OKRs (Objectives and Key Results) ในธุรกิจแฟรนไชส์

OKRs Objectives and Key Results คือ เครื่องมือตั้งเป้าหมาย (Objectives) และกำหนดตัววัดผลที่ทำให้เป้าหมายเป็นจริง (Key Results) ซึ่งมีการริเริ่มใช้โดยบริษัท Intel มาตั้งแต่ปี 1974

แต่เพิ่งจะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางเมื่อบริษัท Google ก่อตั้งขึ้นและนำเครื่องมือนี้ไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายและขับเคลื่อนองค์กรในปี 1999 จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หลายองค์กรโดยเฉพาะบริษัทด้านเทคโนโลยีก็นำ OKRs มาใช้บ้าง

แม้แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้ตั้งเป้าหมายในการขยายสาขา และสร้างเครือข่ายแฟรนไชส์ให้มีความแข็งแกร่ง ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน การตั้ง OKRs ในธุรกิจแฟรนไชส์ทำอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

วิธีใช้ OKR ในธุรกิจแฟรนไชส์

OKRs Objectives

ปัจจุบัน OKR ถูกใช้ในอุตสาหกรรมและรูปแบบธุรกิจต่างๆ แม้แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์บางประการแตกต่างธุรกิจทั่วๆ ไป โดยต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อเป้าหมายความสำเร็จไปด้วยกัน อาทิ

7

1.ความเสี่ยงร่วมกัน ทั้งแฟนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ ถือเป็นครอบครัวเดียว หรือสามีภรรยากัน เมื่อลงเรือลำเดียวกันแล้ว ก็จะต้องช่วยกันพายเรือข้ามฝั่งไปให้ได้ หากเรือจมก็ตกน้ำด้วยกันทั้งคู่ หรือเสียชีวิตด้วยกัน แต่ถ้าเป็นแฟรนไชส์เมื่อสาขาแฟรนไชส์ทำเสียหาย สาขาอื่นๆ รวมถึงแฟรนไชส์ซอร์ก็จะได้รับความเสียหายไปด้วย ดังนั้น แฟรนไชส์ซีจะต้องเซ็นสัญญากับแฟรยไชส์ซอร์ เพื่อที่จะดำเนินธูรกิจตามแนวทางที่แฟรนไชส์กำหนด หากผิดสัญญาแฟรนไชส์ซอร์สามารถฟ้องร้องได้

2.แรงจูงใจ แม้แฟรนไชส์ซีเป็นผู้ซื่อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาเปิด แต่เป้าหมายคือการประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ จึงทำให้แฟรนไชส์ซีทำการวางแผนและกำหนดเป้าหมายของธุรกิจเอาไว้ และปฏิบัติตามนำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์

3.เปิดตลาดใหม่ ธุรกิจแฟรนไชส์สามารถขยายไปยังตลาดใหม่ๆ โดยที่แฟรนไชส์ซอร์ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในตลาดนั้นๆ รวมถึงเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในพื้นที่นั้นๆ เมื่อตั้งค่า OKRs กับ Master Franchise ในแต่ละพื้นที่หรือในต่างประเทศ ทั้งแฟรนไชสซอร์และแฟรนไชส์ซีต้องทำงานที่สอดคล้องกัน และปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจตามพฤติกรรมผู้บริโภคได้เพื่อยอดขายและความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีในพื้นที่นั้นๆ เมื่อแฟรนไชส์ซีรอด แฟรนไชส์ซอร์ก็รอดด้วย

6

สรุปก็คือ OKRs Objectives and Key Results ทำให้แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีมีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วม ทำงานสอดคล้องกัน ช่วยเหลือและสนับสนุนกันและกัน ในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์นั้นๆ เหมือนกัน ที่สำคัญแฟรนไชส์ซอร์ต้องให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้ดำเนินธุรกิจได้ราบรื่น ขณะที่แฟรนไชส์ซีก็ต้องทำตามคำแนะนำและกฎระเบียบต่างๆ ของแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อความสำเร็จร่วมกัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูลจาก https://www.franchiseblast.com/okr-franchising/

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pdQxWh

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช