบอะไร จะได้ตอบสนองความต้องการได้ตรงจุด

กลุ่มผู้บริโภคชาวจีน

ยกตัวอย่างการตลาดในประเทศจีน เช่น โปรโมชั่นล่าสุดของ KFC บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำของจีน อย่าง Huawei เพื่อจำหน่ายมือถือสมาร์ทโฟน โดยผลิตออกมาจำนวนจำกัด เพื่อให้สมาชิกของ KFC ได้ซื้อเป็นเจ้าของ เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปี ของการทำธุรกิจในจีนของทั้ง 2 บริษัท

โทรศัพท์มือถือรุ่นนี้ มาพร้อมแอปพลิเคชั่น KFC ในเครื่อง ตัวเครื่องสีแดง มีโลโก้ผู้พันอยู่ด้านหลัง จำนวนจำกัดแค่ 5,000 เครื่อง โดยจะมีขายผ่าน KFC Mobile App และ Tmall flagship store สำหรับสมาชิก KFC

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ผู้พันแซนเดอร์ที่มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเอง เพราะทีผ่านมาหลายค่ายก็เคยทำมาแล้ว เช่น มาร์เวล หรือ ดิสนีย์ที่เพิ่งออก Pirate of the Caribbean กับ Samsung มาก่อน

k9

แต่ KFC พยายามเพิ่มความพิเศษให้ด้วยการออกฟังก์ชัน K-Music แอปฟังเพลงที่ให้คนสามารถเข้าไปฟังเพลงได้ฟรีๆ เมื่อเข้าไปทานอาหารในร้าน KFC โดยหลังจากนี้ฟังก์ชั่นนี้ จะกระจายไปยังผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

โดย Steven Li, Senior Vice president ของ KFC ในบริษัท Yum China กล่าวว่า ทั้งสองบริษัทมีตำนานร่วมกัน คือ ในปี 1987 KFC เปิดสาขาแรกในจีน ขณะที่ Huawei ก็เริ่มกิจการแรกที่ Shenzhen Industrial Park ด้วยพนักงานเพียง 14 คน

นั่นเป็นกลยุทธ์การตลาดของ KFC ในจีน แม้ว่าการซื้อสมาร์ทโฟนจากร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด อาจจะดูแปลกๆ สำหรับผู้บริโภคในสหรัฐฯ บางราย แต่แนวโน้มและพฤติกรรมการซื้อสินค้าในจีนแตกต่างกันไป ผู้บริหาร KFC ล้วนเต็มใจ ที่จะปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมชาวจีน นำเสนอสิ่งที่ชาวจีนต้องการ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

k10

ก่อนหน้านี้ KFC ในกรุงปักกิ่ง ยังร่วมทีมกับบริษัท Baidu บริษัทเสิร์ชเอนจิน ในการพัฒนาระบบรู้จำใบหน้า เพื่อคาดเดาอายุ และอารมณ์ของลูกค้า และนำเสนอเมนูที่ลูกค้าน่าจะชอบ อย่างเช่น ลูกค้าผู้ชายในวัย 20 ต้นๆ นั้น โปรแกรมจะแนะนำ Combo Set จัดเต็มอย่างเมนูแฮมเบอร์เกอร์ไก่ทอด ปีกไก่ย่าง และโค้ก

แต่ถ้าหากเมนูเหล่านี้ไม่ถูกใจคุณลูกค้าเช่นสมมติว่า คุณอายุเกือบ 30 ปี ที่ระบบเผาผลาญเริ่มเสื่อมถอย แต่ก็ยังคงเปรมปรีดิ์กับไก่ทอดชิ้นโตๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะเราสามารถเลือกขอดูเมนูอื่นได้ และเมื่อลูกค้าแฮปปี้กับเมนูที่เลือกแล้ว ก็จ่ายเงินได้ที่ตู้สั่งอาหารผ่านมือถือได้ทันที นับว่าเป็นการให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วและง่ายขึ้น

สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SME สนใจเจาะตลาดจีน สามารถเรียนรู้การทำตลาด โปรโมชั่นต่างๆ ที่ KFC ออกมาตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวจีนได้ หรือ ถ้าหากคุณอยากสร้างเว็บไซต์ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อจับตลาดและกลุ่มลูกค้าชาวจีนโดยเฉพาะ

คุณสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น สำหรับการขายสินค้าของคุณโดยเฉพาะก็ได้ หรือคุณอาจสำรวจช่องสื่อสารสังคมออนไลน์ ที่มีเฉพาะในตลาดจีน เช่น RenRen หรือ Weibo น่าจะเพิ่มโอกาสให้กับคุณได้มากครับ

อ่านบทความการตลาด การเงิน SME goo.gl/bs8phL


Tips

เจาะตลาดเมืองจีน ต้องศึกษาและเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีน ว่าชอบหรือต้องการอะไร แล้วตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ตรงจุด

อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/UsH71F

ภาพประกอบ www.youtube.com/watch?v=Gv3P15G8ozA
ภาพประกอบ goo.gl/HFk9FX

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช