LEGO ปลดพนักงาน 1,400 คน ส่งสัญญาณบอกอะไร

ข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการเตรียม ปลดพนักงาน 1,400 ตำแหน่ง ของ LEGO GROUP ผู้ผลิตของเล่นตัวต่อพลาสติกจากเดนมาร์ก ภายในสิ้นปี 2017 ได้ทำให้หลายๆ คน ที่เติบโตมาพร้อมกับของเล่นชนิดนี้ ใจหายวาบไปตามๆ กัน เพราะ LEGO ถือว่าเป็นธุรกิจชั้นนำของโลก สินค้าและบริการต่างๆ ของ LEGO ได้รับความนิยมของเด็กๆ ทั่วโลก

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอพาคุณผู้อ่านไปดูเบื้องลึกธุรกิจ LEGO ถึงที่มาที่ไปของการปลดพนักงานครั้งนี้ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 8 ของพนักงานทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน 18,200 คน

เหตุผลแรกๆ ของการ ปลดพนักงาน ถึง 1,400 คน ตามที่ผู้บริหาร LEGO GROUP ออกมาเปิดเผย ก็คือ บริษัทขาดทุน โดยครึ่งปีแรกของปี 2017 มีรายได้ 14.9 พันล้านโครนเดนมาร์ก (2.38 พันล้านดอลลาร์) รายได้ลดลง 5% เมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2016 ที่มีรายได้ 15.7 พันล้านคราวน์ของเดนมาร์ก

llgg1
ภาพจาก goo.gl/SdmGeg ,ภาพจาก goo.gl/7vRpN3

โดยมีสาเหตุมาจากตลาดซบเซาในสหรัฐฯ และบางส่วนของยุโรป เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกทั้งลูกค้าของ LEGO ที่เติบโตมาด้วยกัน ก็หันไปพึ่งพาแอพพลิเคชั่น และวิดีโอเกมต่างๆ บนสมาร์ทโฟนมากขึ้น แต่จุดที่น่าสนใจคือว่า ของเล่น LEGO กลับขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในตลาดจีน มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า

หากจะว่าไปแล้ว ปัจจัยหลักของการปรับลดพนักงานของ LEGO มาจากการแข่งขันทางธุรกิจของเล่นด้วยกันเอง บริษัทผู้ผลิตสินค้าของเล่นต่างๆ ก็ต้องพยามเอาตัวรอดท่ามกลางการแข่งขันจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ อะไรที่สามารถลดค่าใช้ให้กับองค์ได้เร็วที่สุด และทำได้ง่าย ก็ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรก

llgg2
ภาพจาก goo.gl/YiRCY2

ดังนั้น LEGO จึงต้องตัดสินใจ ปลดพนักงาน ออก 1,400 ตำแหน่ง เป็นอันดับแรก เพื่อความเรียบง่าย และลดความซับซ้อน พูดง่ายๆ ก็คือ ลดขนาดองค์กรให้เล็กลง เพื่อจะได้ทำงานได้คล่องขึ้น เป็นธรรมดาที่คนน้อยลง ค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือนพนักงาน ก็จะจ่ายน้อยลง ตรงนี้ก็ยังทำให้ LEGO เดินหน้า แต่ช้าๆ ต่อไปได้

โดยพนักงานที่เตรียมปลดออกช่วงปลายปี อยู่ในส่วนของฝ่ายการขายและธุรการ แต่ฝ่ายผลิตก็ยังคงอยู่ ซึ่งหากเดากันเล่นๆ ไม่แน่ใจว่าต่อไปอนาคตข้างหน้า เราอาจจะได้เห็นของเล่น LEGO ขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซก็เป็นได้ เพราะผลิตสินค้าออกมาแล้ว ไม่มีคนขายของ ไม่มีคนติดต่อประสานงาน แล้ว LEGO จะมีรายได้จากที่ไหน ถ้าไม่ขายออนไลน์

วิกฤตหรือสัญญาณอันตรายของ LEGO GROUP ไม่ได้มีแค่ครั้งนี้เท่านั้น เรื่องของการปลดพนักงานของ LEGO ก็เคยทำมาแล้ว เพื่อให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้

โดยเมื่อปี 1993 รายได้ของ LEGO เริ่มชะลอลง หลังเติบโตมาก่อนหน้านี้ เนื่องจาก LEGO ขาด Growth Engines หรือผลิตภัณฑ์ที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัท เพราะสินค้าของ LEGO นั้นมีจำหน่ายในทุกร้านขายของเด็กเล่นทั่วโลก

llgg3
ภาพจาก goo.gl/dPXhr4

LEGO ก็พยายามแก้ไขปัญหา โดยการเพิ่มจำนวนของเล่นให้มากขึ้น เพื่อหวังให้คนซื้อของเล่นของ LEGO เพิ่มมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วยอดขายกลับไม่เพิ่ม ในขณะเดียวกันต้นทุนกลับสูงขึ้นจากการผลิตของเล่นรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ในปี 1998 LEGO ต้องปลดพนักงานถึง 1,000 คน และประสบกับการขาดทุนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์บริษัท

Lego Group เกือบจะล้มละลายในปี 2003 แต่เมื่อ Jorgen Vig Knudstorp เข้ามาเป็นซีอีโอในปีต่อมา เขาทำผลงานได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายของบริษัทเป็นอย่างมาก ด้วยการเพิ่มนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ โดยในปีนี้เอง Lego Group ก็กลายมาเป็นธุรกิจผู้สร้างสรรค์ของเล่นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกได้สำเร็จ

และ LEGO Group ได้ประกาศผลกำไรมหาศาลถึง 1.4 พันล้าน DKK (เงินสกุลเดนมาร์ก) จากการเจาะตลาดเอเชีย และทำการสร้างตัวต่อพลาสติกอันโด่งดังของพวกเขาผ่านวิดีโอเกมส์, สวนสนุก และ The Lego Movie

 llgg4
ภาพจาก goo.gl/zcMttz

ทั้งนี้ LEGO ถือกำเนิดขึ้นในปี 1932 โดยชาวเดนมาร์กชื่อ Ole Kirk Kristiansen (Lego มาจากภาษาเดนนิชที่แปลว่า Play Well) ปัจจุบันบริษัทอยู่ในการดูแลของคนรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นหลานปู่ของผู้ก่อตั้งบริษัท

LEGO เติบโตมาเรื่อยๆ จากการทำของเล่นเด็กที่ทำจากไม้ จากนั้นก็ขยับมาทำด้วยพลาสติกและพัฒนามาเป็น Bricks หรือตัวต่อที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน (จดลิขสิทธิ์ไว้ตั้งแต่ปี 1958)
ต่อจากนี้ไป เราต้องจับตามองอนาคตของ LEGO จะสามารถเดินฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้หรือไม่ เพราะคู่แข่งไม่ใช่ธุรกิจขายของเล่นด้วยกัน แต่เป็นเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนมือถือ จะเล่นเกมหรือจะทำอะไรได้ทุกอย่าง หากธุรกิจของเล่นใดปรับตัวไม่ทัน แม้จะเคยเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่มาก่อน ก็สามารถล้มครืนได้ทันที

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช