COVID-19 กับการปรับตัวของแฟรนไชส์ทั่วโลก

ต้องยอมรับว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ต่างต้องเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

ซึ่งวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ จะเป็นการพิสูจน์ความแข็งแกร่งของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการสร้างความพันธ์และช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี ให้ก้าวพ้นผ่านวิกฤตไปด้วยกันได้ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีแนวทางของ COVID-19 กับ การปรับตัวของแฟรนไชส์ซอร์ทั่วโลก และการช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีให้ก้าวพ้นผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน มานำเสนอให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ได้ทราบ

ปัญหาของแฟรนไชส์ช่วงวิกฤตโควิด-19

COVID-19 กับ

ภาพจาก bit.ly/39R2yZk

ระบบแฟรนไชส์ถือเป็นเครื่องมือการเติบโตของธุรกิจขนาดเล็ก โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ การฝึกอบรม ระบบการทำงาน การตลาด การหาเงินทุน สินค้า วัตถุดิบ ฯลฯ แต่พอเกิดวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจแฟรนไชส์ก็ได้รับผลกระทบเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซี ที่ยังจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย ท่ามกลางยอดขาย และลูกค้าลดลง

โดยค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซีต้องแบกรับในช่วงวิกฤต ก็คือ ค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสิทธิรายเดือน การค่าการตลาด ขาดเงินทุนหมุนเวียน และอื่นๆ นอกจากนี้แฟรนไชส์บางประเภทยังถูกสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราว ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีได้รับผลกระทบไปตามกัน ไม่รู้ว่าแฟรนไชส์ซีที่โดนปิดกิจการชั่วคราวยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้แฟรนไชส์ซอร์หรือไม่

42

ภาพจาก cnb.cx/2V9F2Bl

สำหรับแนวทางการปรับตัวของแฟรนไชส์ทั่วโลกในช่วงวิกฤตโควิด-19 นั้น ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน จับมือก้าวไปด้วยกัน ให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซอร์นั้นจำเป็นต้องติดตามสอบถามปัญหาของแฟรนไชส์ซีตลอดเวลา

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขาดกระแสเงินสด ยอดขาย รายได้ จำนวนลูกค้า ค่าใช้จ่ายต่างๆ (โดยเฉพาะช่วยเหลือชะลอจ่ายค่าสิทธิชั่วคราว) การปิดร้าน คามสะอาดและสุขอนามัยในร้าน การลาพักของพนักงาน การขาดแคลนวัตถุดิบ-สินค้า

แฟรนไชส์ซอร์ควรทำอย่างไร ช่วงระบาดโควิด-19

41

ภาพจาก bit.ly/2whzPyW

  1. ให้มองว่าวิกฤตจะผ่านพ้นไป และเตรียมแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาส 4 และช่วง 2, 3 และ 5 ปีข้างหน้า
  2. สอบถามถึงปัญหา การขาย ต้นทุนสินค้า และวางมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี
  3. ตรวจสอบว่าผลกระทบของแฟรนไชส์ซีจากโควิด-19 สอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์หรือไม่
  4. สื่อสารกับแฟรนไชส์ซีผ่านช่องทางต่างๆ ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
  5. ปรับเปลี่ยนคู่มือปฏิบัติงาน และข้อตกลงบางอย่างในสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อช่วยแฟรนไชส์ซีทำงานง่ายขึ้น
  6. สื่อสารออกไปให้ลูกค้าได้ทราบว่า ภายในร้านมีความปลอดภัย มาตรการรักษาความสะอาด และสุขอนามัยอย่างไร
  7. พยามยามสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงวิกฤต เพื่อช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีขายของได้
  8. อย่าตื่นตระหนก ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจช่วงวิกฤต ดึงดูดลูกค้า และวางแผนธุรกิจสำหรับอนาคต 

ได้เห็นแล้วว่า แนวทางกรปรับตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลก เพื่อให้ก้าวพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกันของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซอร์นั้น จะต้องปฏิบัติและให้ความช่วยเหลือแก่แฟรนไชส์ซีของตัวเองอย่างไร


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล https://bit.ly/2JLBeRA

อ้างอิงข้อมูล  https://bit.ly/3aZLnpK

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช