5 แนวโน้มตลาดดิจิทัลที่ SMEs จำต้องสนใจ!

แน่นอนว่านี่เป็นยุคของสื่อ Social Media หรือ สื่อดิจิทัล ซึ่งสื่อจำพวกนี้นิยมใช้กันเป็นอย่างมากในด้านของทางธุรกิจ ทั้งในการการหาข้อมูล การขายสินค้าออนไลน์ หรือการนิยมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ

โดยไม่ต้องผ่านหน้าร้าน อีกทั้งยังสะดวกสบายและรวดเร็ว จึงทำให้สื่อดิจิทัลพวกนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจากทั่วโลกในปัจจุบัน และนี่คือแนวโน้มการตลาดดิจิทัล 5 ประการ ที่มีความสำคัญสำหรับการประกอบธุรกิจ SMEs ในอนาคต ดังนี้

1. เว็บไซต์ที่มีอิทธิพลอย่าง Instagram

สื่อดิจิทัล

ภาพจาก bit.ly/2ldROkm

แน่นอนล่ะว่า ถ้าพูดถึงการทำธุรกิจออนไลน์ แอพพลิเคชั่นยอดนิยมอย่าง Instagram เอง ก็ขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะเพียงคุณโพสต์สิ่งที่คุณต้องการขายลงไปใน Instagram แล้วติดแฮชแท็กในหัวข้อของสินค้าที่คุณต้องการขายก็พอแล้ว และถ้าหากมีลูกค้ามาสนใจในแบรนด์หรือสินค้าของคุณก็จะติดต่อคุณกลับไป

5

ภาพจาก bit.ly/2mNn7Tw

แน่นอนล่ะว่า เคยมีผู้ประสบความสำเร็จในการขายสินค้าออนไลน์อย่างล้นหลาม และหนึ่งในนั้นก็คือ ไคลี เจนเนอร์ (Kylie Jenner) ที่ตอนนี้กำลังจะกลายเป็น มหาเศรษฐินีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่งของโลกที่รวยด้วยตัวเอง

โดย ไคลี เจนเนอร์ นั้นมียอดผู้ติดตามทาง Instagram จำนวนมากกว่าถึง 113 ล้านคน และทาง Twitter มากกว่า 25.3 ล้านบัญชี และได้รับการจัดอันดับเป็นบุคคลซึ่งมีผู้ติดตามสูงสุดทาง SnapChat ดังนั้นไม่ว่าเธอจะปรากฏตัวกับสินค้าอะไรที่ไหน เมื่อผู้ติดตามเห็นในสื่อของ Social สินค้าเหล่านั้นก็มีโอกาสเพิ่มยอดขายได้อย่างมหาศาล

เห็นได้ชัดว่า มีการเพิ่มขึ้นของตลาด Influencer Marketing หรือก็คือ หากผู้มีอิทธิพลที่พูดอะไร แนะนำสินค้าอะไรออกไปล่ะก็ มักจะส่งผลกระทบถึงสินค้านั้นๆ โดยเฉพาะในการโฆษณาทาง Facebook ที่จะมีประโยคเด่นๆดังๆกล่าวไว้ว่า “Pay to Play”

ซึ่งเป็นรูปแบบในการจ่ายเงินก่อนเข้าเล่นเกม อาจจะเป็นรายเดือนหรือรายปีก็ได้ในราคาที่ต่างกัน และตอนนี้ก็เริ่มที่จะทวีความรุนแรงและแข่งขันกับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมาก หลายๆคนจึงเปลี่ยนไปใช้แอพพลิเคชั่นอย่าง Instagram เพื่อใช้ในการขายของออนไลน์แทน

ซึ่งจะเห็นได้ว่าตอนนี้แอพพลิเคชั่นอย่าง Instagram นั้นกำลังจะมาถึงจุดสูงสุดที่หลายๆคนเคยใช้กัน นอกจากใช้ง่าย สะดวกสบาย และรวดเร็วแล้ว ยังถือว่าเป็นช่องทางการในติดต่อและเป็นโอกาสที่สำคัญของเหล่าผู้คนจำนวนมากที่มาสนใจในสินค้าของเราอีกด้วย

2. Instagram Shopping

4

ภาพจาก bit.ly/2lPY4is

เหมือนดังข้อที่เพิ่งกล่าวมาเมื่อครู่นี้ แน่นอนละว่า นอกจาก Instagram จะเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลในการซื้อขายสินค้าออนไลน์แล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งหัวหัวข้อในการสนทนา ที่พูดถึงหัวข้อในเรื่องของการเก็บรักษาใน Instagram โดยการซื้อของบน Instagram นั้น ได้มีปฏิวัติวิธีการ โดยที่ธุรกิจสามารถขายสินค้าเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ

3

ภาพจาก bit.ly/2ldYG15

ปัจจุบัน Instagram กำลังทำการทดสอบซอฟต์แวร์ที่ทำให้การช็อปปิ้งของแอพพลิเคชั่นอย่าง Instagram นั้น จัดอยู่ในระดับใหม่ทั้งหมด พวกเขากำลังทดลองใช้วิธีการใช้งาน Checkout ซึ่งมีความสามารถในการซื้อให้เสร็จสมบูรณ์โดยไม่ต้องออกจากแอพพลิเคชั่นของ Instagram เพื่อความสะดวกรวดเร็ว รวมถึงการปฏิวัติประสบการณ์ในการช็อปปิ้งสินค้าออนไลน์ในแบบใหม่ๆได้อีกด้วย

3. การขายของแบบ Omni-channel

2

ภาพจาก bit.ly/2le7Iex

“Omni Channel” หมายถึง การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง การเชื่อมโยงช่องทางต่างๆ รวมให้เป็นหนึ่งเดียว โดยผสมผสานช่องทางการสื่อสารเหล่านั้นทั้งแบบ ออน์ไลน์ (Online) และการขายหน้าร้าน (Offline)

เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอย่างชาญฉลาดและไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นระบบ CRM ยุคเศรษฐกิจและสังคม 4.0 ยกตัวอย่างเช่น Call Center และ Contact Center เป็นต้น หรือก็คือ การมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งจากการขายหลายช่องทางให้ลูกค้าอย่างไม่สะดุดนั่นเอง

เรียกได้ว่าเป็นการโปรโมทสินค้าแบบครั้งเดียวจบเพราะ ขึ้นอยู่กับว่า คุณนั้นกำลังคุยอยู่กับใคร และในตอนนี้เองก็มีการใช้ระบบแบบหน้าจอสัมผัสมากกว่า 20 จุด เพื่อใช้เป็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลงลูกค้า ซึ่งการที่เราสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ทุกวันๆอาจจะทำให้เราขาดความตระหนักรู้ในเรื่องของสินค้านั้นๆได้

อีกทั้งในสังคมที่เราอยู่นั้นมีเสียงดังรบกวนอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การมีอยู่ของสินค้าออนไลน์นี้เรียกได้ว่ามีอยู่ได้ ทั่วไป ทุกที่ และทุกแห่งหน และกลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการชีวิตของเราโดยที่เราไม่รู้ตัวไปเสียแล้ว

4. ความต้องการของลูกค้า (Customer Journey)

โดย “Customer Journey” ที่กล่าวมานี้หมายถึง แนวทางของผู้บริโภคที่ตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งในแต่ละประเภทธุรกิจ Customer Journey อาจแตกต่างกันออกไป นับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทำให้การวางแผนทางการตลาดเป็นไปอย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากเราวางแผนใช้ Customer Journey ได้อย่างถูกจุด ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้มากขึ้น

แน่นอนว่า เหล่าผู้คนที่พากันมาซื้อสินค้าของคุณนั้น โดยส่วนใหญ่จะได้ยินหรือได้รับคำแนะนำจากคนที่เขารู้จัก คนที่เขาชื่นชอบ และเชื่อถือในสินค้าของคุณ เขาอาจจะติดต่อสอบถามถึงสินค้าของคุณ และคุณจะต้องมีหน้าที่ที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขา ซึ่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการประกอบธุรกิจและการขยายธุรกิจของคุณเอง

5. Calibra และ Libra มาแรงในปี 2020!

1

ภาพจาก bit.ly/2nnGLpA

แน่นอนว่าในตอนนี้ Calibra และ Libra กำลังเป็นที่สนใจกันอยู่ในขณะนี้ และก็เป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจ และคาดว่า Calibra และ Libra จะสามารถตีตลาดของธุรกิจ E-Commerce ได้

โดยจากข้อมูลของทาง Facebook ได้ระบุเอาไว้ว่า “Calibra” นั้นเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของ Facebook ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ โดยมีเป้าหมายคือ การให้บริการทางการเงินที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงและเข้าร่วมเครือข่าย Libra หรือเรียกกันว่า “สกุลเงินดิจิทัล Libra” ได้ ซึ่งสามารถรับส่งเงินได้ผ่าน Facebook Messenger หรือ WhatsApp ได้ตลอด

โดย Calibra เอง คาดว่าจะมีกำหนดการในการเปิดให้ตัวในปี 2020 ซึ่งสิ่งนี้เองก็อาจจะถือได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาดออนไลน์ที่เรารู้จักกันดี และนี่อาจเป็นแนวโน้มที่คุณจะต้องใส่ใจอย่างใกล้ชิดตลอดช่วงปี 2020 นี้ก็ได้

แน่นอนว่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในอนาคตนี้และแน่นอนเลยล่ะว่า หากคุณไม่อยากที่จะพลาดกระแสข่าวในธุรกิจ คุณสามารถเรียนรู้และเกาะติดกระแสได้ที่เว็บไซต์ของ thaismescenter ได้ตลอด

โดยการคลิกไปที่ www.thaismescenter.com ในหัวข้อของข่าวธุรกิจ SMEs หรือ แฟรนไชส์ เพราะจะมีบทความแนะนำแนวทางธุรกิจเพื่อให้ผู้บริโภคสนใจในสินค้าของคุณ อีกทั้งคุณยังสามารถตามติดกระแสของสินค้านั้นๆได้อีกด้วย เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยล่ะ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

ที่มา