Jollibee แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฟิลิปปินส์ที่แมคโดนัลด์ไม่กล้าชน

เราต่างมีความเชื่อว่าไม่มี แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด ท้องถิ่นใดในโลก จะสามารถเอาชนะแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่อย่างแมคโดนัลด์ได้ แต่ความจริงแล้วยังมีแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฟิลิปปินส์ “Jollibee” ที่เอาชนะแมคโดนัลด์ได้อย่างราบคาบ เรื่องราวของ “Jollibee” เป็นอย่างไร ทำไมถึงเอาชนะแมคโดนัลด์ในบ้านเกิดได้ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

Jollibee แฟรนไชส์ ฟาสต์ฟู้ดของฟิลิปปินส์มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านไอศกรีมมาก่อน โดยมีโลโก้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์รอยยิ้มของชาวฟิลิปปินส์ในทุกที่ทั่วโลก สาเหตุที่ Jollibee แฟรนไชส์ ท้องถิ่นเอาชนะแมคโดนัลด์ได้ มาจากแนวความคิดอันฉลาดทางธุรกิจ และความเข้าใจวัฒนธรรมการกินของชาวฟิลิปปินส์ด้วยกันเองของ Tony Tan Caktiong ผู้ก่อตั้ง Jollibee นั่นเอง

Jollibee แฟรนไชส์

ภาพจาก bit.ly/3iRm2Cg

Tony Tan Caktiong อยู่ในครอบครัวยากจน เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลฝูเจี้ยน เขาได้คลุกคลีด้านการทำอาหารมาตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากพ่อของเขาสมัยอยู่ประเทศจีนเคยทำอาหารมาก่อน จนกระทั่งมาเป็นพ่อครัวที่วัดในกรุงมะนิลา

หลังจากนั้นครอบครัวของเขาได้ไปเปิดร้านอาหารในเมืองดาเวาทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งในตอนนั้นเอง Tony Tan ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ โดยเรียนทางด้านวิศวกรรมเคมี จบปริญญาตรีที่ University of Santo Tomas (UST) ประเทศฟิลิปปินส์

เมื่อ Tony Tan อายุ 22 ปี เขาได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตไอศกรีม จากนั้นเกิดแรงบันดาลใจ จึงตัดสินใจใช้เงินสะสมของครอบครัวซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ Magnolia Dairy Ice Cream เปิดร้านไอศกรีมที่ Metro Manila ในปี 1975

หลังจากขายไปได้สักระยะหนึ่ง บังเอิญมีลูกค้าประจำของร้านหลายคนถามหาอาหารจานด่วน เช่น แฮมเบอร์เกอร์ แซนด์วิช และอาหารจานด่วนอื่นๆ Tony Tan

จึงตัดสินใจคิดค้นสูตรแฮมเบอร์เกอร์ และไก่ทอดเข้ามาใส่ในเมนูที่ร้าน กลับกลายเป็นว่า เมนูอาหารจานด่วนขายดี จากจุดนี้ทำให้เขาตัดสินใจยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ Magnolia ก่อนที่จะก่อตั้งร้านเป็นของตนเอง ซึ่งในปีแรก Jollibee มีสินค้าหลักคือ Yumburger และตลอดทั้งปีมีรายได้ 1.21 ล้านบาท

29

ภาพจาก bit.ly/3hPKBhx

หลังจากนั้น Tony Tan เริ่มนำระบบแฟรนไชส์ที่เป็นโมเดลคล้ายๆ กับของ Magnolia มาต่อยอดให้กับ Jollibee นับจากนั้นเขาเราเริ่มขาย Jollibee ให้กับนักลงทุนคนอื่น ควบคู่กับการบริหารจัดการร้านที่ตัวเองเป็นเจ้าของด้วย

หลังจากเปิดร้าน Jollibee ได้เพียง 6 ปี Jollibee ได้ถูกท้าทายการเป็นเจ้าตลาดจากผู้นำธุรกิจฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่อมริกาอย่าง McDonald ซึ่งได้บุกตลาดฟิลิปปินส์ โดยมีเมนูยอดนิยมอย่าง Big Mac เป็นอาวุธหลักในการบุกตลาด

Jollibee ในฐานะเจ้าถิ่นตอบโต้ด้วยการสร้าง Champ ซึ่งเป็นแฮมเบอร์เกอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2 เท่า เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมการบริโภคชาวฟิลิปปินส์ ที่นิยมรับประทานอาหารจานใหญ่ และได้ทำการปรับสูตรอาหารเพื่อให้มีรสชาติที่ชาวฟิลิปปินส์คุ้นเคย ซึ่งกลยุทธ์การปรับรสชาติได้กลายเป็นจุดแข็งสำคัญในการครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดในเวลาต่อมา

อีกกลยุทธ์ที่ Jollibee นำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ คือ การตั้งราคาต่ำกว่าคู่แข่งเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ควบคู่กับการบริหารกิจการโดยเน้นการควบคุมต้นทุน ส่งผลให้ Jollibee สามารถครองอาณาจักรอาหารจานด่วนในประเทศฟิลิปปินส์ได้สูงถึง 57% ซึ่งนับเป็นอันดับที่ 1 จากตลาดมูลค่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลานั้น

28

ภาพจาก bit.ly/2RO26Et

ในปี 1980 ร้านอาหารจานด่วน Jollibee ได้พัฒนาเมนูใหม่เปิดตัว Chickenjoy ไก่ทอดชุบแป้งเกล็ดขนมปังเอกลักษณ์ของ Jollibee พร้อมกับแจ้งเกิดมาสค็อตผึ้งยิ้มชื่อดังของ Jollibee Chickenjoy เป็นเมนูฮิตที่ประสบความสำเร็จในการขายสูงที่สุด

ในช่วงปี 1985 หลังจาก Jollibee ได้รับความนิยมอย่างมากในฟิลิปปินส์ Tony Tan จึงเริ่มมองหาช่องทางการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยขยายอาณาจักรอาหารจานด่วนออกนอกฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรกในประเทศสิงคโปร์ และไต้หวันตามลำดับ โดยเป็นการร่วมทุนกับนักลงทุน และผู้จัดการร้านท้องถิ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และต้องปิดสาขาทั้ง 2 ประเทศไป

27

ภาพจาก on.ft.com/35XUYO4

ในปี 1987 Jollibee ได้ปรับกลยุทธ์ในการบุกตลาดต่างประเทศอีกครั้ง โดยเป้าหมายคือประเทศบรูไน เน้นการคัดเลือกหุ้นส่วนที่มีความเข้าใจในธุรกิจ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ โดยเข้าไปควบคุมการดำเนินงานด้วยตัวเองโดยตรง

ปี 1995 Jollibee ขยายฐานตลาดโลกมากขึ้น มีการเปิดสาขาในกวม ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต เจดดาห์ และซาอุดิอาระเบีย กระทั่งปี 1996 Jollibee เปิดสาขาครบ 200 แห่ง

ปี 1998 Jollibee เปิดสาขาแรกในสหรัฐอเมริกาในเมือง Daly City รัฐ California และขยับขยายไปลาส เวกัส ในปี 2007 ต่อด้วยฮาวายในปี 2011 ซึ่งในตอนนั้น Jollibee มีสาขาในสหรัฐฯ ทั้งหมด 37 สาขา ขณะที่สาขาในต่างประเทศนอกฟิลิปปินส์ทั้งหมดของ Jollibee มีจำนวนสาขาทะลุ 300 แห่ง

26

ภาพจาก bit.ly/3hTR6Qq

จนกระทั่งปี 2013 Jollibee เข้าไปเปิดสาขาแรกในสิงคโปร์อีกครั้ง ซึ่งทำยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันแรก ในตอนนั้น Jollibee เปิดสาขาครบ 800 แห่ง และ Jollibee เปิดสาขาที่ 100 ใน Jubail ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังจากนั้น Jollibee ขยายร้านครบ 1,000 สาขา ขณะที่เปิดสาขาแรกในดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

อาจกล่าวได้ว่า Jollibee ประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาบ้านเกิดของแมคโดนัลด์ ปัจจุบัน Jollibee ดำเนินธุรกิจร้านค้ากว่า 46 แห่งในสหรัฐฯ และอเมริกาเหนือ

อาทิ รัฐแคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา ฮาวาย อิลลินอยส์ เนวาดา รัฐนิวเจอร์ซีย์นิวยอร์ก เท็กซัส วอชิงตัน เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และแมนิโทบา และออนแทรีโอในแคนาดา ขณะที่เป้าหมายของ Jollibee ก็คือ วางแผนขยายเครือข่ายร้านค้าในอเมริกาเหนือเพิ่มอีก 250 แห่งภายในปี 2566

ปัจจุบัน Jollibee เป็นแบรนด์ร้านอาหารจานด่วนภายใต้การบริหารของ Jollibee Foods Corporation (JFC) ซึ่งเป็นบริษัทเครือข่ายร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก กระจายสาขาอยู่ใน 35 ประเทศทั่วโลก โดยมีร้านค้ากว่า 5,800 สาขาทั่วโลก เกือบ 1 ใน 3 เป็นร้านค้าแบรนด์ Jollibee โดย JFC มีสัดส่วนการถือหุ้น 85% ใน Smash burger

25

ภาพจาก bit.ly/2RM4cEK

และได้ทำข้อตกลงกับ Chef Rick Bay less เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อสร้างธุรกิจร้านอาหารเม็กซิกันอย่างต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ล่าสุดได้ร่วมลงทุนเพื่อเปิดร้านอาหารติ่มซำภายใต้แบรนด์ Tim Wan Ho ในประเทศจีนอีกด้วย ปัจจุบัน Jollibee แฟรนไชส์อาหารจานด่วนฟิลิปปินส์มีเครือข่ายร้านอาหารมากกว่า 1,400 แห่งในฟิลิปปินส์ และอีกกว่า 230 แห่งในต่างประเทศ

Jollibee ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชั้นนำอันดับ 1 ใน 5 ของโลก โดยต้องการประสบความสำเร็จในเมืองใหญ่ๆ ของสหรัฐอเมริกา เช่น นิวยอร์ก โดยเฉพาะเมืองแมนฮัตตัน ที่เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และผู้คนที่หลั่งไหลจากทั่วทุกมุมโลก ก็จะหลงใหลในรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของ Jollibee

หากใครอยากทำธุรกิจอาหาร และอยากประสบความสำเร็จเหมือน Jollibee ที่อยู่ภายใต้การบริหารของ Tony Tan ต้องทำอาหารที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายชอบเท่านั้น ไม่ต้องไปแข่งกับใคร กล้าที่จะทำ แล้วคุณก็จะชนะในที่สุด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูลจาก

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3cveu60

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช