Business Model Canvas ที่ดี สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ประกอบการ ที่กำลังคิดจะลงทุน หรือเริ่มต้นธุรกิจ หรือปรับปรุงธุรกิจเดิมให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆ

กับการทำ Business Model ที่ก่อนจะเริ่มต้นทำธุรกิจ จำเป็นต้องมี Business Model ที่ชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจนั้นๆ ทำให้เรารู้และเข้าใจภาพรวมธุรกิจของตัวเองมากขึ้น

Business Model Canvas

เช่นเดียวกันกับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ก่อนเริ่มทำธุรกิจจำเป็นต้องมี Business Model ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจไปให้ถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ Business Model Canvas ที่ดี สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์! มาฝากผู้ที่กำลังคิดจะทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะก่อนทำธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยให้เจ้าของกิจการและเหล่าผู้บริหาร เข้าใจจุดอ่อน และ จุดแข็ง ของธุรกิจตัวเองได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็วผ่านโมเดลธุรกิจที่มีอยู่แล้ว

e2

ภาพจาก goo.gl/JEUdSp , goo.gl/nMTbVA

1.กลุ่มลูกค้า (Customer Segments)

ต้องระบุให้ได้ว่า เราสร้างคุณค่าเพื่อใคร มีลูกค้ากลุ่มเดียว หรือมีความหลากหลาย แต่ละกลุ่มมีไลฟ์สไตล์อย่างไร เช่น 7-Eleven ที่ได้เน้นกลุ่มเป้าหมายทุกเพศ ทุกวัยในสังคม คนนอนดึก และเป็นคนในชุมชน หรือคนสัญจรผ่านไปมา มีไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย ชอบความสะดวกสบาย ชอบความรวดเร็ว เวลาที่หิวเมื่อไหร่ ก็แวะไป 7-Eleven สาขาใกล้บ้านตัวเอง

2. คุณค่าของสินค้าและการนำเสนอ (Value Propositions)

เมื่อเรารู้ว่าจะขายให้ใคร เราต้องรู้ว่า ”จุดขาย” ที่มีคุณค่าของเราคืออะไร คนซื้อได้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น 7-Eleven นำเสนอเรื่องของความสะดวกสบายใกล้บ้าน สินค้าและบริการหลากหลาย ที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ตกแต่งร้านสวยงาม บรรยากาศดี สะอาด มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่

e3

ภาพจาก goo.gl/M6x3Nz

3. ช่องทางการเข้าหาลูกค้า (Customer Channels)

เราต้องหาวิธีให้ลูกค้ามาเจอจุดขายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดสู่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำส่งสินค้าและงานบริการ เช่น 7-Eleven เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เพื่อให้คนที่ทำงานกลางคืน หรือนอนดึกได้เห็นและสามารถใช้บริการได้สะดวกสบาย มีการออกแบบโลโก้โดดเด่น จดจำได้ง่าย แสงสว่างในร้านทำให้คนเห็นได้ง่าย

นอกจาก 7-Eleven จะทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เป็นประจำแล้ว ยังเลือกใช้ “ช่องทางในร้าน” สำหรับต้อนรับลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการภายในร้าน อย่างเช่น “รับขนมจีบ ซาลาเปา เพิ่มไหมคะ”

e4

ภาพจาก www.facebook.com/7ElevenThailand

4. ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกค้า (Customer Relationships)

เรามีวิธีการอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ กลับมาใช้บริการอีก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น 7-Eleven มีการจัดอบรมพนักงานทุกตำแหน่งให้มีความรู้ มีทักษะด้านการขาย การบริการลูกค้า มีความสุภาพ ให้เกียรติลูกค้า พร้อมจัดโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการบ่อย เช่น สะสมแสตมป์แลกซื้อสินค้าหรือของชำร่วยอื่นๆ เป็นต้น

5. รูปแบบรายได้ที่เข้ามา (Revenue Streams)

ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้ว่า “เราจะมีรายได้จากอะไรบ้าง” เช่น ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee), ค่า Royalty Fee 3-5% จากยอดขายในแต่ละเดือนของแฟรนไชส์ซี, รายได้จากการขายและจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ, ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการเปิดร้าน รวมถึงค่าบริการด้านต่างๆ เช่น การทำธุรกรรมทางเงินต่างๆ เป็นต้น

6. สิ่งที่เราทำ (Key Activities)

เนื่องจากรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละประเภทมีความหลากหลาย ทำให้รูปแบบกิจกรรมของแต่ละธุรกิจแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น เราจำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งที่เราทำคืออะไร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับการทำงาน

เช่น มีการจัดระบบคิวและการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่เข้ามารับบริการ มีการทักทายลูกค้าที่เป็นมิตร สร้างความประทับใจ มีการจัดโปรโมชั่นประจำเดือนเพื่อดึงดูดลูกค้า รวมถึงการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

e5

ภาพจาก goo.gl/gYT9c4

7. สิ่งจำเป็นที่เราต้องมี (Key Resources)

ถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญและจำเป็นในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น ร้านต้นแบบ พนักงาน อุปกรณ์ การตกแต่ง สินค้าและบริการ ระบบการทำงาน เทคโนโลยี รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์พร้อมอุปกรณ์วัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ

8. ใครที่เราต้องทำธุรกิจด้วย (Key Partners)

คนที่เข้ามาร่วมหุ้นหรือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน หรือคนที่เข้ามาร่วมมีส่วนในการทำ Project พิเศษๆ ก็ได้ อย่างเช่น ถ้าเป็นแฟรนไชส์ค้าปลีก ก็จะมีกลุ่มซัพพลายเออร์ เจ้าของสินค้าและบริการต่างๆ สถาบันการเงิน ธุรกิจขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ เป็นต้น ส่วนธุรกิจอื่นๆ อาจจะมีห้างสรรพสินค้าเช่าพื้นที่ โรงงานผลิตสินค้า เป็นต้น

9. ต้นทุนที่ต้องจ่าย (Cost Structure)

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เป็นบทสรุปที่ชัดเจน โดยเฉพาะงบประมาณการการลงทุนทั้งหมด เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าตกแต่ง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าสินค้าและบริการ เงินเดือนพนักงาน ค่าการตลาด ค่าจัดหาทำเลที่ตั้ง ค่าอบรม

รวมถึงค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีต่างๆ โดยเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ อาจจะคิดรวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้อยู่ในค่า Franchise Fee และ Royalty Fee ไปเลยก็ได้ เช่น ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า 100,000 บาท, ค่าตกแต่งร้านพร้อมอุปกรณ์ทำธุรกิจ 1-2 ล้านบาท, ค่า Royalty Fee 3-5% จากยอดขายในแต่ละเดือนของแฟรนไชส์ซี

e7

จะเห็นได้ว่า รูปแบบของ Business Model Canvas เหมือนกับ Business Model ที่หลายๆ คนเคยได้จัดทำมาแล้วก่อนเริมต้นธุรกิจ เพื่อเป็นวิเคราะห์โอกาสของธุรกิจ ทำให้รู้ว่าเราจะขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางใด ให้ธุรกิจหรือแบรนด์แฟรนไชส์ของเราเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ดังนั้น การสร้างระบบแฟรนไชส์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียน Business model ให้เป็น เพราะอย่างน้อยเราจะได้ดึงเอา DNA ของตัวเองออกมาให้โลกได้รู้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถเกิด หรือโลดแล่นเป็นเจ้ายุทธจักรได้ครับ

e8

ภาพจาก https://bit.ly/2vpXr0O

การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ มักมีความซับซ้อนมากกว่าการสร้างธุรกิจทั่วๆ ไป เมื่อไหร่ที่ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเกิดปัญหาขึ้น ก็อาจต้องเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ (Business model) ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่มักใช้โมเดลธุรกิจแบบ The Baldrige Business Excellence Framework ซึ่งโมเดลธุรกิจที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าน้อยเกินไป

จึงไม่ค่อยจะเหมาะสมกับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีลูกค้าถึง 2 ระดับ คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) และผู้ซื้อสินค้าและบริการ จึงไม่แปลกที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ ปรับมาใช้โมเดลธุรกิจแบบ Canvas (BMC) ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของ BMC คือเป็นเครื่องมือที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสำหรับการดำเนินธุรกิจในยุคใหม่ โดยโมเดล BMC สำหรับแฟรนไชส์จะแตกต่างกับ BMC แบบปกติ คือ

  1. มีความเป็นเอกลักษณ์และความซับซ้อนของระบบแฟรนไชส์
  2. มีลูกค้า 2 ระดับคือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) และ ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ (ผู้บริโภค)
  3. มีการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน และถ่ายทอดการทำธุรกิจให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์

ตัวอย่าง BMC ของMcDonald’s

e9

ภาพจาก https://bit.ly/2vp3ORU

BMC ของMcDonald’s สามารถอธิบายได้ดังนี้

  • คุณค่าของสินค้าและการนำเสนอของMcDonald’s (value proposition) เป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ มีบริการที่รวดเร็ว เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขาทัวโลก
  • กลุ่มลูกค้า(customer segments) ได้แก่ กลุ่มครอบครัว, เยาวชน, ผู้สูงอายุ และนักธุรกิจ
  • หุ้นส่วนทางธุรกิจหลักของ McDonald’s (strategic partners)คือ ซัพพลายเออร์, แฟรนไชส์ซี และบริษัทMcDonald ‘s ทั้งสามต้องเติบโตเพื่อสร้างกำไรให้ธุรกิจ
  • สิ่งที่ McDonald’s ทำ (key activities) คือ การขายอาหารฟาสต์ฟู้ด เครื่องดื่มและทำการตลาดจัดโปรโมชั่นต่างๆ
  • สิ่งที่ McDonald’s จำเป็นต้องมี (Key resources) คือ การพัฒนาบุคลากร และการฝึกอบรมพนักงานในร้านให้มีบริการที่ดีต่อลูกค้า รวมถึงการสรรหาทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านที่มีศักยภาพ
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง McDonald’s กับลูกค้า (Customer Relationships) สื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ รวมถึงการบริการโทรสั่งสินค้าเดลิเวอรี่
  • ช่องทางการเข้าหาลูกค้า (distributes) ผ่านทางร้านอาหาร McDonald’s ที่ตั้งอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ปั้มน้ำมัน เส้นทางติดถนนมีทั้งแบบนั่งรับประทานที่ร้าน สั่งกลับบ้านแบบสั่งในร้าน หรือไดร์ฟทรู ที่สามารถสั่งขณะอยู่บนรถได้เลย
  • ต้นทุนค่าใช้จ่าย (cost) ประกอบด้วย เงินเดือนพนักงาน, ต้นทุนการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ต้นทุนการก่อสร้างร้าน เป็นต้น, ค่าจัดหาวัตถุดิบ เช่น เนื้อที่มาทำอาหาร น้ำอัดลมที่มาทำเครื่องดื่มจำหน่าย และค่าการตลาด เช่น ค่าโฆษณาบนสื่อโทรทัศน์ การจัดโปรโมชั่นต่างๆ เป็นต้น
  • รูปแบบรายได้ที่เข้ามา ของ McDonald’s (revenues) เกิดขึ้นจากร้านอาหารที่บริษัทMcDonald’sเป็นเจ้าของ และร้านแฟรนไชส์ที่ซื้อแฟรนไชส์จากบริษัทMcDonald’sมาเปิดสาขาเอง (แฟรนไชส์ซี)

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/9NfygR

Franchise Tips

  1. กลุ่มลูกค้า (Customer Segments)
  2. คุณค่าของสินค้าและการนำเสนอ (Value Propositions)
  3. ช่องทางการเข้าหาลูกค้า (Customer Channels)
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกค้า (Customer Relationships)
  5. รูปแบบรายได้ที่เข้ามา (Revenue Streams)
  6. สิ่งที่เราทำ (Key Activities)
  7. สิ่งจำเป็นที่เราต้องมี (Key Resources)
  8. ใครที่เราต้องทำธุรกิจด้วย (Key Partners)
  9. ต้นทุนที่ต้องจ่าย (Cost Structure) 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3s001IR

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช