7 ทฤษฎี ที่ เจ้าของธุรกิจ ต้องรู้เมื่อเข้าสู่ AEC

ทุกคนคงเคยได้ยินบ่อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องอาเซียน (Asean) ใช่ไหมคะ? อาเซียนเป็นการรวมตัวของ 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา และบรูไน แน่นอนว่าหลาย ๆ ด้านกำลังเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่ง ด้านเศรษฐกิจ ก็เช่นกัน แล้วเจ้าของธุรกิจอย่างคุณมีเรื่องอะไรที่จะต้องเตรียมตัวบ้าง ทาง ThaiSMEsCenter.com ได้นำมาฝากคุณแล้วไปทำความเข้าใจกันเลยจ้า

มาทำความรู้จักกับ AEC กันก่อนเลย

AEC มาจาก Asean Economics Community  เป็นหนึ่งในสามเสาของอาเซียน ซึ่งเสานี้มีเพื่อที่จะให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน, มีอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัด ๆ ใน AEC เช่น การลงทุนที่เสรีของประเทศสมาชิก, การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง, เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้ฝีมืออีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี เป็นต้น

 

ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องเตรียมตัวสู่ AEC

เพราะ AEC เป็นสิ่งใหม่ที่ทั้งสิบประเทศในประชาคมอาเซียนกำลังพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ทั้งเรื่องจำนวนประชากร รูปแบบการค้าที่แตกต่างกัน เมื่อเศรษฐกิจของแต่ละประเทศแตกต่างกันจึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อมทั้งด้านการค้า การลงทุน เพื่อปรับตัวเข้าหากันภายในกลุ่มประเทศ
แน่นอนว่าเมื่อมีการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ย่อมเกิดผลกระทบกับหน่วยธุรกิจเล็กใหญ่อย่างแน่นอน ระบบการค้าบางอย่างอาจจะต้องเปลี่ยนไปตามประชาคมอาเซียนมากขึ้น และธุรกิจที่เป็น SME อาจเข้าตลาดไปไม่ทันธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่หลายองค์กรมีการพัฒนาพร้อมที่จะเข้าสู้ประชาคมอาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเหลือก็เพียงแต่บริษัทขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SME ที่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เริ่มเตรียมตัวแล้ว ดังนั้นถ้าอยากให้ธุรกิจของคุณเกิดความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เจ้าของธุรกิจจะต้องเข้าใจหลักของธรรมชาติในการทำธุรกิจให้ดี จึงจะสามารถวางแผนในการทำธุรกิจเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างถูกต้อง

อย่างที่หลายคนรู้ดีว่าอาเซียนเป็นการรวมตัวกันของหลายประเทศ ดังนั้นเสาเศรษฐกิจอย่าง AEC จึงเป็นการทำธุรกิจร่วมกันของหลายประเทศ ที่แตกต่างทั้งวัฒนธรรม หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตของประชากร เจ้าของธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในข้อนี้เสียก่อน จึงจะสามารถวางแผนธุรกิจต่อไปได้

image_1238

 

7 ทฤษฎี ที่ เจ้าของธุรกิจ ต้องรู้เมื่อเข้าสู่ AEC นี้ เป็นการแยกย่อยลักษณะพื้นฐานที่มีทั้งความแตกต่าง และความคลายคลึงกัน ถ้าเจ้าของธุรกิจอย่างคุณพร้อมแล้วมาเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้เลยนะคะ

 

1. คำนึงถึงวัฒนธรรม (Nature Of Cultural Effect)

ข้อแรกเป็นการคำนึงถึงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศใน AEC โดยแบ่งออกเป็น
กลุ่มประเทศศาสนาพุทธ (Buddhism Countries) ปนะกอบด้วย ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์
กลุ่มประเทศศาสนาอิสลาม (Islamic Countries) ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน
กลุ่มประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากจีน (Chinese Tongue) แม้จะมีการผสมผสานความเชื่อหลายด้านแต่จะมีวัฒนธรรมหลักเน้นไปด้านใดด้านหนึ่งอย่างเช่น สิงคโปร์ เวียดนาม
การแบ่งกลุ่มแบบนี้ทำให้เราสามารถมองเห็นถึงการวิถีชีวิต ความเชื่อทางสังคม ได้ชัดเจนขึ้น

 

2.คำนึงถึงพฤติกรรม (Nature Of Business Behavior)

ข้อสองเป็นคำถึงนึงพฤติกรรมการติดต่อทางธุรกิจ ซึ่งแบ่งตามวัฒนธรรมตามข้อแรก คือ
Buddhism จะค่อนข้างช้าค่อยเป็นค่อยไปเน้นที่การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) เป็นหลัก
Islamic จะมีกฎระเบียบเงื่อนไขทางศาสนาค่อนข้างตายตัว
Chinese Tongue จะมีลักษณะการทำธุรกิจเป็นพวกที่บุกเร็วนำเสนอเร็วจบงานเร็วแต่ไม่ชอบลงรายละเอียด เน้นความเร่งด่วนมุ่งไปข้าหน้าเชิงยุทธศาสตร์ มากกว่าการสร้างความสัมพันธ์

 

09_03

3.คำนึงถึงการลงทุนร่วมกัน (Nature Of Business Condition)

ข้อสามคำนึงถึงการลงทุนร่วมกัน เป็นการแบ่งประเภทตามเงื่อนไขการลงทุนเป็น ที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการจัดจำหน่ายของระบบธุรกิจ ซึ่งไม่ได้แยกตามลักษณะวัฒนธรรม แต่จะเกี่ยวข้องกับลักษณะทางการตลาดและโอกาสการลงทุนการค้าของแต่ละประเทศแป็นหลักแทน สามารถแบ่งเป็น 3 แบบ ได้แก่
Selected Market Condition คือ ต้องการเป็นตัวแทนหรือถือสิทธิในพื้นที่นั้นแต่เพียงผู้เดียว
Exclusive Mass Market คือ หากไม่ได้เป็นเจ้าของแค่คนเดียว ก็จะเปิดตลาดเปิดโอกาสให้คนอื่นมาลงทุน
Intensive Market คือ การนิยมทำการตลาดแบบกระจายตัวเยอะ ๆ เช่น การกระจายตัวออกไปตามหัวเมืองหรือที่ต่าง ๆ แต่ขอเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว

 

4.คำนึงถึงการแบ่งส่วนตลาด (Nature Of Market Segmentation)

ข้อที่สี่เป็นการคำนึงถึงการแบ่งส่วนตลาด ซึ่งหมายถึงการมองพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเล่น การใช้ชีวิตประจำวัน, พื้นฐานด้านของครอบครัวของแต่ประเทศ รวมไปถึงวัฒนธรรมด้วย ซึ่งรูปแบบของการแข่งขันในแต่ละตลาดจะมีการแบ่งที่แตกต่างกันเป็นการแยกธรรมชาติของกำลังซื้อของคนในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งจะเป็นข้อสังเกตสำหรับการวางราคา การวางตำแหน่งทางการตลาด การใช้เทคนิคทางการค้า

 

5.คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Nature Of Business Environment)

ข้อที่ห้า คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยวิเคราะห์จากปัจจัยสำคัญสองด้านคือ เรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกลุ่มประชาชน และปัจจัยด้านการเมืองที่มีการให้อิสระเพียงใด ซื่งการกำหนดปัจจัยสองด้านดังนี้

Tech Adoption คือ การนำเทคโนโลยีเข้าใช้
Government + Law คือ รัฐบาลและกฎหมาย

เมื่อแบ่งออกตามเทคโนโลยีและกฎหมายแล้ว จะทำให้ทราบว่าประเทศต่าง ๆ เด่นในด้านใด ยกตัวอย่างเช่น หากเรานำโทรศัพท์เข้าไปขายในประเทศสิงคโปร์ต้องรุ่นใหม่ล่าสุดหรือเป็น High Technology เท่านั้นจึงจะสามารถขายได้ แต่ถ้าเรานำโทรศัพท์แบบ High Technology ไปขายที่เวียดนามผู้บริโภคนั้นอาจจะมีกำลังซื้อไม่เท่า หรือยังตามเทคโนโลยีนั้นไม่ทันสินค้านั้นจึงไม่สามารถขายได้ ความพร้อมทั้งสองด้านจึงสามารถเป็นตัวบ่งชี้การเลือกทำการค้าของแต่ละประเทศได้เช่นกัน

 

09_04

6.คำนึงถึงช่องทางของธุรกิจ (Nature Of Business Channels)

ข้อหกเป็นการคำนึงถึงช่องทางของธุรกิจ ซึ่งต้องรู้ว่าธรรมชาติของธุรกิจนั้นเป็นรูปแบบเชิงค้าปลีก (Retail) หรือ อุตสาหกรรม(Industrial Environment) ยิ่งธุรกิจที่ยกระดับขึ้นไป (High End) มาก ๆ จะต้องใช้วิธีการของการผสมการบริการและรูปแบบค้าปลีก (Service & Retail) เช่น ประเทศสิงคโปร์จะมีธุรกิจประเภทของการผสมการบริการและรูปแบบค้าปลีกกระจายตัวอยู่มาก ส่วนประเทศไทยอาจจะอยู่กลาง ๆ ระหว่างค้าปลีก และอุตสาหกรรม เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น หากคุณทำธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้า คุณต้องคิดว่าจะเปิดร้านจัดจำหน่ายแบบค้าปลีก หรือแบบการค้าเชิงอุตสาหกรรมที่เน้นการขายส่งดีกว่ากัน ซึ่งวิธีการทำงานของทั้ง 2 แบบนี้มีการออกแบบธุรกิจและกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน

 

7.คำนึงถึงธรรมชาติทางสังคม และเศรษฐกิจ (Socio- Economy Nature)

ข้อสุดท้ายเป็นการคำนึงถึงธรรมชาติทางสังคม และเศรษฐกิจ ที่เน้นด้านปากท้อง และเงินในกระเป๋าของคนในพื้นที่นั้น ๆ เป็นหลัก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ว่าประชากรในสังคมนั้นสร้างรายได้จากการทำงานเป็นแบบใด ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะมีการแบ่งเป็น 2 ลักษณะได้แก่
1. Single Job คือกลุ่มคนที่มีอาชีพประจำเพียงอาชีพเดียว มักอยู่ในประเทศที่เจริญ เช่น ประเทศสิงคโปร์
2. Mix Income Job คือ กลุ่มคนที่มีอาชีพหลายอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ยกตัวอย่างเช่น คนไทยเช้าขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างตกเย็นช่วยภรรยาขายข้าวแกง หรือลักษณะของ Family Income ที่คนในครอบครัวต่างมีอาชีพของตนเองและต้องดูแลธุรกิจในครอบครัวไปด้วย
เหตุที่ต้องวิเคราะห์เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงนิสัยการใช้จ่าย และสภาพความเป็นอยู่ ภาพสังคมที่ต้องดิ้นรนรายได้ต่อหัวประชากรต่ำ แต่ในความเป็นจริงอาจมีรายได้เสริมเกินกว่าที่มีการจดบันทึก สภาพตลาดก็จะมีความแตกต่างกัน


ทั้ง 7 ทฤษฎี ที่เจ้าของธุรกิจต้องคำนึงถึงเมื่อเข้าสู่ AEC นี้ เป็นเพียงข้อมูลคราว ๆ ที่เจ้าของธุรกิจควรต้องคำนึงถึง เพราะเมื่อคุณมีธุรกิจเป็นของตัวเองการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก็คือสิ่งสำคัญที่คุณต้องพัฒนาทั้งตัวเองและธุรกิจให้พร้อมรับมือกับ AEC ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้

 

เรียบเรียงโดย ThaiSMEsCenter.com
ข้อมูลจาก อาจารย์พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์