Food Delivery หมดโปรฯ ถึงเวลาลูกค้าจ่ายอาหารแพงขึ้น

เราต้องยอมรับว่า กลยุทธ์การตลาดที่ทำให้ผู้ให้บริการ Food Delivery ส่วนใหญ่ยอมขาดทุนในช่วงเริ่มต้น โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้า เนื่องจากการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นถือเป็นเรื่องใหม่ของผู้บริโภคชาวไทย ผู้ให้บริการเหล่านี้จึงต้องยอมขาดทุน จัดโปรโมชั่นในเรื่องค่าจัดส่งอาหารในราคาถูก เพื่อให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม

ถือเป็นการเล่นเกมเผาเงินอัดโปรโมชั่นของผู้ให้บริการ Food Delivery โดยใช้ส่วนลดและค่าส่งราคาแสนถูก เป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมค่าส่งแต่ละครั้ง ถึงมีราคาเพียงแค่ 10-15 บาทเท่านั้น

จนถึงวันนี้ หลายคนอาจสังเกตได้ว่า ทำไมค่าส่งเริ่มแพงขึ้นกว่าเดิม นี่อาจเป็นสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นว่า บรรดาผู้ให้บริการ Food Delivery ทั้งหลาย เริ่มปรับกลยุทธ์ในธุรกิจ จากเกมเผาเงิน มาเป็นเกมของการเริ่มหากำไรแล้ว กลยุทธ์ของผู้ให้บริการ Food Delivery ต่อไปจะเป็นอย่างไร น่าสนใจใจแค่ไหน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันครับ

Lineman – Grab food – Get food ดึงร้านเก็บส่วนแบ่งยอดขาย 25-30%

Food Delivery หมดโปรฯ

ภาพจาก bit.ly/2SDR84o

มีข่าวรายงานออกมาว่า หลังจากธุรกิจ Food Delivery ทั้ง 3 ค่ายใหญ่ Lineman- Grab food -Get food ได้เปิดทดลองให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสู่ระบบการสั่งอาหารผ่าน Application เมื่อกลางปี 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการแข่งขันกันจัดโปรโมชั่น ลดค่าจัดส่งเพื่อช่วงชิงลูกค้า ขณะที่ร้านอาหารเองไม่ต้องจ่ายค่า Gross Profit (GP) หรือส่วนแบ่งจากการขายให้กับทาง APP ทำให้ราคาไม่สูง จึงเป็นจุดดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาสนใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

แต่พอหลังจากหมดโปรโมชั่น ทั้ง 3 ค่ายได้แจ้งไปยังร้านอาหารที่เคยอยู่บนแอปพลิเคชั่น Food Delivery ให้มาลงทะเบียนเพื่อร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยร้านค้าที่เข้าร่วมจะได้สิทธิพิเศษ คือ เป็นร้านอาหารแนะนำอันดับแรกๆ มีตำแหน่งเมนูอาหารที่เห็นเด่นชัด และลูกค้าที่สั่งอาหารทางแอปพลิเคชั่น จะจัดโปรโมชั่นจัดค่าส่งอาหารให้ในราคาพิเศษ

8

ภาพจาก bit.ly/2SDR84o

โดยไม่ต้องเสียค่าส่งตามระยะทาง แต่มีเงื่อนไขทางร้านอาหารต้องเสียค่า Gross Profit (GP) ประมาณ 25-30% หรือส่วนแบ่งจากยอดขายให้กับทาง APP Delivery จากยอดขาย และจะส่งบิลเรียกเก็บทุก ๆ สิ้นเดือน แต่ผู้ให้บริการบางส่วนอย่าง Lineman ก็ไม่ได้บังคับ หากร้านค้าใดไม่เข้าร่วมก็ไม่ได้สิทธิพิเศษดังกล่าว ลูกค้าที่สั่งอาหารก็ต้องจ่ายค่าส่งอาหารตามระยะทาง

ขณะที่ Grab food มีเงื่อนไขเดียวกับ Lineman คือเสียค่า Gross Profit (GP) 30% เช่นกัน แต่ลูกค้าที่สั่งอาหารจะต้องชำระผ่านทาง APP Grab food โดยตรง และจะหักส่วนแบ่ง 30% ทันที จากนั้นทาง Grab food จะโอนค่าอาหารคืนให้กับร้านค้าแบบวันต่อวัน

ด้าน Get food ได้แจ้งให้ร้านอาหารที่สนใจเข้าร่วมอบรมกับโครงการ “เคล็ดลับจากร้อยสู่ล้านก้าวไปกับ Get food” ระหว่างวันที่ 3-24 ธันวาคม 2562 หากร้านค้าที่ลงทะเบียนทำสัญญาเป็นพาร์ทเนอร์ในช่วงวันดังกล่าว จะคิดค่า Gross Profit (GP) เพียง 25% เท่านั้น แต่หลังจากช่วงวันดังกล่าวจะคิด 30%

อย่างไรก็ตาม จากการเรียกเก็บค่า GP ของทั้ง 3 แอปพลิเคชั่นนั้น ต่อไปคาดการณ์ได้ว่าทางร้านอาหารจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาอาหารแน่นอน เพราะถือเป็นค่าบริหารจัดการอำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกค้า แต่คิดว่าคงปรับขึ้นไม่มาก เพราะเกรงจะกระทบกับทางลูกค้าหายไป แต่หากลูกค้ามาทานที่ร้านก็ยังคงขายในราคาเดิม เจ้าของร้านอาหารบางส่วนให้ข้อมูลมา

ตลาด Food Delivery โตเฉียด 3 หมื่นล้าน

7

ภาพจาก bit.ly/2OLmuVA

สำหรับ Food Delivery เป็นหนึ่งตลาดที่มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด หลายค่ายมีจำนวนออเดอร์เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็น Food Panda ที่เข้ามาในประเทศไทยมากว่า 7 ปี มียอดการสั่งอาหารแตะล้านออเดอร์ได้แล้ว ขณะที่ Grab food มียอดสั่งอาหารผ่าน APP สูงถึง 4 ล้านออเดอร์ ภายใน 4 เดือน เทียบกับทั้งปี 2018 ที่ผ่านมา

ด้าน Line Man ที่กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 มีการเติบโตในแต่ละปีได้ไม่ต่ำกว่า 300% รวมไปถึงการเข้ามาแชร์ตลาดของน้องใหม่อย่าง Get food ก็มียอดออเดอร์เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าตลาดในกลุ่มนี้มีมูลค่าสูงถึงเกือบ 30,000 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างน่าสนใจ จากปัญหาการจราจรทำให้เสียเวลาในการเดินทาง บางร้านต้องรอคิวนาน ผู้บริโภคก็สามารถสั่งอาหารล่วงหน้าได้ สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ความจำเป็นในครอบครัว เลือกสั่งอาหารได้หลากหลาย ขณะที่ลูกค้าก็มีโอกาสในการเข้าถึงร้านอาหารใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น แม้จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องส่งอาหาร แต่หลายๆ ค่ายก็มีโปรโมชั่นส่วนลด โดยรวมแล้วสะดวกประหยัดกว่าการเดินทางไปที่ร้านด้วยตนเอง

6

ภาพจาก bit.ly/2uAyxyg

เมื่อผู้ให้บริการ Food Delivery ต้องเรียกเก็บค่า Gross Profit (GP) ประมาณ 25-30% จากทางร้านค้าต่างๆ ต้องจับตามองว่าร้านอาหารจะขายราคาอาหารแพงขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ เพราะถ้าไม่ขายแพงขึ้น ก็ไม่รู้จะเอาเงินจากไหนไปจ่ายให้ผู้ให้บริการ Food Delivery ถึง 30% ของยอดขายในแต่ละเดือน ซึ่งแลกกับการจ่ายค่าการตลาดที่ App จะแนะนำร้านอันดับต้นๆ

หากในธุรกิจแฟรนไชส์ก็เท่ากับว่า ร้านค้าต่างๆ (แฟรนไชส์ซี) ต้องจ่ายค่าการตลาดประมาณ 3-5% ของยอดขายต่อเดือนให้กับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์นั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการอยู่รอดได้


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/3bIw7yq

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช