5 ไอเดียธุรกิจมีโอกาสล้มเหลวสูงในสิงคโปร์

ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจเหมือนเป็นการเสี่ยงโชค จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว แล้วแต่ว่าธุรกิจที่จะทำนั้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้าในพื้นที่ได้หรือไม่

ถ้าธุรกิจนั้นมีคู่แข่งเยอะ สินค้าไม่ตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคได้ นั่นคือ ความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจนั้นๆ ที่ผู้ประกอบการจะต้องหลีกเลี่ยง และต้องศึกษาตลาดให้ดีก่อนเริ่มต้นธุรกิจ

เช่นเดียวกันกับในสิงคโปร์ ที่หลายคนมองว่าเป็นประเทศที่เจริญทางด้านเศรษฐกิจ จะค้าขายหรือทำธุรกิจอะไรก็ประสบความสำเร็จ แต่อย่าลืมว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ไอเดียการทำธุรกิจบางอย่างพิสูจน์แล้วว่า ล้มเหลวในสิงคโปร์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 5 ไอเดียธุรกิจ ที่ควรหลีกเลี่ยงในสิงคโปร์ เพราะทำแล้วมีโอกาสเจ๊งสูงมาก

1. บริการซักรีดตามร้านทั่วไป

5 ไอเดียธุรกิจ

ภาพจาก honestbee

ธุรกิจบริการซักรีดตามบ้าน หรือเปิดร้านในสิงคโปร์ เริ่มมีให้เห็นน้อยลง เพราะความไม่ซื่อสัตย์หรือบริการไม่ดีของเจ้าของร้านหรือผู้ให้บริการซักรีด ขณะเดียวกัน ยังมีบริการซีกรีดแบบแบบออนดีมานด์อื่น ๆ อีกมากมายในสิงคโปร์ เช่น ล็อคเกอร์ซักรีด WashBox24 และ MyLockerLaundry ซึ่งสิ่งที่บริการดังกล่าวตอบโจทย์ลูกค้า คือ ราคาและที่ตั้ง

หากมีราคาแพงผู้บริโภคจะซักเสื้อผ้าด้วยตัวเอง หรือเลือกซักรีดที่ถูกกว่า ในขณะเดียวกันทำเลที่ตั้งดี เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสะดวกสบาย หากอยู่ใกล้กับบ้านหรือที่ทำงานของลูกค้า โอกาสที่พวกเขาจะได้รับบริการดังกล่าวจะสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเกือบทุกครัวเรือนในสิงคโปร์ มีเครื่องซักผ้าและซักรีดด้วยตัวเอง ยกเว้นในกรณีที่ผ้าต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น การซักแห้ง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าความต้องการบริการซักรีดในสิงคโปร์เริ่มลดลงเรื่อยๆ

2. บริการแชร์จักรยาน และ Scooter

93

ภาพจาก bit.ly/2XTCh87

ที่ผ่านมามีบริษัทแบ่งปันจักรยานหลายแห่งให้บริการในสิงคโปร์ เช่น Gbikes, oBike, Ofo, Mobike, ShareBikeSG แต่ด้วยกฎระเบียบต่างๆ มากมาย ทำให้อุตสาหกรรมบริการดังกล่าวลดลงเรื่อยๆ ลูกค้าใช้บริการน้อยลง แต่ผู้ให้บริการบางรายอย่าง Ofo และ oBike เริ่มระดมเงินทุนหลายล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนและขยายสู่ตลาดอื่นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ เช่น การจอดรถโดยไม่คำนึงถึงผู้ใช้ และการใช้จักรยานในทางที่ผิด ได้ส่งผลต่อการเติบโตของบริษัทเหล่านี้ ขณะที่การแบ่งปัน e-scooter ได้มีการห้าม e-scooters วิ่งบนทางเท้าเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากอันตรายจากความปลอดภัยที่เกิดขึ้น ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจของคนเดินทางเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ส่งอาหาร

ที่สำคัญระบบการขนส่งของสิงคโปร์มีความสะดวกสบยาย มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงขนส่งกันอย่างดี จึงทำให้บริษัทให้บริการแชร์จักรยานและสกู้ดเตอร์ได้รับผลกระทบ อีกทั้งธุรกิจบริการรัถเช่าอื่นๆ ก็ได้รับความนิยม ประสบความสำเร็จดีกว่าอีกด้วย

3. บริการเดลิเวอรี่ส่งอาหาร

92

ภาพจาก Marketing Interactive

ธุรกิจให้บริการส่งอาหารถึงบ้าน หรือเดลิเวอรี่ ในสิงคโปร์มรการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการสั่งซื้ออาหารของผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ แต่ก็มีผู้ให้บริการหลายรายออกจากสนามแข่งขัน เพราะไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ๆ ได้ เช่น GrabFood, Deliveroo, Foodpanda เว้นแต่ว่าบางรายจะมีข้อเสนอที่ไม่เหมือนใคร ถึงกระนั้นมันก็ไม่ง่ายที่อยู่รอดได้

ส่วนบางรายที่อยู่รอด เช่น Fastbee ใช้รูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สั่งอาหารกลางวันผ่านทางแอพมือถือ อาหารเหล่านี้จะถูกส่งไปยังตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ที่กำหนดไว้สำหรับการเก็บสะสมด้วยตนเอง เมนูนี้ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พร้อมด้วยอาหารที่โดดเด่นด้วยบล็อกเกอร์อาหาร เช่น ข้าวแกงกระหรี่จีน และก๋วยเตี๋ยวเนื้อ

แต่ถึงอย่างไร ผู้เล่นหน้าให้ที่ไม่สามารถอยู่รอดได้นั้น นอกจากการแข่งขันที่สูงแล้ว ยังมีเรื่องของการระดมเงินทุน รวมถึงค่าธรรมเนียมในการจัดส่งน้อยเพียง 1.50 ดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของบริษัท ใครลดต้นทุนได้มากก็อยู่รอด

4. บริการรับทำธุระให้แบบตัวต่อตัว

91

ภาพจาก TaskAmigo

เป็นแพลตฟอร์มสำหรับทุกคนในการจ้างหรือหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาทำงานให้ กล่าวคือ จ้างให้คนมาทำงานหรือทำธุระให้นั่นเอง เช่น ทำความสะอาด ซ่อมแซม จัดงานต่างๆ หรือ รับส่งอาหาร เป็นต้น แนวคิดนี้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในสหรัฐอเมริกา และด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดบริการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในสิงคโปร์

โดยบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งใหม่จำนวนมากในสิงคโปร์ ได้ใช้แนวคิดธุรกิจนี้ คือ FlagAHero, TaskAmigo, TaskIsland และ Taskporter เว็บไซต์เหล่านี้อนุญาตให้ผู้ใช้โพสต์หาคนทำงาน โดยจะเสนอราคาสำหรับแต่ละงาน ตามความยากง่ายของงาน แพลตฟอร์มเหล่านี้จะถูกตัดออกจากงานที่ประสบความสำเร็จแต่ละงาน

แต่ปัญหาสำหรับแนวคิดดังกล่าว คือ สิงคโปร์อาจเป็นตลาดที่เล็กเกินไปสำหรับงานเหล่านี้ ที่จะต้องมีตลาดขนาดใหญ่ของลูกค้าที่มีรายได้สูง แต่แรงงานราคาถูก อุปสงค์ยังค่อนข้างต่ำสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนในฐานะผู้รับจ้างทำงานให้  สำหรับงานง่ายๆ ผู้โพสต์โปสเตอร์มักวางราคาต่ำสำหรับงานนั้นๆ สิ่งเหล่านี้จึงไม่ได้สร้างแรงจูงใจทางการเงินใดๆ ให้กับผู้รับจ้างเลย แม้ว่าผู้รับงานจะทำตามงานที่ระบุไว้ ผู้ว่าจ้างก็ไม่สามารถคาดหวังได้ว่า จะได้งานที่เสร็จสมบูรณ์

5. บริการให้เช่า Power bank

90

ภาพจาก PowerNow

สิงคโปร์มีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนที่สูงที่สุดแห่งหนึ่ง และเห็นได้ชัดว่าเราไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากโทรศัพท์ บริษัทPowerNow (ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ NOMO ก่อนที่จะซื้อกิจการ)

เริ่มให้บริการการแชร์ Power bank สำหรับผู้ใช้ทุกคนที่แบตเตอรี่โทรศัพท์ลดต่ำลง แนวคิดธุรกิจแบบจ่ายต่อการใช้งานของพวกเขานั้นง่ายมาก เช่น เช่า power bank (มาพร้อมกับสายชาร์จ) ในราคาเพียง 1 ดอลลาร์ / วัน และสามารถส่งคืนได้ที่สถานที่ใดก็ได้ในช่วงเย็นของวัน

แต่ธุรกิจให้บริการเช่า Power bank ตอบโจทย์ลูกค้าได้หรือไม่ เพราะปกติแล้วหลายคนมี Power bank สำรองอยู่แล้ว และพวกเขาก็พร้อมนำติดตัวออกนอกบ้านด้วย เป็นเรื่องง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถใส่เข้าไปในกระเป๋าได้สะดวก แต่ถ้าใครไม่ได้นำ Power bank ติดตัวมา ก็สามารถยืมจากเพื่อนได้ อีกทั้งปัจจุบันมีเทคโนโลยีเจ๋งๆ ที่ทำให้ Power bank ได้รับความนิยมน้อยลง เช่น การชาร์จเคสโทรศัพท์ และการชาร์จไร้สายของ Huawei หรือ Wireless Power Share ของซัมซุง

ทั้งหมดเป็น 5 แนวคิดธุรกิจที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาหนึ่งของสิงคโปร์ แต่ 5 ธุรกิจเหล่านี้กำลังจะเริ่มเสื่อมคลาย ไม่ได้รับความนิยมลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากการแข่งขันในธุรกิจ กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

SMEs Tips

  1. บริการซักรีดตามร้านทั่วไป
  2. บริการแชร์จักรยาน และ Scooter
  3. บริการเดลิเวอรี่ส่งอาหาร
  4. บริการรับทำธุระให้แบบตัวต่อตัว
  5. บริการให้เช่า Power bank

ข้อมูล https://bit.ly/2XQRHdu

อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/35NYnxE

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช