Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ ในจีน 2022

ทุกวันนี้ตลาดแฟรนไชส์ในประทศจีนเป็นตลาดใหญ่ เป็นจุดหมายปลายทางของแบรนด์แฟรนไชส์ขนาดใหญ่ระดับโลก โดยเฉพาะแฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มฟาสต์ฟู้ดและเครื่องดื่ม ค้าปลีก เป็นต้น โดนเฉพาะแฟรนไชส์ KFC ในประเทศจีนถือว่ามีการพัฒนาไปไกลมาก บริการระบบจดจำใบหน้าสำหรับการสั่งอาหาร

และเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์จากตะวันตกที่มีสาขาในจีนเป็นอันดับต้นๆ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ KFC ต้องลองผิดลองถูกในการหาทางเจาะตลาดจีนมานานมาก มีหนึ่งในบทเรียนที่ KFC และยังรวมถึง McDonald ซึ่งเป็นแฟรนไชส์อาหาร Fast Food ชื่อดัง โดยนักวิเคราะห์มองว่าหาจะเจาะตลาดจีน ต้องเริ่มจากเมืองเล็กๆ หรือเริ่มจากหนึ่งมณฑล

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาไปย้อนดูวิวัฒนาการของตลาดแฟรนไชส์ในประเทศจีน มีการพัฒนาไปไกลมาน้อยแค่ไหนแล้ว ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน หากจับตลาดได้ ธุรกิจโลดแล่นแดนมังกรแน่นอน

แนวโน้มการเติบโตของตลาด

Inside Franchise

ภาพจาก bit.ly/3yhTFVX

ประเทศจีน มีประชากรกว่า พันสามร้อยล้านคน โดยอยู่ในเมืองหลัก ๆ ที่เป็นเมืองการค้า คือ ปักกิ่ง กวางเจา และเซียงไฮ้ ทั้ง 3 เมืองมีประชากรรวม 37.5 ล้านคน มีประชากรรุ่นหนุ่มสาวช่วงอายุยี่สิบ ประมาณ 413 ล้านคน ในจำนวนนี้ใช้ชีวิตรูปแบบทันสมัยมากขึ้น และรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ ที่มีอัตราการขยายตัวสูง ซึ่งกลุ่มนี้คือลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีมาก

การที่มีการสร้างรูปแบบ การลงทุนที่แม้เป็นการเริ่มต้นที่เริ่มขึ้น “Regulation on Commercial Franchise Business (For Trial Implementation) “ถือว่าเป็นการก้าวกระโดดอีกระดับของประเทศที่ห่างไกลการค้ารูปแบบสมัยใหม่มานาน สิ่งนี้คือเครื่องมือที่จะปรับให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องและพัฒนาระบบการค้าขายของประเทศจีนเองได้อย่างก้าวกระโดด

ประเทศจีนยอมรับแนวคิดแบบแฟรนไชส์อย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2540 มีการเติบโต ปีละกว่า 40% ในปี 2544 ที่เปรียบเทียบขนาดตลาดกับปี 2543 ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกทั่วไปจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% กว่า ๆ ซึ่งนับว่าสูงมากแล้ว แสดงให้เห็นถึงระบบธุรกิจที่เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ได้สร้างพื้นฐานในประเทศได้เร็วและกระจายตัวเร็วมากกว่า

มีการคาดการณ์ว่ามีจุดจำหน่ายในธุรกิจแฟรนไชส์จากบริษัทที่เป็นธุรกิจมีชื่อค้านนี้ประมาณ 60 กว่าบริษัท ก็สามารถสร้างสาขาขึ้นได้ประมาณ 5,400 จุดแล้ว เจ้าตลาดด้านแฟรนไชส์เกือบทุกรายสามารถข้าไปเปิดตลาดบุกเบิกได้โดยแม้ว่าบางรายอาจจะไม่ได้ใช้ระบบแฟรนไชส์เต็มร้อยเช่นเป็นรูปแบบการร่วมทุนมากกว่าจะเป็นแฟรนไชส์เต็มรูป

8

ภาพจาก bit.ly/3wkD6qv

สัดส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์กับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของจำนวนบริษัทแฟรนไชส์ของจีนอยู่ที่ 0.14 หมายถึงประชากร หนึ่งแสนคนจะมีบริษัทด้านแฟรนไชส์ 0.14 รายในขณะอัตราของประเทศที่เจริญด้านการค้าและธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเช่น สหรัฐฯ สิงคโปร์ และแคนาดา

จะมีค่าเฉลี่ยที่ 1.5 ธุรกิจต่อประชากรหนึ่งแสนรายจีนยังมีช่องว่างในตลาดให้เติบโตได้อีก มากกว่าสองเท่าตัว ข้อมูลค้านแฟรนไชส์ในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกันทำให้มองเห็นความสำคัญของการปรับตัวของภาครัฐกับธุรกิจแนวใหม่ ว่าเขาได้วางรากฐานอย่างไร การสร้างความเข้าใจและการร่วมธุรกิจอย่างมีแบบแผนทั้งผู้สร้างและผู้ลงทุนจึงจำเป็นอย่างมาก

ปี 1990 ร้านค้าในเขตเมืองของจีนเริ่มมีการปรับตัวรับกับสภาพการบริโภคของคนจีน วัฒนธรรมใหม่ที่เริ่มขึ้นทำให้คนทำงานมีเวลาน้อยลงและเริ่มหาของกินนอกบ้านมากกว่าที่จะทำกินเองที่บ้าน ความเจริญและการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ทำให้การปรับตัวใช้ชีวิตของคนจีนในเมืองใหญ่ได้รับร้านอาหารกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ นักธุรกิจหัวทันสมัยของจีนที่ต้องการได้ตลาดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้ ด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของคนจีนก็เหมือนกับเมืองใหญ่ต่างดังนั้นร้านทันสมัยเหล่านี้ก็เลยกลายเป็นคำตอบไป

การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าวทำให้ร้านอาหารขนาดใหญ่จากตะวันตกเริ่มหาทางเข้าไปในตลาดให้ได้เร็วที่สุด อย่างเช่น แมคโนนัลด์ เคเอฟซี และพิซซ่าฮัท รวมไปถึงร้านอาหารแบบญี่ปุ่นที่บางร้านอย่าง ฮาจิซันราเม็งที่มาจากฮ่องกงมีคิวยาวจนน่าอิจฉา ร้านอาหารระดับโลกดังกล่าวต้องเข้าไปรีบจับโอกาสและสร้างธุรกิจของตนให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้เร็วที่สุดก็ถือว่าเป็นการแข่งขันกับอาหารรูปแบบเดิมอย่าง

7

ภาพจาก bit.ly/3uZZS79

เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังนึ่ง ซาลาเปา โจ๊ก ก็คือเรื่องสำคัญที่เป็นสงครามชิงลูกค้าให้ได้เห็นกัน สิ่งที่เราเริ่มเห็นกระบวนการพัฒนาระบบธุรกิจของจีนต่อเนื่องยิ่งในปีนี้ยิ่งเด่นชัดชื้น การค้าการขายของจีนที่ใช้ระบบแฟรนไชส์มีการขยายตัวต่อเนื่องและเริ่มมีบทบาทในธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น

จะเห็นได้จากผลสำรวจของฝ่ายปฏิรูปและพัฒนา กระทรวงพาณิชย์ของจีนที่มีรายงานว่าวันนี้จีนเองมีธุรกิจแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ระดับ โลกที่เข้ามาสร้างอาณาจักร และแฟรนไชส์ที่เป็นของจีนเองด้วยรวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 ธุรกิจ ในแต่ละปีบริษัทเหล่านี้สร้างยอดขายมูลค่าไม่น้อยกว่า 380,000 ล้านหยวน ก็คือเกือบเท่ากับสองล้านล้านบาทไทยเข้าไปแล้ว

เมื่อเปรียบเทียบขนาดของระบบธุรกิจแฟรนไชส์กับธุรกิจค้าปลีกหลักนั้นจะเห็นว่าในปี 2547 ยอดขายของธุรกิจแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ทั้ง 30 แห่ง คิดเป็นสัดส่วน 7.1% ของยอดค้าปลีกทั้งหมดในจีน เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับปี 2546 สำหรับผลสำรวจปี 2548

นั้นต้องรออีกหน่อยซึ่งก็คาดว่าจะมีการเติบโตต่อเนื่องไม่น้อยกว่ากัน ดูจากสัดส่วนเปรียบเทียบนี้จะเห็นว่าพอ ๆ กับบ้านเราซึ่งหมายความว่า ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ทั้งของจีนและของไทยยังสามารถเติบโตได้อีกไม่น้อยกว่าเท่าตัว

สำหรับในแต่ละธุรกิจก็มีตัวเลขการค้าน่าสนใจ มีธุรกิจแฟรนไชส์ที่มียอดขายมากกว่า 20,000 ล้านหยวน จำนวน 4 บริษัท มีธุรกิจแฟรนไชส์ที่มียอดขายมากกว่า 10,000 ล้านหยวนถึง 15 บริษัท

ธุรกิจแฟรนไชส์ในจีนมีการเติบโตต่อเนื่องและสร้างยอดขายได้สูงมาก ยอดขายของบริษัทเดียวของแฟรนไชส์จีน ก็เกือบเท่ายอดขายทั้งระบบของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ถ้าดูยอดขายของธุรกิจแฟรนไชส์ใหญ่ที่เป็นธุรกิจหลักทั้ง 30 แห่งของจีนจะมีมูลค่าคาดการณ์ 384,560 ล้านหยวนในปี 2547

โดยนับจำนวนร้านค้าสาขาคาดว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 13,801 แห่ง เพิ่มขึ้น 32.9% และ 23.8% ตามลำดับ ดูจากตัวเลขแล้วจะเห็นว่าร้านสาขาเหล่านี้จะเป็นร้านขนาดใหญ่และมีการลงทุนสูง ยอดขายต่อร้านก็ต้องสูงด้วย ซึ่งโดยเฉลี่ยต่อร้านค้าแล้วอาจจะต้องหารายได้ไม่น้อยกว่าวันละสามแสนบาทไทย ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่ไม่เลวเหมือนกันเมื่อสร้างตลาดของตัวเองได้ คนจีนเป็นนักกินนักใช้ที่เรียกได้ว่า เป็นนักบริโภคนิยม

ระบบแฟรนไชส์ในจีน

6

ภาพจาก on.china.cn/3whLYxj

ธุรกิจด้านอาหารมีอัตราการเจริญเติบโตถึง 13% ในช่วงปี 1999 มีการคาดการณ์ว่าธุรกิจด้านอาหารจานด่วนนั้นมีมากถึง 500,000 แห่งในปี 2,000 ตัวเลขการเติบโตที่มีเปอร์เซ็นต์ดังกล่าว

สำหรับประเทศขนาดใหญ่มากแบบจีนนั้นแม้เพียง 1-2% ก็มีมูลค่ามากมายแล้ว มาถึงตอนนี้คาดว่าร้านอาหารประเภทนี้คงมีไม่น้อยกว่าแปดแสนแห่ง แต่ก็ยังไม่มีตัวเลขยืนยันแน่นอน ตัวเลขคร่าว ๆ ก็ยังบอกถึงความต้องการของตลาดที่ต้องการการบริโภควัฒนธรรมใหม่ ๆ ได้อย่างดี และธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ด ธุรกิจที่มีการขยายตัวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอาหารด้านอื่น

นอกจากนั้นการพัฒนารูปแบบของการจัดการร้านอาหารของจีนเองก็มีจุดน่าสนใจ อย่างเช่นร้านไก่ทอด Can Can Chicken แคนแคนไก่ทอด ที่เป็นร้านของคนจีนเองที่ปรับธุรกิจให้เป็นรูปแบบเดียวกับร้านที่เข้ามาจากต่างประเทศที่เน้นเรื่องการบริการและสร้างบรรยากาศร้านที่ดูดีจากการตกแต่งที่ดูทันสมัยสวยงามมากขึ้น

นอกจากนั้นร้านที่เป็น ร้านของคนจีนเองก็เริ่มสร้างเครือข่ายขยายตัวไปยังเมืองใหญ่เพิ่มขึ้น จะสังเกตได้ว่าธุรกิจร้านอาหารจานด่วนของคนจีนนั้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างมาก และก็ถือว่าเป็นการปรับทิศทางการทำธุรกิจอาหารให้ สามารถแข่งขันกับร้านต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงปี 1987 คนจีนปรับตัวและเรียนรู้วิธีการ บริหารงานรวมถึงเทคนิคต่าง ๆ จากร้านสาขาของต่างประเทศนี่เอง ดังนั้นเท่ากับเร่งการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น

5

ภาพจาก bit.ly/2RrkXbY

เจ้าตลาดด้านแฟรนไชส์ที่สามารถข้าไปเปิดตลาดบุกเบิกได้แก่ แมคโดนัลด์ McDonalds เคเอฟซี KFC แล้วก็ตามมาอีกมากมายเช่น ซับเวย์ Subway ที่เป็นธุรกิจแซนวิช, เคนนีโรเจอร์ Kenny Rogers Roasters หรือ A&W ร้านแบบร้านอาหารชื่อ American Chill & Spaghettis รวมทั้งร้านแบบฮาร์ดรอคคาเฟ่ Hard Rock Cafe ทั้งหมดเป็น การเปิดสาขาเป็นระบบพิเศษ ถ้าเรียกว่า แฟรนไชส์ก็ยังคงยังไกลอยู่

กฎหมายแฟรนไชส์จีน

4

ภาพจาก bit.ly/3fqGVns

Measures for the Administration of Commercial Franchise ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศจีนในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศจีนนั้น เป็นธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนต่อหน่วยงานราชการ

เงื่อนไขหรือคุณสมบัติสำคัญของแฟรนไชส์ซอร์ที่ทำแฟรนไชส์ในประเทศจีนได้นั้น จะต้องมีสาขาแฟรนไชส์ที่เป็นของตนเอง (Company-owned) ไม่น้อยกว่า 2 แห่ง และต้องเปิดมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน (มาตรา 7) ในการจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตนั้นต้องใช้เอกสารหลายอย่าง

เช่น ตัวอย่างสัญญาแฟรนไชส์ คู่มือแฟรนไชส์ เอกสารประจำตัวของแฟรนไชส์ซอร์ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ข้อบังคับ บริษัท เป็นต้น รวมทั้งแสดงถึงสิทธิของแฟรนไชส์ในเครื่องหมายการค้าที่อนุญาตให้แฟรนไชส์ซีใช้

ในการพิจารณาคำขอจดทะเบียนเจ้าหน้าที่อาจขอหลักฐานที่แสดงว่าแฟรนไชส์ซอร์สามารถให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีได้จริง กรณีแฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้ส่งสินค้าให้แฟรนไชส์ซี เจ้าหน้าที่อาจขอหลักฐานแสดงปริมาณสินค้าว่ามีเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่อาจขอประวัติอาชญากรรมของแฟรนไชส์ซอร์

ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาแฟรนไชส์นั้น กฎหมายกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเป็นธรรม (Fair dealing) มีเหตุมีผล (Reasonableness) ซื่อสัตย์ (Honesty) และไว้วางใจต่อกัน (Trustworthiness) โดยก่อนทำสัญญาแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซอร์จะต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งมอบร่างสัญญาแฟรนไชส์ให้แฟรนไชส์ซีถ่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วันก่อนวันทำสัญญา

กรณีแฟรนไชส์ซอร์โฆษณาโดยใช้ข้อมูลยอดรายได้ หรือกำไร กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนไม่ทำให้เกิดความสับสน และหากเฟรนไชส์ซีมีข้อสงสัยแฟรนไชส์ซีมีสิทธิร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมจากแฟรนไชส์ซอร์ได้ สัญญาแฟรนไชส์ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปี

แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดให้แฟรนไชส์ซีซื้อสินค้า หรือวัตถุดิบจากตนเองไม่ได้ เว้นแต่จำเป็น เพื่อการรักษามาตรฐานแฟรนไชส์ แต่ต้องระบุมาตรฐานไว้และเปิดโอกาสให้แฟรนไชส์ซีซื้อสินค้า แฟรนไชส์ซอร์ก็ต้องรับผิดชอบกรณีสินค้าไม่มีคุณภาพ หรือมีราคาสูงกว่าที่ตกลงกันไว้ แฟรนไชส์ซอร์มีหน้าที่รายงานข้อมูลการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น จำนวนแฟรนไชส์ซี จำนวน สาขาแก่หน่วยงานราชการเป็นรายปี

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

3

ภาพจาก bit.ly/3eVGH8O

ตลาดแฟรนไชส์จีนเป็นตลาดที่มีโอกาส แต่การแข่งขันสูง ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่มาจากมุมโลก และการค้าขายกับคนจีนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คนจีนในจีนแผ่นดินใหญ่กับคนในเมืองไทย มีลักษณะความคิดต่างกันคนละแบบ การเข้าใจเชิงธุรกิจ

ภาษาที่ใช้ และรูปแบบธุรกิจพร้อมกับด้านการปกครอง รวมถึงการใช้กฎหมายยังเป็นอุปสรรคในการขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน การวางแผน งานขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในจีนจึงต้องมีความพร้อมและต้องใช้เวลา ไม่สามารถเร่งตัวธุรกิจ ทั้งในเรื่อง การร่วมลงทุนหรือการลงทุนเองต่างมีความซับซ้อนและโอกาสความสำเร็จค่อนข้างต่ำ

การเปิดตลาดในจีนให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเริ่มมาจากพื้นฐาน ต้องเข้าใจพื้นฐานของคนจีน เข้าใจวัฒนธรรม เข้าใจประวัติศาสตร์ประเทศจีน เข้าใจว่าคนจีนแตกต่างกับคนไทยอย่างไร ถึงจะรู้ว่าเราจะต้องติดต่อค้าขายกับคนจีนอย่างไร เพราะความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ทำให้เกิดปัญหาในด้านการสื่อสารและความเข้าใจระหว่างกันอยู่บ่อยครั้ง

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก การเจริญเติบโตด้านการขยายตลาดภายในประเทศจีนมีสูงมาก คนจีนเป็นคนที่ขยันและทุ่มเทกับการทำงาน มีอัตราการออมเงินสูง และรัฐบาลจีนส่งเสริมและสร้างพันธมิตรด้านเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อยกระดับธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง

2

ภาพจาก bit.ly/3f4lgmd

แม้คนจีนจะเป็นคนที่ทำงานจริงจัง แต่ก็ยังมองข้ามบางอย่างที่สำคัญไป เช่น มองข้ามความละเอียดอ่อน โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ เช่น โรงแรมระดับ 5 ดาว ที่มีการตกแต่งอย่างดี

แต่ยังขาดคนที่จะมาทำงานให้บริการหรือมีสำนึกการบริการที่ดี ทำให้ธุรกิจงานบริการของไทยได้เปรียบเราต้องมีการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มี Value Added ด้วยการผสมผสานความละเอียดของงานบริการ

ผู้ประกอบการไทยต้องศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของคนจีน ซึ่งมีความแตกต่างจากคนไทย ภายหลังที่ประเทศจีนเปิดประเทศเป็นระบบทุนนิยมเสรี ควรเน้นการเจาะตลาดคนจีนที่มีกำลังซื้อ กำลังบริโภคสูง

1

ภาพจาก bit.ly/2RvG90j

ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ ประเทศจีนมีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยต้องคิดวิธีที่จะดึงเงินจากตลาดคนจีนได้อย่างไร

ศึกษาจุดอ่อนและจุดแข็งของธุรกิจของตน และหาลู่ทางในการเจาะตลาดประเทศจีน หาพันธมิตรที่ดี ทำการศึกษาตลาดร่วมกัน ก็เป็นอีกประเด็นสำคัญและต้องระวังมากในการทำธุรกิจในประเทศจีน

SME ไทยอาจใช้เป็นบทเรียน อย่าเพิ่งคิดเรื่องการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศจีน แต่ให้เริ่มจากสำรวจตลาดของแต่ละเมืองก่อน แล้วสร้างฐานที่เข้มแข็งก่อน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3yrjyTd

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช