Dunkin’ VS Mister Donut

เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักขนมที่มีรูตรงกลาง ที่ใครๆ เรียกว่า โดนัท ขนมแป้งทอดน้ำมันจากเมืองลุงแซม สหรัฐอเมริกา ที่ขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์แพร่หลายไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย

อันที่จริงขนมแป้งทอดมีรูตรงกลาง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคชาวไทยมายาวนานแล้วล่ะ เพราะมีขายตามถนน ตรอก ซอก ซอยใกล้แหล่งชุมชนต่างๆ

แต่สงครามธุรกิจโดนัทในเมืองไทย พึ่งเริ่มเกิดขึ้นเพียงแค่ 30-35 ปีก่อนเท่านั้นเอง ส่วนในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกานั้น ไม่ต้องพูดถึง มีการรบราฆ่าฟันกันมายาวนาน ถึงกับต้องจะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดล้มหายตายจากก็มี โดยเฉพาะ 2 แบรนด์แฟรนไชส์ร้านโดนัทชื่อดังของโลกอย่าง Dunkin’ Donuts และ Mister Donut ถือเป็นอีกคู่มวยที่ถูกคู่กันจริงๆ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูการต่อสู้ที่สูสี ชนิดว่าแลกกันคนละหมัดของแบรนด์แฟรนไชส์ร้านโดนัทสัญชาติอเมริกัน อย่าง Dunkin’ VS Mister Donutว่าใครจะได้เปรียบเสียเปรียบ ใครเป็นผู้นำหรือตาม

เทียบรุ่นต่อรุ่น ใครเกิดก่อน เกิดหลัง

Dunkin' VS Mister Donut

ภาพจาก bit.ly/31rNU9K

มาเริ่มต้นที่เรื่องราวประวัติความเป็นมาของร้าน Dunkin’ ก่อนครับ ร้านโดนัทแห่งนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1946 โดยตอนนั้น วิลเลียม โรเซนเบิร์ก ได้ก่อตั้งบริษัทอันดัสเทรียลลันเชียนเซอร์วิสขึ้น ทำหน้าที่รับส่งอาหาร กาแฟ และขนมขบเคี้ยวให้แก่ลูกค้าในพื้นที่ห่างไกลของเมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

หลังจากที่เขประสบความสำเร็จในธูรกิจส่งอาหาร กาแฟ ขนมเป็นอย่างดี เขาจึงเปิดร้านกาแฟและโดนัทที่ชื่อว่า “The Open Kettle” ขึ้น จากนั้นในปี 1950 เขาจึงเปิดร้าน “Dunkin’ Donuts” แห่งแรกขึ้น ทุกวันนี้ว่ากันว่าร้านนี้ยังคงเปิดอยู่ โดยตั้งอยู่ที่ 543 เซาเทิร์นอาร์เทอรี ในเมืองควินซี มลรัฐแมสซาชูเซสต์

ที่สำคัญร้าน Dunkin’ Donuts รวมไปถึงร้านแซนด์วิช Togo’s และร้านไอศครีม Baskin-Robbins ต่างเป็นร้านภายใต้บริษัท Dunkin’ Brands Inc. เป็นบริษัทในเครือบริษัทผลิตเครื่องดื่มของฝรั่งเศส ที่ชื่อว่า Pernod Ricard S.A.

45

ภาพจาก bit.ly/2FYMmMl

ในสหรัฐอเมริการ้าน Dunkin’ Donuts มักจะจับคู่อยู่กับร้าน Togo’s และ ร้าน Baskin-Robbins ซึ่งคู่แข่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านโดนัทในท้องถิ่นเป็นหลัก จากตรงนี้หลายคนอาจสงสัยแล้วว่าร้าน Mister Donut หายไปไหน

สำหรับที่สหรัฐอเมริการ้าน Mister Donut เคยเป็นคู่แข่งรายใหญ่ ที่สำคัญที่สุดของ Dunkin’ Donuts ก่อนที่ทางบริษัทจะถูกบริษัทแม่ของ Dunkin’ Donuts คือ International Multifoods ซึ่งเป็นบริษัทในมินนิโซตา ซื้อกิจการไป และทำให้ร้าน Mister Donut ถูกรีแบรนด์ไปเป็น Dunkin’ Donuts แทนหมด ทำให้ไม่เหลือร้าน Mister Donut ในสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทแม่ของ Dunkin’ Donuts ได้เข้าไปซื้อ Mister Donut เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1990

44

ภาพจาก bit.ly/34xMaOd

ซึ่งในขณะนั้น มีร้าน Mister Donut แล้ว 550 ร้านด้วยกัน จนกระทั่งในปี 1983 บริษัท Duskin จำกัด ของประเทศญี่ปุ่นได้ซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์มิสเตอร์โดนัทมาไว้ในครอบครอง ซึ่งสิทธิ์นี้ครอบคลุมการทำธุรกิจมิสเตอร์โดนัททั่วประเทศญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย โดยเปิดร้านในญี่ปุ่นมากกว่า 1,000 แห่ง และอีกหลายร้อยสาขาในประเทศต่างๆ ทั่วเอเชีย รวมถึงประเทศไทย

สรุปได้ว่า ระหว่าง Dunkin’ Donuts กับ Mister Donut ใครเกิดก่อนกัน ตอบได้เลยว่า ร้าน Dunkin’ Donuts เพราะว่าร้าน Mister Donut เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 1956 หรือ 6 ปี หลังจากที่ทาง Dunkin’ Donuts เปิดร้านแรกไปแล้ว

จุดที่น่าสนใจอีกจุดก็คือ ผู้ที่ก่อตั้งร้าน Mister Donut คือ เฮนรี วินูเกอร์ ผู้เป็น brother-in-law (ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นพี่เขย น้องเขย หรือญาติฝ่ายไหน) ของ วิลเลียม โรเซนเบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Dunkin’ Donuts นั่นเอง

Mister Donut พลิกกลับมาเป็นมวยต่อในเอเชีย

43

ภาพจาก bit.ly/3hvDHPm

จุดเริ่มต้นของ มิสเตอร์ โดนัท ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 คุณสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ และคุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ในนามของบริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด กลุ่มเซ็นทรัลกรุ๊ป สองพี่น้องผู้บุกเบิกตลาดโดนัทเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งสาขาแรกที่ สยามสแควร์

เรียกได้ว่าตลอดระเวลากว่า 39 ปี ของ Mister Donut ในการท่องยุทธจักรในตลาดเมืองไทย จนกระทั่งปัจจุบันสามารถขยายสาขาไปแล้วมากกว่า 300 สาขาในกว่า 70 จังหวัดทั่วประเทศไทย เป็นเบอร์ 1 ตลาดโดนัทในประเทศกว่า 50%

42

ภาพจาก bit.ly/3js16BZ

ขณะที่ Dunkin’s Donuts ได้ถูกนำเข้ามาจากอเมริกาโดยนายอาจิต รากาฟ และเปิดสาขาดังกิ้นโดนัทแห่งแรกที่สยามสแควร์ เมื่อปี พ.ศ.2524 และสาขาที่ 2 ที่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง และห้างสรรพสินค้าแห่งแรก ที่ดันกิ้น โดนัทได้เข้าไปเปิดสาขา คือ ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า เพราะธุรกิจกิจการร้านดังกิ้นโดนัทในไทย มีการเติบโตอย่างยั่งยืน

การเข้ามาเจาะตลาดเมืองไทยตลอดระยะเวลา 36 ปี ช้ากว่าคู่ต่อสู้ ทำให้ดังกิ้นโดนัทตกเป็นมวยรองมิสเตอร์โดนัทอยู่หลายขุม โดยมีการขยายสาขาไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศแล้วกว่า 280 สาขา ใน 47 จังหวัดทั่วประเทศ เพราะยึดมั่นเติบโตแบบมั่นคง ไม่ผลีผาม เน้นพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น

ปรับโมเดลสู่โหมด…กาแฟ
มิสเตอร์ คาเฟ่

41

ภาพจาก bit.ly/3aZDhhu

“มิสเตอร์ โดนัท” ได้รับสิทธิ์จากบริษัทแม่ของ “มิสเตอร์ โดนัท” ประเทศญี่ปุ่น ในการขยายโมเดลใหม่รูปแบบคาเฟ่ขายเครื่องดื่มพ่วงเบเกอรี่ ในตลาดญี่ปุ่น “มิสเตอร์ โดนัท” ได้ปรับรูปแบบร้านคาเฟ่ มาได้ประมาณ 3 ปี

โดยรูปแบบสาขาโมเดลใหม่นี้ ได้สลัดคราบร้านโดนัทออกไปแทบจะสิ้นเชิง ภายในร้านจัดวางสินค้าในรูปแบบผสมผสานของร้านกาแฟและเบเกอรี่ ยกชั้นโชว์โดนัทที่คุ้นตาทิ้งไป ขณะที่ภายนอกได้ลบสีประจำแบรนด์ทั้งแดงและเหลือง แทนที่ด้วยสีฟ้าแซมขาว กลายเป็นร้าน “คาเฟ่สีฟ้า-ขาว” ที่ให้ความอบอุ่นต้องรับลูกค้าทุกเพศทุกวัยเข้ามาแทน

ขณะที่รูปแบบโมเดลคาเฟ่ในไทย เป็นการพัฒนามาจากรูปแบบโดนัท แอนด์ คอฟฟี่ ที่ได้นำ 3 สาขา ประกอบด้วย สยามพารากอน , เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และเซ็นทรัล พัทยาบีช มาเพิ่มไลน์สินค้ากาแฟและโดนัทหน้าพิเศษบริการลูกค้าเพิ่มขึ้น

สำหรับโมเดล “มิสเตอร์ คาเฟ่” เป็นการพัฒนาต่อภายใต้รูปแบบ Shop in Shop โดยเริ่มจากนำ 3 สาขา ต้นแบบ ประกอบด้วย เซ็นทรัล พระราม 9, เมกา บางนา และโรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่

มาจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นมุมตกแต่งพิเศษให้เป็น สไตล์คาเฟ่ พร้อมเพิ่มไลน์สินค้ากาแฟ เครื่องดื่มต่างๆ และเบเกอรี่ รวมถึงโดนัทหน้าพิเศษแตกต่างจากสาขาปกติ เพื่อให้โมเดลนี้มีสินค้ามากกว่าร้านมิสเตอร์ โดนัท ในรูปแบบปกติทั่วไป

มิสเตอร์ โดนัท ตั้งเป้าหมายให้โมเดลคาเฟ่ มีสัดส่วนยอดขายเครื่องดื่ม 80% อีก 20% เป็นเบเกอรี่และโดนัท ในขณะที่ร้านสาขาปกติจะมีรายได้จากเครื่องดื่ม 20% อีก 80% มาจากโดนัท มิสเตอร์ โดนัท เลือกที่จะขยาย “มิสเตอร์ คาเฟ่” ไปในทำเลที่มีทราฟฟิกสูง และมีฐานผู้บริโภคที่ค่อนข้างมีกำลังซื้อมากกว่าร้านในรูปแบบปกติ

ดังกิ้น คอฟฟี่

40

ภาพจาก bit.ly/3j7HjYe

แม้ว่าแบรนด์ดีเอ็นเอของดังกิ้น โดนัท จะมาจากสหรัฐอเมริกา ทว่าโมเดลการปรับร้านในช่วงเริ่มต้นสู่ “โดนัท & คอฟฟี่” ของดังกิ้น โดนัท กลับใช้ต้นแบบสาขามาจากเกาหลีใต้ ดังกิ้น โดนัท ตัดสินใจเปิดให้บริการ “ดังกิ้น คอฟฟี่” หลังจากที่ดังกิ้น โดนัท เกาหลีใต้เปิดให้บริการขายกาแฟ ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 40% เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ จุดขายของดังกิ้น คอฟฟี่ คือ เป็น “กาแฟคั่วบด” ระดับพรีเมียมที่มีรสชาติ คุณภาพใกล้เคียงกับแบรนด์ระดับบนในตลาดเมืองไทยแต่มีราคาถูกกว่า 25%

เป้าหมายสำคัญของกลยุทธ์นี้คือการ “เพิ่มรายได้” รวมถึงการขยายไลน์สินค้าให้มีความหลากหลายของเมนูออกจากกลุ่มไลท์ฟาสต์ฟู้ดส์อย่างโดนัทที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจด้านด้านสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งดังกิ้น โดนัท มองว่าอนาคตตลาดน่าจะมีการเติบโตที่ลดลง ดังนั้นโมเดลใหม่ที่นำมาใช้น่าจะเพิ่มยอดขายเครื่องดื่มให้มีสัดส่วนเป็น 40%

ล่าสุดในปี 2559 ดังกิ้น โดนัท ได้มุ่งนำเสนอแบรนด์เพอร์เซพชันจากโมเดลโดนัทไปสู่ “โดนัท เบเกอรี คาเฟ่” อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการตกแต่งในสไตล์ทันสมัย และเสริมเมนูอาหารที่หลากหลายเข้ามา อาทิ เมนูอาหารเช้าตลอดวัน, แซนด์วิช และกาแฟพรีเมียมจากสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

สำหรับรายได้และผลการดำเนินงานของ “ดังกิ้น” และ “มิสเตอร์ โดนัท” จากการตรวจสอบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากเทียบกันแล้ว “ดังกิ้น” อาจมีรายได้น้อยกว่า ภายใต้การบริหารของบริษัท โกลเด้น โดนัท (ประเทศไทย) จำกัด ส่วน “มิสเตอร์ โดนัท” ภายใต้การบริหารของ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งมีแบรนด์แฟรนไชส์หลากหลายแบรนด์ในมือ ทำให้มีรายได้มากกว่า

งบกำไรขาดทุน บริษัท โกลเด้น โดนัท (ประเทศไทย) จำกัด
(ดังกิ้น)

  • ปี 2560 รายได้ 1,085,418,549.00 บาท กำไร 45,175,341.00 บาท
  • ปี 2561 รายได้ 1,094,919,279.00 บาท กำไร 41,271,527.00 บาท
  • ปี 2562 รายได้ 997,205,384.00 บาท กำไร 21,013,697.00 บาท

จำนวนสาขามากกว่า 283 สาขา

งบกำไรขาดทุน บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด
(มิสเตอร์ โดนัท) KFC, Ootoya, Yoshinoya, Cold Stone และอื่นๆ

  • ปี 2560 รายได้ 10,081,248,699.00 บาท กำไร 689,998,456.00 บาท
  • ปี 2561 รายได้ 11,007,139,823.00 บาท กำไร 680,937,809.00 บาท
  • ปี 2562 รายได้ 11,288,349,619.00 บาท กำไร 569,597,182.00 บาท

จำนวนสาขามากกว่า 300 สาขา

ปัจจุบันตลาดโดนัทในประเทศไทยมีผู้ประกอบการ 4 แบรนด์ใหญ่ คือ มิสเตอร์ โดนัท, ดังกิ้น โดนัท, แด๊ดดี้ โด และคริสปี้ครีม โดย “มิสเตอร์ โดนัท” เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% ตลาดโดยรวมมีมูลค่ากว่า 3.5 พันล้านบาท


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jgByr8

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช