7 วิธีบริหาร กระแสเงินสด ให้ SMEs สตรอง!

“ กระแสเงินสด ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน เพราะเปรียบเสมือนกระแสเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ขับเคลื่อนและเติบโตได้ ยิ่งถ้าคุณเป็นธุรกิจ SMEs ยิ่งต้องทำให้เกิดการไหลเวียนเข้าออกตลอดการดำเนินธุรกิจ

ช่วงเวลาไหนที่ธุรกิจขาดเงินหรือมีกระแสเงินสดติดลบ อาจจะมีผลทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก เพราะไม่สามารถซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบมาขาย ไม่สามารถชำระค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ธุรกิจดำเนินการได้ปกติ

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จึงจำเป็นต้องรู้จักการบริหารกระแสเงินสด ให้มีการไหลเวียนเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้ากระแสเงินสดไหลเข้าน้อยกว่ากระแสเงินสดไหลออก รับรองได้ว่าธุรกิจของคุณมีปัญหาแน่ๆ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีวิธีการบริการจัดการกระแสเงินสด มาฝากท่านผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs เพื่อช่วยให้คุณมีเงินสดไว้ใช้ไม่ขาดมือ และช่วยให้ธุรกิจมีสุขภาพที่แข็งแรง มีเลือดไหลเวียนสูบฉีดตลอดเวลา

กระแสเงินสด

1.ตรวจเช็คสถานะเงินสดปัจจุบัน

เพราะจะทำให้คุณรู้ว่าเงินสดในบัญชีบริษัทมีจำนวนเท่าไหร่ เพียงพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ หรือใช้จ่ายด้านอื่นๆ จิปาถะภายในองค์กรหรือไม่

ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จะต้องทำการตรวจเช็คและอัพเดทสมุดบัญชีเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอาจถูกตัดออกจากบัญชี แต่ไม่ได้แสดงในยอดดังกล่าวก็ได้

ee10

2.อย่าคิดว่ากำไรคือเงินสด

ผู้ประกอบการธุรกิจหลายท่านยังคงเข้าใจกันแบบผิดๆ ว่า ตัวเลขของกำไรจะแสดงผลของเงินสดด้วย แต่แท้จริงแล้วกำไรทางบัญชีเกิดจากรายได้ลบค่าใช้จ่าย

โดยที่รายได้เกิดจากการขายสินค้าและส่งมอบสินค้าแล้ว แต่บางครั้งก็ได้กลับมาเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อที่ต้องตามทวงก็ได้ แค่รายได้ก็ไม่ใช่เงินสดทั้งหมดแล้ว

ee8

3.จัดทำงบประมาณเงินสด

ถือเป็นการช่วยให้คุณรู้ว่า ณ ปัจจุบันบริษัทมีเงินสดเท่าไหร่ กระแสเงินสดไหลเข้าเมื่อไหร่ มากน้อยแค่ไหน และมีรายการกระแสเงินไหลออกเมื่อไหร่ ถ้าไหลออกมากกว่าไหลเข้าก็จะแสดงให้คุณเห็นว่ากระแสเงินสดเริ่มที่จะติดลบแล้ว ต้องหาวิธีการดึงเงินสดเข้ามา อาจทวงลูกหนี้ให้เร็วขึ้น

ดังนั้น การจัดทำงบประมาณเงินสดอาจจะต้องทำล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน จะช่วยให้คุณประมาณการได้ว่าช่วงไหนธุรกิจขาดเงิน เพื่อจะได้รับมือทัน

ee11

4.ไม่ผลิตและสต็อกสินค้ามากๆ

ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ควรจะรู้ไว้ว่า การเก็บสินค้าหรือสต็อกสินค้าเอาไว้ทีละมากๆ เป็นการนำเงินสดออกจากกระเป๋าไปจมอยู่กับสินค้า ดังนั้น คุณต้องรู้จักบริหารการผลิตสินค้า

หรือสั่งซื้อสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และต้องหาวิธีการหมุนขายสินค้าออกให้เร็ว เพื่อไม่ให้เงินสดขาดมือ

ee9

5.รู้จักบริหารเครดิตและเร่งรัดลูกหนี้

แม้บางครั้งคนอื่นอาจจะมองคุณว่าหน้าเลือด แต่ก็ต้องทำ มิเช่นนั้นคุณนั่นแหละจะลำบาก

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ควรที่จะมีการพิจารณานโยบายการให้เครดิตกับลูกหนี้การค้า เช่น ชำระสินค้าภายใน 30 วัน หรือ 60 วัน และต้องคำนึงถึงระยะเวลาการเรียกเก็บให้เหมาะสมสอดคล้องกับภาระการชำระเงินของบริษัทด้วย ซึ่งต้องติดตามทวงลูกหนี้การค้าอย่างสม่ำเสมอ

หรือไม่ถ้าอยู่ในช่วงเงินสดขาดมือจริงๆ อาจหาวิธีให้ลูกค้าหรือลูกหนี้ชำระเงินให้เร็วขึ้นก่อนกำหนด เช่น วางเงินมัดจำครึ่งหนึ่งในการจองหรือสั่งซื้อล่วงหน้า การให้ส่วนลดทางการค้าอื่นๆ อาจช่วยให้คุณได้รับเงินจากลูกค้าง่ายขึ้น หรืออาจจะเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าชำระเงินได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ต้องเสียเวลา เช่น การชำระเงินทางออนไลน์ผ่านธนาคาร

ee12

6.หาช่องทางลงทุนเพิ่ม

หากว่าช่วงเวลาไหนที่ธุรกิจของคุณสามารถทำกำไรได้ดี ขายสินค้าได้ และมีกระแสเงินสดไหลเข้ามากระทั่งผลสุทธิเป็นบวก คุณควรที่จะหาช่องทางในการนำเงินสดไปลงทุนเพิ่ม อาจจะลงทุนในสินทรัพย์หรือธุรกิจอื่นๆ ที่ได้ผลตอบแทนเร็ว

เพื่อให้เกิดกระแสเงินสดรับเข้ามาใหม่ สิ่งสำคัญคุณต้องกันเงินสดสำรองไว้ด้วย

ee13

7.รู้จักเจรจาต่อรองเจ้าหนี้

วิธีนี้มีความสำคัญแน่ๆ หากช่วงเวลานั้นบริษัทของคุณไม่มีกระแสเงินสดจริงๆ เพราะการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้การค้าในการเลื่อนชำระหนี้ จะช่วยยืดระยะเวลากระแสเงินสดติดลบได้ แต่คุณต้องระวังเรื่องการเสียเครดิต

นอกจากนี้ ถ้าหากคุณจะซื้อสินค้าต้องดูด้วยว่าเจ้าหนี้การค้ารายไหนให้เครดิตชำระเงินยาวนานกว่า เพราะจะช่วยให้คุณมีระยะเวลาในการหมุนเงินได้มากขึ้น ซึ่งเวลานี้คุณอาจจะนำสินค้าไปขาย ได้เงินมาลงทุน และขายได้อีก

คุณเห็นแล้วว่ากระแสเงินสดเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจ SMEs ต้องเข้าใจ แต่หากไม่เข้าใจคุณก็ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความกังวลและความกลัว

ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือความเสี่ยง การดำเนินธุรกิจหากบริหารกระแสเงินสดได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก อาจช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุน สามารถวางแผนด้านเงินทุน หรือเงินกู้ สินเชื่อ ที่ต้องการจะขอในอนาคตได้

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช