7 เหตุผล ทำไมคุณไม่เหมาะกับการขายแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการธุรกิจ และ เจ้าของกิจการร้านค้า ต้องเข้าใจก่อนว่า การขายแฟรนไชส์ แม้จะเป็นวิธีการสร้างและขยายธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ใช่ว่าเจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจทุกคนจะประสบความสำเร็จจากการขายแฟรนไชส์ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ สินค้าและบริการได้รับความนิยม วันหลังมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ก็ขายเลย เพราะเห็นเงินกองอยู่ข้างหน้า

ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างไร บริหารจัดการอย่างไร เจ้าของกิจการที่กำลังมีมุมมองเช่นนี้ แสดงว่าคุณไม่เหมาะจะขายแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอก 7 เหตุผล ทำไมคุณไม่เหมาะ กับการขายแฟรนไชส์

ทำไมคุณไม่เหมาะ

1.ไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์

แม้ว่าสินค้าและบริการของคุณจะขายดิบขายดี ไปเปิดร้านขายที่ไหนก็มีแต่คนรู้จัก แต่ในเมื่อคุณไม่มีความรู้ในเรื่องระบบแฟรนไชส์ ใครเป็นใครมาเกี่ยวข้องบ้าง คุณก็ยังไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์ เพราะเมื่อขายแฟรนไชส์แล้ว แฟรนไชส์ซีเอาแบรนด์หรือตราสินค้าไปทำเสียหาย หรือนำเอาไปดัดแปลง ต่อยอดธุรกิจขึ้นมาใหม่ คุณอาจเสียหาและเจ๊งได้ แต่ถ้าคุณมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ คุณก็จะรู้ว่าวิธีการดูแลและรักษาแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ให้ใครเอาเปรียบว่าทำอย่างไร เช่น สัญญาแฟรนไชส์

2.ไม่มีทักษะการบริหารจัดการ

เจ้าของกิจการที่คิดจะขายแฟรนไชส์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ มีทักษะในด้านการบริการจัดการภายในองค์กร และระบบเครือข่ายแฟรนไชส์ เช่น การจัดเตรียมระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพและรัดกุมให้แก่แฟรนไชส์ซี ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ต้องมีระบบการบริหารการจัดการเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการจ่ายค่าสินค้า ค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายที่ต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ระบบที่ดีจะทำให้แฟรนไชส์ซีทำงานง่ายขึ้นและสามารถควบคุมมาตรฐานให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

18

3.ไม่มีทักษะการขายแฟรนไชส์

เจ้ากิจการที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องมีทักษะการนำเสนอผลิตภัณฑ์ เพื่อขายแฟรนไชส์ให้กับผู้สนใจเปิดร้านแฟรนไชส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้ว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร เพราะอย่าลืมว่าเปิดร้านขายอยู่ดีๆ จะมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายๆ ไม่เช่นนั้น คนก็ทำแฟรนไชส์กันทั้งประเทศ ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์จำเป็นต้องสร้างแพ็กเกจแฟรนไชส์ หรือรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะนำเสนอขายแฟรนไชส์ให้มีความน่าสนใจและดึงดูดนักลงทุน

4.วิเคราะห์ทำเลเปิดร้านไม่เป็น

แม้ว่าร้านของคุณที่เปิดให้บริการอยู่ จะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ถ้าขายแฟรนไชส์ไปแล้ว โดยที่คุณวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านไม่เป็น แนะนำเพียงแค่ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เปิดร้านขายที่ไหนก็ได้ ที่มีพื้นที่ให้ขาย ถือว่าไม่ถูกต้อง ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องวิเคราะห์ทำเลเป็น โดยยึดเอาทำเลแบบที่คุณเปิดร้านให้บริการอยู่เป็นหลัก ในการวิเคราะห์ทำเลถัดไปในการเปิด เช่น ร้านเดิมของคุณได้รับความนิยมในห้าง เมื่อจะขายแฟรนไชส์คุณก็ต้องให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เปิดในห้างเช่นกัน

17

5.ส่งเสริมการขาย-การตลาดไม่เป็น

หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ นอกจากจะวิเคราะห์ทำเลเปิดร้านให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ ยังต้องทำการส่งเสริมการขายและทำการตลาดให้กับผู้ซ้อแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน หากคุณไม่รู้วิธีการส่งเสริมการขายและทำการตลาดให้กับเครือข่ายแฟรนไชส์ซีของคุณ คุณก็ไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ไป ก็อยากให้เจ้าของแฟรนไชส์ช่วยเหลือในด้านการโปรโมทสินค้าและบริการให้ขายได้ง่ายขึ้น เช่น 7-11 จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทุกเดือน โดยที่แฟรนไชส์ซีไม่ต้องทำอะไร เพียงทำตามระบบ

6.ทำงานร่วมกับเครือข่ายแฟรนไชส์ไม่ได้

ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ จะต้องสามารถทำงานร่วมกันกับเครือข่ายแฟรนไชส์ ทั้งแฟรนไชส์ซี ซัพพลายเออร์ คู่ค้าต่างๆ ได้ เพราะเป็นวิธีการการสร้างโอกาสธุรกิจที่ดีให้กับทุกฝ่าย จะช่วยให้เกิดการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งสร้างประโยชน์ฝ่ายเดียว เป็นการรักษาสภาวะสมดุลของการดำรงธุรกิจในระยะยาวได้จริง ทั้งงานซัพพลายเออร์ เช่น การผลิต, การจัดซื้อ, การขนส่ง, การให้ความสนับสนุนแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ หากทำงานร่วมกับเครือข่ายแฟรนไชส์ได้ ก็ไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์

16

7.คัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่เป็น

เจ้าของกิจการไม่ใช่ว่าจะขายแฟรนไชส์ หรือให้สิทธิแฟรนไชส์กับใครก็ได้ที่มีเงินลงทุน เพราะคนที่มีเงินลงทุน อาจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดเพราะทำตามกระแส เห็นคนซื้อแฟรนไชส์ก็เลยอยากซื้อ หลายๆ รายที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ไม่ตั้งใจในการทำธุรกิจ เพราะคิดว่าเป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจมาแล้ว เปิดร้านยังก็ได้มีคนมาซื้อ สุดท้ายก็เจ๊ง สร้างความเสียหาให้กับแบรนด์แฟรนไชส์ ดังนั้น ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ต้องรู้วิธีการในการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ มีความเป็นผู้ประกอบการจริงๆ

หากใครที่คิดจะเป็นแฟรนไชส์ซอร์ ต้องมีความรับผิดชอบมาก แบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จ และ พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองฝ่ายช่วยสร้างความไว้ใจวางใจซึ่งกันและกัน ทำหน้าที่ในฐานะพี่เลี้ยง นับตั้งแต่กระบวนการเริ่มธุรกิจ ต่อเนื่องไปถึงการช่วยให้คำแนะนำช่วยเหลือแฟรนไชส์ซี ในการตัดสินใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ เพื่อเติบโตร่วมกันในระยะยาว


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์
  2. ไม่มีทักษะการบริหารจัดการ
  3. ไม่มีทักษะการขายแฟรนไชส์
  4. วิเคราะห์ทำเลเปิดร้านไม่เป็น
  5. ส่งเสริมการขาย-การตลาดไม่เป็น
  6. ทำงานร่วมกับเครือข่ายแฟรนไชส์ไม่ได้
  7. คัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่เป็น

อ้างอิงจาก https://bit.ly/30ciaWa

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช