6 ปัญหาของธุรกิจแฟรนไชสไทยที่ต้องแก้ไข

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ระบบแฟรนไชส์ ของไทยในปัจจุบัน นอกจากจะมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ การระบาดโควิด-19 การแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยกันเอง

ยังมาจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์แท้จริง ปัญหาที่เกิดเหล่านี้เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

1.ปัญหาแฟรนไชส์ซีไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์

6 ปัญหา

แฟรนไชส์ไชส์หลายรายไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง โดยเฉพาะในเรื่องของการจ่ายค่าลิขสิทธิ์รายเดือนให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในเรื่องดำเนินธุรกิจแก่แฟรนไชส์ซีได้อย่างเต็มที่

2.ปัญหาการตลาดและแข่งขันกับแฟรนไชส์รายใหญ่

3

ธุรกิจแฟรนไชส์รายใหญ่มีอํานาจต่อรอง และมีกลยุทธ์ธุรกิจที่ชัดเจน มีการวางแผนการตลาดที่พร้อมด้วยข้อมูลข่าวสาร แฟรนไชส์ขนาดใหญ่จะมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองได้รวดเร็วกว่าแฟรนไชส์ขนาดเล็ก จึงส่งผลให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กได้รับผลกระทบ ไม่สามารถสร้างอำนาจต่อรองในตลาดได้ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ถึงกลุ่มเป้าหมายได้ยาก

3.ปัญหาการบริหารจัดการสาขาแฟรนไชส์

4

การวางรูปแบบการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นระบบ ทําให้ระบบการบริหารงานสาขาแฟรนไชส์ผิดพลาด และไม่สามารถควบคุมข้อมูลข่าวสารที่ต้องการได้ ระบบการทํางานจะต้องมีความแน่นอน สามารถวัดผลได้ รวมถึงการควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์การควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการบริหารการเงินบัญชี การบริหารข้อมูลเพื่อการพัฒนาตลาด และการจัดการบุคลากร และ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย และ ประยุกต์ใช้ระบบโลจิสติกส์ได้อย่างลงตัว

4.ปัญหาแนวความคิดธุรกิจที่ไม่ชัดเจน

6

แฟรนไชส์ซีอาจไม่รู้ถึงแนวความคิดในการดําเนินธุรกิจ ว่าจะต้องทําการศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้า โดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแฟรนไชส์ซีคิดแต่เพียงว่า ต้องเน้นตัวผลิตภัณฑ์ หรือ ราคาเป็นหลัก โดยขาดการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า แฟรนไชส์ซอร์ควรเป็นผู้ศึกษาและหาข้อมูลป้อนแก่แฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง

5.ปัญหาของแฟรนไชส์ที่ไม่เป็นระบบ

5

ระบบแฟรนไชส์ในบางครั้งเน้นเพียงการสร้างความเข้าใจในส่วนการปฏิบัติการ แฟรนไชส์ซีอาจไม่มีโอกาสได้พูดคุยหรือพัฒนาแนวความคิดร่วมกันกับแฟรนไชส์ซอร์ ตั้งแต่ระบบการอบรม คู่มือการปฏิบัติงานไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อแฟรนไชส์ซีในการดําเนินธุรกิจ คู่มือแฟรนไชส์ที่ดีเมื่อนําไปปฏิบัติสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ที่สำคัญแฟรนไชส์ซอร์ควรมีที่ปรึกษาให้คําแนะนําแก่แฟรนไชส์ซีเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจเมื่อมีปัญหาระหว่างดําเนินกิจการ

6.ปัญหาด้านกฎหมายและกฎระเบียบ

2

แฟรนไชส์ซอร์หลายรายไม่มีความชัดเจนในรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ ไม่มีผู้รับรองความสําเร็จหรือความมั่นคงในการทําธุรกิจ จัดตั้งขึ้นมาโดยเอกเทศ มีการสร้างข้อบังคับและระเบียบต่างๆ โดยเอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์ อาจส่งผลเสียต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ในอนาคต ดังนั้น แฟรนไชส์ซอร์ที่ดีควรมีการจัดตั้งธุรกิจอย่างถูกต้อง มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์

นั่นคือ 6 ปัญหา ของธุรกิจแฟรนไชสไทยที่ต้องแก้ไข


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ปัญหาแฟรนไชส์ซีไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์
  2. ปัญหาการตลาดและแข่งขันกับแฟรนไชส์รายใหญ่
  3. ปัญหาการบริหารจัดการสาขาแฟรนไชส์
  4. ปัญหาแนวความคิดธุรกิจที่ไม่ชัดเจน
  5. ปัญหาของแฟรนไชส์ที่ไม่เป็นระบบ
  6. ปัญหาด้านกฎหมายและกฎระเบียบ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Hf6d53

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช