7 เทรนด์เปลี่ยนโลกธุรกิจหลังโควิด-19

การระบาด ของไวรัสโควิด-19 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมายมหาศาล ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก และหลายๆ ฝ่ายยังคาดการณ์ว่า หลังจบโควิด-19 ทุกสิ่งทุกอย่างอาจไม่เหมือนเดิม

โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงรูปแบบของการดำเนินธุรกิจจะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ และพฤติกรรมผู้บริโภค จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ถือเป็น “ตัวเร่ง” หลายสิ่งที่จะเกิดในอีก 10 ปีข้างหน้า ให้กลายเป็น New Normal เกิดขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 7 เทรนด์ ที่จะเกิดขึ้นหลังยุคโควิด-19 จากงานวิจัยหัวข้อ Socio-economic trends that will strengthen and shape the future world ดังนี้

1. ธุรกิจดึงฐานการผลิตกลับประเทศ

7 เทรนด์

ภาพจาก bit.ly/3dGzBSd

จากเดิมภาคการผลิตต่างมองหาแหล่งผลิตที่มีค่าแรงถูก อย่างประเทศจีน แต่พอเกิดโรคระบาดขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชนจากแหล่งผลิตถูกตัดขาด เริ่มเห็นปัญหาความเปราะบางในระบบซัพพลายเชน โลกหลังโควิด-19 จึงมองว่าจะต้องย้ายฐานการผลิตกลับมาที่ประเทศตัวเองส่วนหนึ่ง เพราะวันนี้เทคโนโลยีอัตโนมัติช่วยให้การผลิตมีต้นทุนต่ำลง ทำให้ราคาสินค้าไม่แตกต่างกันมาก โดยไม่ต้องพึงพาฐานการผลิตที่มีต้นทุนแรงงานต่ำอีกต่อไป

นอกจากนี้ จะเห็นการต่อรองทางการค้ามากขึ้น เพราะแต่ละประเทศต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจหลังจบโควิด-19 ดังนั้น เศรษฐกิจที่พึงพาการส่งออกเป็นหลัก อย่างประเทศไทย อาจจะเกิดภาวะ “ชะลอตัว” จากการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงและผลจากการต่อรองทางการค้า

2. การลงทุนด้านเทคโนโลยีในภาคแรงงานมากขึ้น

11

ภาพจาก bit.ly/2YTpEfW

บริษัทต่างๆ จะหันมาลงทุนเทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ดังนั้น การใช้พื้นที่สำนักงาน จะเปลี่ยนรูปแบบจากพื้นที่การทำงานส่วนตัว เป็นพื้นที่ทำงานรวม (Common Spaces) เพราะคนสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เห็นได้จากช่วงโควิด-19 ได้เริ่มทำงานที่บ้าน Work from Home กันมาแล้ว ดังนั้น พื้นที่ออฟฟิศ จะเปลี่ยนเป็นพื้นที่ประชุมมากกว่าพื้นที่ทำงานตัวบุคคล ส่งผลต่อการเช่าพื้นที่สำนักงานลดลง และเช่าพื้นที่ระยะสั้น ดังนั้นราคา “ที่ดิน” ในตัวเมืองและรอบเมือง จะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วเหมือนเดิม และมีความแตกต่างลดลงกับพื้นที่นอกเมือง เพราะการทำงานที่บ้าน ทำให้การเดินทางเข้าเมืองลดลง

นอกจากนี้ จะเห็นเทรนด์ Talent Pool คือการจ้างงานข้ามประเทศมากขึ้น จากเดิมที่คนเก่งจะทำงานให้กับบริษัทต่างชาติ แต่ด้วยเทคโนโลยีการทำงานจากที่ไหนก็ได้ คนเก่งๆ จะอยู่ในประเทศของตัวเอง และรับงานจากทั่วโลก แนวโน้มนี้คือคนเก่งจะมีงานทำมากขึ้น แต่คนที่ไม่มีทักษะ ก็จะถูกทิ้งห่างออกไป

3. ระบบการทำงานจะเปลี่ยนเป็นแบบจ็อบ

10

ภาพจาก bit.ly/2WqWXWd

เดิมรูปแบบการทำงานจะทำงานตามตำแหน่งที่รับผิดชอบ ตามเวลาทำงานออฟฟิศ แต่การทำงานแบบ Work from Home ในช่วงโควิด-19 จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าพนักงานจะทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงต่อวันหรือไม่ การทำงานจึงเปลี่ยนรูปแบบเป็น Task-based ทำงานเป็นจ็อบๆ เมื่อเป็นรูปแบบนี้ การทำงานจึงเลือกตามทักษะที่ถนัดไม่ใช่การทำงานตามตำแหน่ง ซึ่งสามารถทำงานข้ามแผนกได้ดี

ดังนั้นรูปแบบการจ้างงานหลังจากนี้จะมีความ “ยืดหยุ่น” มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องจ้างเป็นรายเดือน (Full Time) แต่การปรับเป็น Task-based หรือทำงานเป็นจ็อบ ทำให้ความมั่นคงด้านการเงินแบบทำงานเต็มเวลาอาจลดลง ขณะเดียวกันหากมีความสามารถก็สามารถรับงานได้หลายบริษัท

4. ตำแหน่งงานระดับกลางถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานในปัจจุบัน มีแนวโน้มเป็นรูปแบบจ้างเป็นครั้งๆ หรือ Gig Economy มากขึ้น ตำแหน่งงานระดับกลาง จึงไม่มีความจำเป็นเหมือนในอดีต เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ โดยงานประจำ (รูทีน) มีปริมาณลดลง แต่งานที่ไม่ใช่รูทีนเพิ่มขึ้น ดังนั้นตำแหน่งงานไม่มีทักษะและระดับกลางจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติมากขึ้น และมีโอกาสจะถูกเลิกจ้างได้ ส่วนกลุ่มที่มีทักษะสูงจะมีรายได้มากขึ้นและหางานใหม่ได้ง่ายกว่าทักษะระดับกลาง

5. สถาบันการศึกษาปรับตัวสู่ออนไลน์

9

ภาพจาก bit.ly/2zzKSon

ทั้งรูปแบบการจ้างการที่เปลี่ยนไปตามทักษะ การทำงานรูปแบบ Gig Economy ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาในอดีต ทั้งด้านการเรียนวิชาชีพไปสู่ทักษะตลาดแรงงานต้องการ รวมทั้งรูปแบบการเรียนออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องไปนั่งเรียนในสถานการศึกษาเท่านั้น

6. ธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสังคม

8

ภาพจาก freepik

รูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป ที่จะเกิดช่องว่างรายได้ของคนในสังคมมากขึ้น ดังนั้นจะต้องมีรูปแบบการเก็บภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยจัดเก็บภาษีคนรายได้สูงมากขึ้น และธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เพื่อช่วยสร้างความเท่าเทียมของคนแต่ละกลุ่ม จากการสำรวจผู้บริโภค 77% เห็นว่าธุรกิจต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมไม่ใช่แค่หน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น

7. ปรับเปลี่ยนนโยบายดูแลสังคม

7

ภาพจาก bit.ly/2SYALAm

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้คนวิตกกับเรื่องงานและรายได้ คนกังวลเรื่องการไม่มีงานไม่มีรายได้มากกว่าเรื่องสุขภาพ เพราะหากเสียชีวิตไปแล้วก็ไม่มีอะไรให้กังวล แต่หากยังมีชีวิตอยู่ ก็จำเป็นต้องใช้เงิน เมื่ออนาคตยังไม่แน่นอน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลสังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น การเก็บเงินประกันสังคมมากขึ้นหรือไม่ เพื่อดูแลลูกจ้างหากเกิดปัญหา โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางทางสังคมและฟรีแลนซ์ ที่ถือว่ามีปัญหามากที่สุดจากโควิด-19

นโยบายรัฐบาลอาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเก็บเงินประกันสังคมต่างๆ ใหม่ เพื่อให้ทุกกลุ่มมีหลักประกันในการใช้ชีวิตเพื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต เช่นเดียวกับธนาคารก็ต้องปรับวิธีการปล่อยเงินกู้ให้กลุ่มฟรีแลนซ์ เพื่อให้เข้าถึงเงินทุนในการประกอบอาชีพ และมีโอกาสรอดจากวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จะเห็นได้ว่าวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างมากมายไปทั่วโลก ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คน การใช้ชีวิตอาจไม่เหมือนเดิม เราสามารถเรียนรู้จากไกด์ไลน์เปิดเมืองจากประเทศจีน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากประเทศไทยเปิดเมืองสู่ภาวะปกติ จึงเป็นการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายและโอกาสที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล https://bit.ly/2WRa9Cw

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2T478O9

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช