7 ข้อควรรู้! ก่อนคิดเปิดร้านค้าในสนามบิน

ในบรรดา ทำเลค้าขาย คุณว่าที่ไหนโหดหินที่สุด! บางคนบอกห้างสรรพสินค้า บางคนบอกว่าโรงเรียน ในความรู้สึกแท้จริงคิดว่า “สนามบิน” น่าจะโหดหินที่สุดละ! แต่ทำไมหลายคนยังสนใจอยากได้พื้นที่ค้าขายในสนามบินทั้งที่รู้ว่ายากแสนยาก

www.ThaiSMEsCenter.com มี 7 เรื่องที่คนอยากเปิดร้านค้าในสนามบินต้องรู้! หรือถ้ารู้แล้วก็รู้ให้มากขึ้น แล้วตัดสินใจอีกทีทำเลค้าขายในสนามบินยังเหมาะกับธุรกิจของเราหรือไม่

เมื่อต้นปี 2561 มีข่าวเกี่ยวกับราคาอาหารในสนามบินนั้นแพงแสนแพง จนมีคนออกมาโพสต์ว่าราคาค่าเช่าในสนามบินสุวรรณภูมิสูงถึงเดือนละ 1,500,000 บาท ผู้ค้าจะต้องขายของให้ได้อย่างน้อยวันละ 55,000 บาท

จึงจะอยู่ได้ ข่าวนี้ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่าราคาค่าเช่าที่กล่าวอ้างนั้นเป็นจริงหรือไม่ แต่จากปรากฏการณ์นี้ก็ทำให้มีการเทียบราคาอาหารในสนามบินกับข้างนอกซึ่งแน่นอนว่าราคาค่อนข้างสูงกว่า

สนามบิน

ภาพจาก goo.gl/images/avihoH

ยกตัวอย่างในสนามบินดอนเมืองบริเวณโซน MAGIC GARDEN ราคาอาหารเป็นดังนี้ ข้าวมันไก่ทอดและต้ม 80 บาท, ข้าวราดแกง 1 อย่าง 80 บาท, ข้าวราดแกง 3 อย่าง 100 บาท,เกาเหลา 100 บาท, ข้าวกระเพราไก่ไข่เจียว 139 บาท เป็นต้น

ซึ่งหากมองดูที่ราคาจะรู้ได้ว่าสูงกว่าตลาดทั่วไปแน่นอน แต่ทั้งนี้ทาง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่สนามบินก็ได้มีการกำหนดกำหนดเงื่อนไขสัญญาให้ผู้ประกอบการต้องควบคุมราคาสินค้าและค่าบริการไม่ให้สูงเกินกว่าราคาในท้องตลาดประมาณร้อยละ 20 – 25 โดยขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ท่าอากาศยานแต่ละแห่งตั้งอยู่

19

ภาพจาก goo.gl/images/xJ7zJH

คำถามก็คือเมื่อมีการควบคุมราคาแล้วเหตุใดราคาอาหารถึงได้แพงเกินเหตุ คำตอบเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดร้านค้าแต่เพราะสัมปทานเช่าพื้นว่ากันว่ามีผู้ที่ประมูลพื้นที่เหล่านี้ก่อนจะปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้ามาเช่าต่ออีกที

จึงเป็นต้นเหตุให้ราคาอาหารต้องปรับตัวสูงขึ้นด้วยไม่งั้นก็ไม่มีกำไร ซึ่งเมื่อรู้เบื้องต้นดังนี้แล้วลองมาตัดสินใจดูว่าทำเล สนามบินยังเหมาะกับสินค้าที่เราจะขายหรือไม่!

18

ภาพจาก goo.gl/images/KdiL1B

1.ยอมรับค่าเช่าที่แพงมากๆได้

เป็นเรื่องแรงที่ต้องคุยและยอมรับเพราะร้านค้าส่วนใหญ่เจอราคาค่าเช่าสุดโหด เรื่องการบริหารจัดการร้านจึงต้องทำอย่างเป็นระบบไม่เหมือนการขายของในทำเลอื่นๆ ถ้าบริหารไม่ดีต้นทุนยิ่งบานปลายรายได้ยิ่งลดน้อยลง ถ้าเกิดผิดพลาดขาดทุนจะยิ่งเจ็บช้ำมากเป็น 2 เท่า

2.สินค้าต้องมีความพรีเมี่ยม

ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิมีการรองรับผู้โดยสารในแต่ละวันจำนวนมาก ยกตัวอย่างที่สุวรณณภูมิ เมื่อต้นปี 2562 ช่วงตรุษจีนมีผู้ใช้งานรวมกว่า 2.63 ล้านคน เฉลี่ยวันละกว่า 200,000 คน

ในจำนวนนี้มีทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ และด้วยความที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงสินค้าจึงต้องยกระดับความเป็นพรีเมี่ยมทั้งบรรจุภัณฑ์และตัวสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่ากับราคาที่มักจะแพงกว่าปกติ

17

ภาพจาก goo.gl/images/qBcRf7

3.กฏระเบียบในการเช่าพื้นที่

ด้วยความที่เป็นพื้นที่ในการดูแลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีแนวทางในการบริหารจัดการทุกอย่างให้มีกำไรและได้ตั้งเป้าว่าภายในปี 2561 – 2565 จะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20,000 ล้านบาท

ดังนั้น เรื่องกฏระเบียบจึงค่อนข้างเคร่งครัดทั้งการเซ็นสัญญาของผู้ค้า ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องอ่านให้รอบคอบ ว่าสิ่งไหนทำได้สิ่งไหนทำไม่ได้ แล้วหากเกิดจะบอกเลิกสัญญาจะต้องทำแบบไหนอย่างไร มีระยะเวลาอย่างไร เพราะค่าเช่าที่ค่อนข้างแพงจึงต้องใส่ใจรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน

4.คุณภาพในการบริการและการสื่อสารทางภาษา

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562 ว่าจะมีประมาณ 40.5 ล้านคน เพิ่มจากปี 2561ประมาณ 2 ล้านคน แน่นอนว่าช่องทางหลักของการเดินทางคือผ่านมาจากสนามบินทั้งสุวรรณภูมิและดอนเมือง

พ่อค้าแม่ค้าที่จะเปิดร้านในสนามบินต้องเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงการใช้ภาษาในการสื่อสารที่ต้องดี และสามารถพูดได้หลากหลายภาษาเพื่อเพิ่มโอกาสในการค้าขายที่มากขึ้น

16

ภาพจาก goo.gl/images/ogzDxT

5.รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติคือเป้าหมายหลัก

เหตุผลสำคัญที่แม้จะรู้ว่าค่าเช่าในสนามบินแพงแสนแพงแต่สิ่งที่ร้านค้าคาดหวังคือรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าค่าครองชีพในเมืองไทยถูกกว่าประเทศอื่น ทำให้จับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น

แม้บางทีราคาสินค้าในสนามบินสำหรับคนไทยเองจะรู้สึกว่าแพงเกินไปก็ตาม การจะได้มาซึ่งรายได้จากชาวต่างชาติก็ต้องสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่าร้านค้าเป็นมิตรเช่นการใช้รอยยิ้มสยามจะทำให้คนต่างชาติรู้สึกมีความสุขและพอใจจะจ่ายเงินให้เรามากขึ้น

6.โอกาสในการขยายตลาดไปต่างประเทศ

สินค้าในสนามบินต้องมีความเป็นพรีเมี่ยม คุณภาพโดดเด่น ไม่ใช่เพื่อการขายหน้าร้านเท่านั้น อย่าลืมว่าในบรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะมีกลุ่มนักธุรกิจที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย

ซึ่งหากสินค้าเราสวย แปลก แหวกแนว โดนใจ อาจเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อวางจำหน่ายไปยังต่างประเทศอันเป็นประโยชน์ทางอ้อมที่ดีของการขายสินค้าในสนามบิน

15

ภาพจาก goo.gl/images/MuHcH6

7.รู้จักการใช้กลยุทธ์การขายที่น่าสนใจ

กลยุทธ์การขายหมายรวมถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ๆที่น่าสนใจโดยเฉพาะในหมวดหมู่ร้านอาหารที่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนใจ เมนูโดดเด่นของไทยหลายเมนูเป็นที่นิยม แต่ก็ควรมีเมนูที่เฉพาะในแต่ละฤดูกาลเพื่อสร้างความแปลกใหม่และแตกต่าง อันจะเป็นการดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น หรือแม้แต่เครื่องดื่มก็ควรมีสินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่มสมุนไพรทั้งหลายที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก

ซึ่งการขอเช่าพื้นที่ในสนามบินตามทฤษฏีแล้วสามารถยื่นหนังสือขอเช่าพื้นที่ ต่อท่าอากาศยานที่ฝ่ายบริหารและพิธีการบินโดยหนังสือที่ยื่นต้องมีรายละเอียดังนี้ ชื่อ – สกุล และที่อยู่ของผู้ขอ, วัตถุประสงค์ของการเช่าพื้นที่ เพื่ออะไร, ขนาดของพื้นที่ที่จะเช่า, ระยะเวลาในการเช่า

หลังจากนั้นทางท่าอากาศยานจะพิจารณาความเหมาะสม ตามระเบียบจะใช้เวลาในการดำเนินการว่าสามารถเช่าพื้นที่ได้หรือไม่ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

แต่ในความเป็นจริงท่าอากาศยานจะมีการเปิดประมูลพื้นที่เช่าอยู่ต่อเนื่อง พ่อค้าแม่ค้ารายไหนที่มั่นใจในสินค้าและมีกำลังเงินทุนพอสมควร สามารถติดตามข่าวสารการประมูลเพื่อมีโอกาสในการขายสินค้าในสนามบินตามที่ตั้งใจ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/aaDPuA

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด