7 เหตุผล ทำไมคุณไม่เหมาะกับการสร้างแฟรนไชส์

แฟรนไชส์เป็นระบบการ ขยายธุรกิจ ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้องต้องใช้เงินลงทุนเอง เพียงแค่ถ่ายทอดความสำเร็จให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ก็จะได้มาซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ

รวมถึงค่าสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ นั่นจึงทำให้เจ้าของกิจการจำนวนมากสนใจทำแฟรนไชส์มากขึ้น แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า การสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนช์นั้น มีความยุ่งยากอยู่ไม่น้อย ไม่ใช่พอสินค้าและบริการติดตลาดแล้ว ก็ขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นไปเลย วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 7 เหตุผล ว่าทำไมเจ้าของกิจการหลายๆ ราย ไม่เหมาะกับการสร้างแฟรนไชส์

7 เหตุผล

1.วางแนวทางธุรกิจไม่โดนใจลูกค้า

ธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องเริ่มจากเจ้าของกิจการร้านค้าวางแนวธุรกิจให้โดนใจลูกค้า มีจุดเด่นแตกต่างคู่แข่งในตลาดให้ได้เสียก่อน ถ้าธุรกิจนั้นๆ ยังไม่ใช่คำตอบของลูกค้า ยังไม่ได้มีข้อเด่นเพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้านได้ แล้วจะเป็นธุรกิจที่สามารถขยายสาขาแฟรนไชส์เปิดร้านต่อเนื่องได้อย่างไร การสร้างแนวทางธุรกิจ หรือวางคอนเซ็ปต์ธุรกิจ จึงเป็นเรื่องสำคัญเหมือนติดกระดุมเสื้อคิดผิดติดผิดตั้งแต่แรก เวลาจะแก้ก็ต้องเริ่มต้นกันใหม่ ดังนั้นแฟรนไชส์ต้องคิดให้ถูกเสียตั้งแต่ตอนเริ่ม

2.ไม่ได้ศึกษาและวิเคราะห์ตลาด

เจ้าของกิจการที่จะสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ต้องศึกษาตลาดก่อนว่าขนาดของตลาดเป็นอย่างไร มีอัตราการเติบโตที่เหมาะสมที่จะเป็นแรงจูงใจให้กับการสร้างแฟรนไชส์หรือไม่ สภาวะของคู่แข่งเป็นอย่างไร ธุรกิจที่เหมาะจะก่อตั้งแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องมีคู่แข่งน้อย มีจุดเด่นและมีความเข้มแข็งของแบรนด์ มีอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าเลข 2 หลัก

14

3.ไม่หาความรู้สร้างระบบแฟรนไชส์

ถือว่าสำคัญมากในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ หากเจ้ากิจการไม่มีความรู้ในเรื่องการสร้างธุรกิจเข้าสู่แฟรนไชส์ อาจไม่สามารถนำพาธุรกิจไปถึงฝั่งฝันได้ เพราะระบบแฟรนไชส์มีความซับซ้อนมากกว่าธุรกิจทั่วไป มีผู้เกี่ยวข้องในระบบมากมายเช่น แฟรนไชส์ซี ซัพพลายเออร์ และ คู่ค้าอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของคู่มือแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ การสนับสนุนแฟรนไชส์ ระบบการเงินและบัญชี ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิต่อเนื่อง ฯลฯ หากผู้ที่จะสร้างแฟรนไชส์ไม่รู้ในเรื่องเหล่านี้ ก็ยากจะทำได้

สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ https://bit.ly/2z5BdGt

4.ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เครื่องหมายการค้าถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของแฟรนไชส์ ดังนั้นธุรกิจของแฟรนไชส์ได้ผ่านการดำเนินงานมาได้ระยะเวลาหนึ่ง เครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและธุรกิจแฟรนไซส์มีชื่อเสียงเป็นที่นิยม นั้นถือว่าได้การยอมรับในระดับหนึ่งจากลูกค้า เป็นสร้างโอกาสให้แฟรนไชส์ซีได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าที่แข็งแรงพอ ทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับในตลาดไปด้วย ดังนั้น หากเจ้ากิจการอยากทำแฟรนไชส์ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อาจโดนคนอื่นจดตัดหน้าก็ได้

13

5.ไม่มีเงินทุนสำหรับการสร้างแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการสร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ต้องรู้ก่อนว่า กระบวนการสร้างแฟรนไชส์ต้องมีเงินหมุนเวียนและค่าใช้จ่าย คุณไม่สามารถที่จะทำธุรกิจของคุณให้เป็นแฟรนไชส์ง่ายๆ ได้ด้วยตัวคุณเอง คุณจำเป็นต้องมีทีมงานที่ปรึกษา หรือทนายที่มีความรู้เรื่องกฎหมาย และความรู้เรื่องธุรกิจแฟรนไชส์เข้ามาช่วยเหลือ อย่างน้อยถ้าคุณไม่รู้เรื่องกฎหมายหรือสัญญาแฟรนไชส์ที่จะร่างขึ้นมา ก็สามารถใช้บริการทีมกฎหมายหรือทนายเขียนร่างสัญญาแฟรนไชส์ให้กับคุณได้

ขณะเดียวกัน กระบวนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ จะต้องมีค่าใช้จ่ายในด้านการสร้างแบรนด์ การทำตลาด การสร้างทีมงาน การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การสร้างสาขาต้นแบบ จ้างที่ปรึกษา อีกทั้ง คุณยังต้องเข้าอบรมธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ มีการนำธุรกิจให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณสมบัติ ตรวจสอบคุณมาตรฐานว่าเหมาะที่จะทำเป็นแฟรนไชส์ได้ไหม ดังนั้น ทุกกระบวนการและขั้นตอนอาจต้องมีค่าใช้จ่ายไม่มากก็น้อยครับ

6.ไม่เข้าใจและตั้งค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม

เจ้าของกิจการที่คิดจะทำแฟรนไชส์ ต้องรู้ว่าธุรกิจที่จะสร้างแฟรนไชส์ จะต้องทำการประเมินค่าใช้จ่ายงบลงทุนของแฟรนไชส์ซีให้รอบด้าน เพื่อที่จะตั้งค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม อย่าลืมว่าแฟรนไชส์ซีเขาแบกต้นทุนหลายด้าน ไม่ต่างจากตอนที่เราตั้งกิจการ ถ้าหากต้นทุนของเขามากจนไม่สามารถบริหารให้คุ้มทุนได้ โอกาสที่เราจะขายแฟรนไชส์ก็ยากขึ้น

15

7.ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านไม่มีศักยภาพพอ

ทำเลที่ตั้งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างธุรกิจเข่าสู่แฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ หากใครที่คิดจะทำแฟรนไชส์ ร้านที่คุณเปิดให้บริการลูกค้าอยู่นั้น จะต้องอยู่ในทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพ คนพลุกพล่าน สัญจรผ่านไปมาสะดวก อยู่ในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น หากเจ้ากิจการร้านค้าคนไหนที่เปิดในทำเลไม่ดี คนใช้บริการน้อย ยอดขายน้อย ไม่ทำกำไรสม่ำเสมอ ก็อย่าพึ่งสร้างแฟรนไชส์ ควรที่จะเปลี่ยนทำเลที่ตั้งเปิดร้านที่มีศักยภาพดีเยี่ยม จนธุรกิจมีกำไร และ มีสาขาเพิ่มอีก 1-2 แห่ง ค่อยสร้างแฟรนไชส์

ทั้งหมดเป็น 7 เหตุผล ทำไมเจ้าของกิจการหลายๆ คน ไม่เหมาะที่จะสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ แม้ว่าสินค้าและบริการตอบโจทย์ตลาด แต่ถ้าเจ้าของกิจการไม่มีความรู้ในเรื่องการสร้างแฟรนไชส์ดีพอ ก็ยากที่จะขยายกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. วางแนวทางธุรกิจไม่โดนใจลูกค้า
  2. ไม่ได้ศึกษาและวิเคราะห์ตลาด
  3. ไม่หาความรู้สร้างระบบแฟรนไชส์
  4. ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  5. ไม่มีเงินทุนสำหรับการสร้างแฟรนไชส์
  6. ไม่เข้าใจและตั้งค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม
  7. ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านไม่มีศักยภาพพอน

อ้างอิงจาก https://bit.ly/374a3fE

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช