7 ปัจจัยช่วยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) ถือเป็นค่าตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน โดยแฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่าค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิต่างๆ เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เงินที่จ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เพื่อตอบแทนการให้สิทธิแฟรนไชส์แก่แฟรนไชส์ซี ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาแฟรนไชส์นั่นเอง 

มองอีกมุม ถือเป็นเงินที่แฟรนไชส์ซีจ่ายล่วงหน้าให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เพื่อตอบแทนที่แฟรนไชส์ซอร์ยอมให้แฟรนไชส์ซีมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ความรู้ ประสบการณ์ เทคนิค วิธีการในการบริหารจัดการธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ บางคนจึงมองเงินค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ว่า เหมือนกับเงินกินเปล่า เหมือนเงินแปะเจี๊ยะตอนเซ้งบ้านอะไรทำนองนั้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาเจ้าของแฟรนไชส์ หรือคนที่กำลังจะสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ไปทำความรู้จักกับ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ หรือ เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้า มีความสำคัญอย่างไร ที่เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องเรียกเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี ซึ่งการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำมาจากปัจจัยอะไรบ้าง

1.องค์ความรู้

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

องค์ความรู้ถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ เพราะคนที่อยากซื้อแฟรนไชส์ ก็เพราะต้องการอยากได้องค์ความรู้จากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว องค์ความรู้เหล่านี้เจ้าของแฟรนไชส์ได้ผ่านการลองผิดลองถูก โดยที่คนอื่นไม่รู้ หรือทำได้ไม่ดีเท่า ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์ก็จะถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ต่อให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีด้วย

การพัฒนาวิธีการทำงานต่างๆ อาจจะเห็นจากคู่มือการประกอบการ ที่รวบรวมสารพัดวิธีในการดำเนินธุรกิจทุกๆ ด้าน ซึ่งก็คือความรู้ที่จะต้องสะสม จัดเก็บ และรวบรวมไว้อย่างเป็นหมวดหมู่อย่างดี

2.เครื่องหมายการค้า

tt4

คือเงินลงทุนชนิดหนึ่งของธุรกิจ เพราะตราสินค้ากว่าจะได้รับการยอมรับจากลูกค้า มีชื่อติดใจ ติดปากคน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น ต้องลงทุนโฆษณา ทั้งเวลาและเงินทุนทั้งทางตรง ทางอ้อม และตราที่ดีจำนำลูกค้ามาสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้น จึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการสร้างตราสินค้า ที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องมาคิดจากแฟรนไชส์ซี

3.การสร้างองค์กร

ff9

การจัดทีมงาน การบริหารงาน ที่มีระบบต้องมีทีมงานที่เข้ามารับผิดชอบงานแต่ละส่วน การสร้างระบบงานแฟรนไชส์ จะมีทีมงานที่หน่วยงานกลางรับผิดชอบคอยช่วยเหลือร้านค้าในระบบทั้งหมด จึงต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย

4.การอบรม

nn10

ทีมงานของแฟรนไชส์ซอร์ที่มีการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง จะต้องให้การช่วยเหลือด้านการอบรมแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเดินทางไปอบรมในสถานที่ของแฟรนไชส์ซี หรืออบรมที่สำนักงานใหญ่ การสร้างทีมงานเพื่อช่วยเหลือด้านการอบรมแก่แฟรนไชส์ต้องใช้ทั้งเวลา และงบประมาณ ดังนั้น ค่าแฟรนไชส์ที่เรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี ต้องมาจากส่วนนี้ด้วย

5.การเลือกทำเล

ff8

แฟรนไชส์ซอร์ที่ดีต้องคัดเลือกผู้ลงทุนอย่างรอบคอบ จำเป็นต้องมีการเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ทำเลที่ตั้งร้าน มีค่าเดินทาง และตรวจสอบความเป็นไปได้ในการลงทุน ทำการสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก

ตรงนี้จะเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และผู้ที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ด้วย ทำให้เห็นภาพการลงทุนล่วงหน้าที่คาดการณ์ไว้ชัดเจน ดังนั้น การสำรวจที่ดีจะต้องมีการใช้งบประมาณ และเวลาในการจัดทำอย่างรอบคอบเช่นกัน

6.ความช่วยเหลือจนกระทั่งเปิดดำเนินงาน

h15

ถือเป็นส่วนสำคัญของระบบงานแบบแฟรนไชส์ ที่จะต้องมีทีมงานที่พร้อมในการเปิดร้านในพื้นที่ โดยคอยให้ความช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีในระยะแรก และสร้างระบบงานให้ดำเนินไปได้ดี ก่อนที่จะให้แฟรนไชส์ซีรับผิดชอบต่อไป

เรียกได้ว่า แฟรนไชส์ซอร์มีค่าใช้จ่ายในการจัดการทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทาง เพื่อให้ร้านของแฟรนไชส์ซีเปิดได้ตามกำหนดเวลา ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ส่วนหนึ่ง จึงนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย

7.การออกแบบร้านต้นแบบ

ff7

ร้านต้นแบบมีความสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์ เพราะร้านต้นแบบจะเป็นหน้าตาของธุรกิจ ที่จะสื่อออกไปให้ลูกค้าและผู้บริโภคได้เห็น ได้สัมผัส ร้านต้นแบบต้องดึงดูดความสนใจ มีเอกลักษณ์ โดดเด่น บ่งบอกถึงประเภทธุรกิจ

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปจะได้ร้านค้าที่หมืนกันกับร้านต้นแบบหมด เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน ถ้าร้านต้นแบบใหญ่ก็จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์สามารถกำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ในอัตราที่สูงได้ครับ

คุณได้เห็นแล้วว่า การที่จะทำการเปิดร้านแฟรนไชส์สักสาขา แม้แฟรนไชส์ซีเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด แต่อย่าลืมว่าแฟรนไชส์ซอร์ก็มีบทบาทสำคัญในการทำให้ร้านเกิดขึ้น

การเตรียมพร้อมของแฟรนไชส์ซอร์ทั้งระบบการทำงาน แผนงาน บุคลากร จึงเป็นหัวใจของความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์ สิ่งเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นค่าธรรมเนียมจะต้องเก็บจากแฟรนไชส์ซี

ดูตัวอย่างการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ของแบรนด์แฟรนไชส์แต่ละประเภท ที่ถูกจัดรวบรวมเป็นหมวดหมู่ ดูง่าย เข้าใจง่าย ได้ที่ goo.gl/ddMsOq


ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

01565898888

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3dDnCHF
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. องค์ความรู้
  2. เครื่องหมายการค้า
  3. การสร้างองค์กร
  4. การอบรม
  5. การเลือกทำเล
  6. ความช่วยเหลือจนกระทั่งเปิดดำเนินงาน
  7. การออกแบบร้านต้นแบบ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3egFJSz

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช