6 เหตุผลต้องเคลียร์! ถ้าคิดจะเป็น Startup

ปัจจุบันเรื่องโอกาสใน การทำงาน หรือความต้องการมีเงินไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเป็นลูกจ้างหลายคนมองข้ามการเป็นมนุษย์เงินเดือนเป้าหมายในชีวิตของคนยุคนี้อยู่ที่การเป็นนายตัวเองในฐานะของ Startup

แม้ว่าคำว่า Startup จะสวยหรู ดูดี มีอนาคต รวมถึงเป็นการลงทุนเริ่มต้นอาชีพที่คนทั่วโลกให้ความนิยมเป็นอย่างมาก แต่อย่างที่เราเคยกล่าวว่าการเป็นสตาร์ทอัพนั้นใช่ว่าใครแค่คิดแล้วก็จะเริ่มเป็นได้

ในฐานะที่ www.ThaiSMEsCenter.com อยู่ในแวดวงของการลงทุนมานานมองเห็นทิศทางของคำว่าสตาร์ทอัพยังสามารถเติบโตได้อีกมากอย่างที่อเมริกาก็มีเด็กจบใหม่มองหางานทำที่สตาร์ทอัพมากกว่าบริษัทใหญ่ๆอยู่ร้อยละ 30

ตามผลสำรวจของ Accenture เมื่อปี 2016 แต่ทั้งนี้คนที่สนใจเข้ามานั้นก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเคลียร์ตัวเองให้ได้กับ 6 เหตุผลต้องเคลียร์ถ้าคิดจะเป็นสตาร์ทอัพ

1.เงินเดือนและผลประโยชน์ไม่แน่นอน

การทำงาน

หลังจากที่เราได้เป็นสตาร์ทอัพสมใจ ควรต่อรองผลตอบแทนในช่วงที่เราทำงานอยู่ ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่ได้ทุนเยอะ ก็ยิ่งต่อรองผลตอบแทนได้มากขึ้น แล้วแต่ตำแหน่งที่เราสมัครด้วย แต่ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่ต้องควักเงินตัวเองมาลงทุน (Bootstapping) ก็จะต่อรองได้น้อยหน่อย

ส่วนเงินเดือนก็จะเอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่เหมือนบริษัทใหญ่ๆ ไม่มีมาตรฐานว่าเงินเดือนสตาร์ทอัพต้องอยู่ที่เท่าไหร่ ส่วนผลประโยชน์อย่างประกันสุขภาพกับทันตกรรม สตาร์ทอัพหลายเจ้าก็อาจจะไม่ได้มีให้ แต่ถ้าเราอยากทำงานสตาร์ทอัพจริงๆ เราก็มองข้ามเรื่องพวกนี้ไปได้เลย

2.วัฒนธรรมองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

l9

วัฒนธรรมองค์กรที่ว่าก็พัฒนามาจากวิธีที่คนในทีมติดต่อสื่อสารโต้ตอบกับอีกคนว่าแต่ละวันเขาทำกันอย่างไร วิธีการจัดการเรื่องราวต่างๆในสตาร์ทอัพตามปรกติ วิธีที่ทำงานร่วมกัน ถ้าเป็นบริษัทใหญ่

เราแค่เข้าไปทำงานในวัฒนธรรมที่มันมีอยู่แล้ว มีแนวปฏิบัติกันอยู่แล้ว แต่ถ้าสมมุติว่าเราเป็นพนักงาน 20 คนแรกในสตาร์ทอัพ เราจะต้องเป็นคนที่พัฒนาวัฒนธรรมในองค์กรขึ้นมา ยิ่งการที่เราได้งานสตาร์ทอัพเป็นงานแรก ก็ขอให้ระวัง และถ้าสตาร์ทอัพมัอัตราการลาออกสูงละก็ วัฒนธรรมในสตาร์ทอัพจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หาความแน่นอนไม่ได้จริงๆ

3.ไม่มีโครงสร้างตายตัว ไม่มีหัวหน้างานชัดเจน

l8

เด็กจบใหม่ที่เพิ่งทำงานในสตาร์ทอัพอาจจะมาจากสิ่งแวดล้อมในรั้วของการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนและสม่ำเสมอ มีพ่อแม่ มีอาจารย์คอยชี้ทางให้ แต่พอมาทำงานในสตาร์ทอัพ ทุกอย่างจะพลิกหมด เป้าหมายก็ไม่ชัดเจน เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ไม่มีใครมาคุมงาน ไม่มีใครมาประเมินว่าเราทำงานเป็นอย่างไรบ้าง

เราอาจจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่รับมือได้ยาก ยิ่งถ้าเราเป็นเด็กใหม่ไฟแรง ที่คอยหาวิธีปรับปรุงการทำงานของตัวเองอยู่ตลอด สตาร์ทอัพอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่น่าสนใจ เราจะหาทางปรับปรุงการทำงานของตัวเองแบบสะเปะสะปะ ไม่มีอะไรมาวัดชัดเจนว่าเราจะทำงานสำเร็จ

ส่วนใครอยู่ภายใต้คำสั่งใครนั้น สตาร์ทอัพก็ไม่มีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนและเปลี่ยนอยู่ตลอด ไม่มีใครบอกได้ว่าใครต้องทำตามใคร ยิ่งผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพและนักลงทุนกดดันตัวสตาร์ทอัพ ทำให้เป้าหมายเปลี่ยนไปเรื่อยๆเราต้องเตรียมใจที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หาความแน่นอนไม่ได้ด้วย

บางสตาร์ทอัพเราอาจเป็นหัวหน้างานเอง เราอาจจะรู้สึกดีแต่เราก็คงอยากได้ใครสักคนมาช่วยติวช่วยสอนงาน จัดการความสำคัญกับงาน เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเติบโตขึ้นเช่นกัน

4.ถูกกดดันให้ทำงานตลอดเวลา

l11

ถ้าเราทำงานสตาร์ทอัพ เราอาจจะรู้สึกเหมือนกับว่ามีกำหนดต้องปั่นงานส่งทุกอาทิตย์ เราไม่ใช่แค่ทำงานใกล้ชิดกับคนก่อตั้งสตาร์ทอัพที่ไล่ล่าความฝัน แต่เราอาจจะต้องทำงานกับรุ่นพี่ที่อายุมากกว่า

ตราบใดที่เรายังทำงานกับสตาร์ทอัพ เราจะได้ข้อความส่งในอีเมล ในแชทแอปฯตลอดเวลา คอยบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง ทุกคนมอบหมายงานให้เราทำแทน และคาดหวังว่าเราต้องทำให้เสร็จทันเวลา แต่ถ้าเราคิดว่าไม่ได้ “Stand by” ขนาดนั้น แนะนำว่าหางานในองค์กรใหญ่ที่มีตารางเวลาแน่นอนดีกว่า

5.ทรัพยากรในการทำงานมีแค่เพียงน้อยนิด

l13

ไม่เหมือนทำงานกับองค์กรใหญ่ๆที่มีแผนกทรัพยากรบุคคล แผนกเทคโนโลยี แผนกการตลาด ถ้าเราไม่รู้ว่าจะทำงานอย่างไร ลองของบอบรมจากสตาร์ทอัพ เข้าสัมมนา เข้าเวิร์คช็อป ดู Youtube ดูเว็บไซต์ที่สอนแบบฟรีๆ

พัฒนาทักษะเอาเอง เวลาเราทำงานแบบสตาร์ทอัพ ตัวเราเองที่จะกลายเป็นพนักงานทั้งแผนก ตั้งแต่จ้างงาน ทำงานตลาด วางกลยุทธ์ ทำสื่อสังคมออนไลน์ ถ้าคิดว่าเราสามารถเจอกับงานหนักแบบนี้ได้เราก็น่าจะมายืนบนเส้นทางสตาร์ทอัพได้แล้ว

6.การเงินไม่แน่นอน

l10

ในช่วงแรกที่เป็นสตาร์ทอัพอาจได้งานดี เงินดี แต่อีกปีสองปี นักลงทุนเขาถอนทุนขึ้นมา เราอาจจะตั้งตัวไม่ทัน ถ้าเราไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายของสตาร์ทอัพ ไม่มีทักษาะที่จำเป็น สตาร์ทอัพก็พร้อมจะถอนการลงทุนกับเราได้ทันที เพราะเขาไม่อยากเสียเวลากับคนที่ไม่ทำให้สตาร์ทอัพก้าวไปข้างหน้า ถ้าอยากทำงานสตาร์ทอัพก็ทำใจกับเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

จะเห็นได้ว่าสตาร์ทอัพนั้นไม่ใช่เรื่องที่แค่คิดแล้วจะทำได้ทันทียิ่งในยุคที่การแข่งขันสูงมาก นอกจากการเตรียมตัวเตรียมใจในเหตุผลเหล่านี้ก็ต้องมีไอเดียที่เด็ดขาดและเหนือกว่าคู่แข่ง ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเป็นสตาร์ทอัพที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหากว่าเราตั้งใจจะเป็นสตาร์ทอัพที่มีอนาคตก็ต้องมีการวางแผนเบื้องต้นและค่อยๆ ก้าวไปทีละขั้นเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้อย่างแท้จริง

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด