7 เงื่อนไขเจรจาต่อรองกับแฟรนไชส์ซอร์

เงื่อนไขใน การเจรจาต่อรอง ระหว่างแฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์มีอยู่ 2 เรื่อง คือ เจรจาเรื่องของตัวเลข และกฎระเบียบเงื่อนไข ข้อปฏิบัติ เอกสารสัญญาต่างๆ โดยทั้งสองฝ่ายควรใช้เหตุผลในการเจรจาต่อรอง

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ควรแสดงถึงความอยากได้เพราะอาจตกเป็นรอง หากขออะไรอาจไม่ได้ แต่ถ้าคุณลองเป็นเจ้าสาวที่มีเสน่ห์ มีฟอร์มนิดๆ ก็จะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์รู้สึกว่าคุณมีคุณค่า และอยากได้คุณเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายธุรกิจเดียวกัน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 7 เงื่อนไข เจรจาต่อรองกับแฟรนไชส์ซอร์ ว่ามีอะไรบ้าง

1.ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)

7 เงื่อนไข

เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ก่อนเปิดร้านดำเนินธุรกิจ โดยหลักการคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์มาจากการบวกเพิ่มจาก “ต้นทุน” ค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ต้นทุนเกี่ยวกับกระบวนการหาแฟรนไชส์ซี,ต้นทุนเกี่ยวกับค่าฝึกอบรม, ต้นทุนเกี่ยวกับการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีในระยะเริ่มต้น, ต้นทุนการหาทำเล เป็นต้น ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเจรจาพูดคุยให้ทราบถึงค่าใช้ในส่วนนี้ก่อนว่าจะต้องจ่ายเมื่อไหร่ จ่ายครั้งเดียว หรือผ่อนเป็นงวด

2.ค่า Royalty fee / Marketing Fee

22

เป็นค่าสิทธิต่อเนื่องและค่าทำการตลาดที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรายเดือน หรือรายปี ส่วนมากอยู่ที่ประมาณ 3-5% จากยอดขาย ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องเจรจากันให้เข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายค่าสิทธิเหล่านี้ บางแฟรนไชส์เรียกเก็บค่า Royalty Fee แต่บางแฟรนไชส์ไม่เรียกเก็บ

3.ค่าใช้จ่ายก่อสร้างและตกแต่งร้าน

21

ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้านเป็นเงินทุนอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเตรียมและจัดหาไว้ให้เพียงพอก่อนเปิดร้าน จะเป็นเงินคนละส่วนจาก Franchise Fee และ Royalty Fee ผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องจ่ายเงินส่วนนี้ก่อนหรือหลังตกแต่งเสร้จก็ได้ หรืออาจต้องจ่ายไปพร้อมๆ กับทำการออกแบบตกแต่งร้านไปด้วยจนกว่าจะเสร็จในการซื้ออุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

4.ข้อตกลงหรือสัญญาแฟรนไชส์

23

ก่อนจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียด เพื่อจะได้รู้ว่าแฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติและห้ามปฏิบัติอะไรบ้าง เช่นเดียวกับแฟรนไชส์ซอร์ก็ต้องมีเงื่อนไขในการปฏิบัติระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อป้องกันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งหากฝ่ายไหนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องได้

5.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ

26

ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเป็นในเรื่องการของกาจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบ ค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ค่าจ้างพนักงาน รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนในแต่ละเดือนที่จะต้องเตรียมไว้ใช้ในในยามฉุกเฉิน (3-5 เดือน) ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องสอบถามโดยตรงจากเจ้าของแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีที่เปิดร้านอยู่ก่อนแล้ว

6.เงื่อนไขการจ่ายเงินส่วนต่างๆ

20

ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee), ค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee), ค่าการตลาด (Marketing fee) ตลอดจนค่ามัดจำ หรือค่าประกัน ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะเจรจาให้รู้เรื่องว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ต้องจ่ายวันไหนบ้าง หรือถ้าจ่ายล่าช้าจะมีค่าปรับอะไรหรือไม่ รวมไปถึงหากต่อสัญญาแฟรนไชส์ออกไปอีกต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เป็นต้น

7.ทำเลที่ตั้งในการดำเนินธุรกิจ

25

ในสัญญาแฟรนไชส์จะมีการระบุให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทราบว่าในแต่ละพื้นที่สำหรับเปิดร้านหรือทำธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์จะให้สิทธิใครบ้างในการขยายสาขา ไม่ว่าจะเป็น 1 คน หรือ 2 คน หรือแต่ละพื้นที่สามารถเปิดร้านได้กี่สาขา ระยะห่างกันกี่เมตร กี่กิโลเมตร หากเจ้าของแฟรนไชส์เอารัดเอาเปรียบ โดยอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์คนใหม่ตั้งร้านใกล้คนเดิม แฟรนไชส์ซีในพื้นที่นั้นๆ ที่เปิดร้านอยู่ก่อนแล้ว สามารถฟ้องร้องเจ้าของแฟรนไชส์ได้

นั่นคือ 7 เงื่อนไข ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องเจรจาต่อรองกับเจ้าของแฟรนไชส์ให้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน เพื่อป้องกันการทะเลาะและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)
  2. ค่า Royalty fee / Marketing Fee
  3. ค่าใช้จ่ายก่อสร้างและตกแต่งร้าน
  4. ข้อตกลงหรือสัญญาแฟรนไชส์
  5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
  6. เงื่อนไขการจ่ายเงินส่วนต่างๆ
  7. ทำเลที่ตั้งในการดำเนินธุรกิจ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CKY598

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช