Customer Journey สำหรับคนซื้อแฟรนไชส์ เพื่อขยายธุรกิจ

เชื่อว่าคนที่ซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะเคยสัมผัสและมีประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์แฟรนไชส์นั้นมาก่อน เพราะซื้อมาเปิดแล้วมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงของแบรนด์เป็นที่รู้จัก 

สินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคในวงกว้าง เข้าไปใช้บริการหรือซื้อซ้ำอยู่เป็นประจำ จนกลายเป็นลูกค้าประจำของแบรนด์นี้ เมื่อเราหลงรักแล้วสุดท้ายก็ต้องอยากได้มาเป็นเจ้าของ หรือไม่ก็อยากส่งมอบประสบการณ์ที่ตนเองได้รับให้กับคนอื่นด้วยการซื้อแฟรนไชส์มาเปิดในพื้นที่

ใครที่อยากซื้อแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอไกด์ไลน์ของคนซื้อแฟรนไชส์ในการเดินทางเข้าไปสัมผัสแบรนด์ หรือ Customer Journey ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์มาเปิด เพื่อขยายธุรกิจ มาดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

1.การรับรู้ Awareness

เพื่อขยายธุรกิจ

เป็นช่วงเวลาที่เราสนใจเรื่องแฟรนไชส์ เพราะอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่เรายังไม่รู้ว่าชอบแฟรนไชส์อะไร อาจไปเดินงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ หรือดูข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ แผ่นพับ โบชัวร์ บิลบอร์ดโฆษณา รวมถึงสื่อออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ Facebook Ads, IG Ads, Youtube และ Ads Google เป็นต้น

2. ค้นหาข้อมูล Consideration

11

หลังจากเรารู้แล้วว่าชอบและรู้จักแบรนด์แฟรนไชส์อะไรบ้าง เราก็ต้องเปรียบเทียบธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ว่ามีจุดเด่นและความน่าสนใจลงทุนอย่างไรบ้าง อาจจะเปรียบเทียบ 2-3 แบรนด์ หรือ 4-5 แบรนด์ เพื่อดูว่าแฟรนไชส์แบรนด์ไหนมีโอกาสประสบความสำเร็จและเหมาะสมกับเรามากที่สุด ซึ่งเราสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของแบรนด์แฟรนไชส์นั้นๆ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สมาคมแฟรนไชส์ สาขาแฟรนไชส์ซี รวมถึงเว็บไซต์ www.ThaiFranchiseCenter.com

3. การซื้อสินค้า Purchase

8

เมื่อเราค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการเดินทางไปทดลองกิน ทดลองใช้บริการร้านแฟรนไชส์เหล่านั้นจริงๆ ถ้าเป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารเป้าหมายก็ต้องไปดูว่า เมนูอาหาร รสชาติอาหาร ราคา บรรยากาศในร้าน สิ่งอำนวยความสะดวก การบริการลูกค้า เพื่อค้นหาแฟรนไชส์ที่ถูกใจ

4. การกลับมาซื้อซ้ำ Retention

10

หลังจากที่เราไปสัมผัสและใช้บริการร้านแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ที่สนใจแล้ว แน่นอนว่าเราจะต้องมีแบรนด์แฟรนไชส์ในดวงใจที่ชอบและเหมาะสมกับเรามากที่สุด เราต้องกลับไปซื้อหรือใช้บริการร้านแฟรนไชส์นั้นๆ อีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจ หากร้านแฟรนไชส์บริการดี รสชาติอาหารอร่อย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครอบครัน เราควรที่จะไปสัมผัสกับประสบการณ์ที่ดีในร้านแฟรนไชส์นั้นอีกครั้ง เพื่อสอบถามพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์โดยตรง

5. การสนับสนุน Advocacy

9

หลังจากเราถูกใจแบรนด์แฟรนไชส์นั้นแล้ว ไปใช้บริการเป็นประจำ เกิดความผูกพันกับแบรนด์ จนถึงขั้นอยากแต่งงานหรืออยู่ร่วมชายคาเดียวกัน เพราะเราได้รับประสบการณ์ที่ดีจากร้านนั้นแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนติดต่อซื้อขายแฟรนไชส์กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ สอบถามข้อมูลการลงทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุน รวมถึงการฝึกอบรม จนถึงเปิดร้าน และขยายสาขาเพิ่มเรื่อยๆ ถือเป็นการสนับสนุนแบรนด์แฟรนไชส์ที่เราชอบด้วยเช่นเดียวกัน

นั่นคือ ไกด์ไลน์ของคนซื้อแฟรนไชส์ในการเดินทางเข้าไปสัมผัสแบรนด์แฟรนไชส์ หรือ Customer Journey ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ แต่อย่าลืมว่าแฟรนไชส์ที่ซื้อมาจะต้องเหมาะสมกับเรา เป็นแฟรนไชส์ที่ชอบจริงๆ เพราะจะทำให้เราตั้งใจและมีความสุขในการทำธุรกิจ ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เราประสบความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. การรับรู้ Awareness
  2. ค้นหาข้อมูล Consideration
  3. การซื้อสินค้า Purchase
  4. การกลับมาซื้อซ้ำ Retention
  5. การสนับสนุน Advocacy

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dpTcbd

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช