7 วิธีลงทุนอาชีพเสริมไม่ให้โดนหลอก

เป็นเหมือน เคราะห์ซ้ำกรรมซัด กับบางคนที่เงินชักหน้าไม่ถึงหลัง ครั้นจะดิ้นรนหาทางออก หาอาชีพเสริมประเภทรับมาทำที่บ้าน บางทีก็กลายเป็นโดนหลอก บางคนเสียเงินค่าสมัครได้อุปกรณ์มาทำ

แต่พอทำเสร็จจริง เอาไปขาย ก็ถูกกดราคา ตำหนิว่าไม่ได้สเปค สุดท้ายก็เหมือนเสียเงินเปล่า ไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป บางรายหนักกว่าบอกต้องมีการอบรมก่อนถึงจะทำงานได้ คนไม่รู้ก็โอนเงินเป็นค่าอบรมให้ไป สุดท้ายอบรมก็ไม่มี อุปกรณ์ไรก็ไม่ได้ เสียเงินฟรีๆ อีกเช่นกัน

สารพันปัญหาที่คนอยากได้อาชีพเสริมประสบพบเจอจนเริ่มเข็ดขยาดและมองว่าอาชีพเสริมในอินเทอร์เนตนั้นไม่มีจริง เป็นแค่คำหลอกลวงสร้างภาพ เข้าตำราปลาเน่าตัวเดียวก็เหม็นไปทั้งฆ้อง

ทั้งที่ความจริงก็อาจมีบางรายที่เขาทำจริง จ่ายจริง เป็นความหวังของผู้มีรายได้น้อยจริง ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มี 7 วิธีมาแนะนำให้เราได้อาชีพเสริมที่เป็นรายได้เสริมจริงๆ ป้องกันการโดนหลอกได้มากขึ้น

1.หาข้อมูลให้หลากหลายก่อนตัดสินใจ

7 วิธีลงทุนอาชีพเสริมไม่ให้โดนหลอก

ยุคนี้ไม่ใช่เรื่องยากกับการหาข้อมูลของอาชีพเสริมที่เราต้องการจะทำ หลังจากเจออาชีพเสริมที่น่าสนใจในอินเทอร์เนต ให้ลองเข้าไปดูรีวิวที่เกี่ยวข้อง พยายามสอดส่องจากหลายๆเว็บไซต์

ซึ่งหากเป็นอาชีพเสริมที่ทำแล้วดีจริงจะต้องมีรีวิวด้านบวกที่ให้ข้อมูลเอาไว้ หรือจะเลือกสอบถามจากคนใกล้ตัว เพื่อน หรือญาติที่เคยทำอาชีพเสริมดังกล่าวมาก่อน เพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะคติแก่กัน อันเป็นการหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปสู่การตัดสินใจต่อไป

2.โทรไปสอบถามให้แน่ใจ

w4

บางครั้งการหาข้อมูลก็อาจไม่เพียงพอ ซึ่งเราต้องให้ความยุติธรรมด้วยว่าบางทีอาจเป็นคู่แข่งที่เข้ามาให้คอมเมนต์โจมตีแบบเสียๆ หายๆ หรือเกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ลงทุนเอง อีกหนึ่งวิธีที่จะสร้างความมั่นใจได้คือ “โทรไปสอบถาม”

ซึ่งจุดนี้เชื่อว่าแทบทุกคนต้องได้ทำแน่ แต่บางทีการโทรไปสอบถามก็อาจจะได้เพียงแค่คำตอบสั้นๆ ง่าย ๆประเภทว่า “ลองเข้ามาคุยก่อน” หรือ “ถ้าสนใจก็ลองเข้ามาแล้วกัน” แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่ามีตัวตน ในกรณีที่ลองโทรไปแล้วแต่ไม่มีคนรับสาย แนะนำว่าให้ลองหาอาชีพเสริมรายอื่นดูเพราะจะเป็นโอกาสเสี่ยงเกินไปที่จะลงทุนกับคนที่เราไม่เคยแม้แต่จะได้คุย

3.ไปดูให้ถึงบ้านหรือออฟฟิศ

w5

ขั้นต่อมาเพื่อสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น หาข้อมูลแล้ว โทรไปสอบถามแล้ว ทางที่ดี ควรหาโอกาสไปถึงบ้านหรือออฟฟิศ ซึ่งหากเป็นงานที่บริสุทธิใจ และเป็นงานที่ไม่ตั้งใจมาหลอกเอาเงิน ก็ต้องมีสถานที่ทำงาน หรือไปเห็นว่ามีอุปกรณ์ในการทำงานจริง

มีคนมาส่งสินค้าจริง มีคนมาอบรมจริง บางงานจะมีการสอนการทำ และถ้าเป็นอาชีพเสริมที่ดีจริงเราก็ต้องเห็นภาพคนที่มาอบรมบ้าง ซึ่งการที่เราไปดูให้เห็นกับตาอย่างน้อยเราก็รู้ว่าตัวตนของเขาเป็นใคร หน้าตาอย่างไร อาศัยอยู่ที่ไหน สามารถใช้เป็นหลักฐานและข้อมูลอ้างอิงในอนาคตได้

4.ถ่ายวีดีโอขณะสนทนาไว้เป็นหลักฐาน

w6

สิ่งสำคัญของการทำอาชีพเสริมคือเมื่อทำเสร็จแล้วนำสินค้ามาขายกลับ บางทีก็ถูกตำหนิว่าไม่ได้สเปคบ้าง ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นเพื่อให้เรามีหลักฐานในการสนทนาว่าพูดไว้อย่างไร ตกลงกันไว้อย่างไร

เราควรมีการบันทึกเป็นไฟต์วีดีโอในขณะสนทนาเอาไว้ ซึ่งจะได้ใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักฐานในกรณีที่เกิดปัญหา หรือหากเกิดการหลอกลวงขึ้นมาก็ยังใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้อีกด้วย

5.ปรึกษากับกรมแรงงานในการหาอาชีพเสริม

w3

ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดๆ ก็ตาม หลายคนก็ยังมองว่าโอกาสเสี่ยงในการถูกหลอกหรือทำงานแล้วไม่ได้เงินจริงตามที่กล่าวอ้าง อีกหนึ่งหนทางที่จะทำให้เราเชื่อได้ว่าไม่มีการหลอกลวงคือ การปรึกษากับกรมจัดหาแรงงาน

ที่เขามีเจ้าหน้าที่แนะนำสำหรับคนอยากทำอาชีพเสริม ซึ่งกรมแรงงานก็มีคอร์สฝึกอบรมให้คนสนใจสามารถมาเรียนและนำไปสร้างอาชีพให้กับตัวเองได้ที่สำคัญเป็นหน่วยงานของราชการที่เชื่อมั่นได้

6.ลงทุนสร้างอาชีพเสริมด้วยตัวเอง

w2

เหนือสิ่งอื่นใดหากต้องการมีอาชีพเสริมแทนที่จะคิดไปรับงานจากคนอื่นมา ทำไมไม่ลองผลิตงานแฮนด์เมดของตัวเองมาวางขายเอง ซึ่งวิธีการทำไม่ว่าเราจะสนใจเรื่องอะไร ก็สามารถศึกษาวิธีการทำจากอินเทอร์เนตได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะแกะกระจก ถักไหมพรม ทำสบู่แฟนซี พวงกุญแจแฮนด์เมด ฯลฯ

ซึ่งมีหลายคนที่เขาผลิตงานแฮนด์เมดเหล่านี้ขึ้นมาเองและกลายเป็นสินค้าตัวเอง สิ่งสำคัญคือการทำตลาดซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากโดยเฉพาะในยุคออนไลน์ และน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแบบไม่ต้องกลัวใครหลอกด้วย

7.เลือกลงทุนอาชีพเสริมกับระบบแฟรนไชส์

w7

และสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นด้วยตัวเองแต่ต้องการประสบความสำเร็จเร็วขึ้นอาจเลือกการลงทุนกับแฟรนไชส์ที่มีหลายแพคเกจราคาให้เลือก ซึ่งบางแฟรนไชส์เป็นการสอนสูตรให้ผู้สนใจเอาไปต่อยอดเปิดร้านเอง เช่นไก่ทอด หมูทอด ส้มตำ หรือจะเลือกลงทุนแฟรนไชส์ที่เริ่มต้นเพียงแค่หลักพันก็ถือว่าไม่ใช่การลงทุนที่สูงเกินไปอย่างน้อยๆ ก็มีคนที่ช่วยประคับประคองธุรกิจของเราในช่วงเริ่มต้นได้

การลงทุนกับอาชีพเสริมหากมองในอีกแง่มุมก็เหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟหากเราไม่ศึกษาเชื่อเพียงแค่คำพูดด้านเดียวเราก็จะกลายเป็นคนที่ถูกหลอกได้ แต่อาชีพเสริมหลายแห่งก็เป็นธุรกิจที่ดีสร้างประโยชน์ให้ผู้ลงทุนได้จริง เพียงแต่ในฐานะผู้ลงทุนต้องวิเคราะห์ความน่าจะเป็น และความเป็นไปได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง


SMEs Tips

  • หาข้อมูลให้หลากหลายก่อนตัดสินใจ
  • โทรไปสอบถามให้แน่ใจ
  • ไปดูให้ถึงบ้านหรือออฟฟิศ
  • ถ่ายวีดีโอขณะสนทนาไว้เป็นหลักฐาน
  • ปรึกษากับกรมแรงงานในการหาอาชีพเสริม
  • ลงทุนสร้างอาชีพเสริมด้วยตัวเอง
  • เลือกลงทุนอาชีพเสริมกับระบบแฟรนไชส์

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

ภาพจาก https://pixabay.com

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด