5 เหตุผลบอกว่า เศรษฐกิจดี แต่ทำไมเรายังจนเหมือนเดิม

ตั้งแต่เมื่อปี 2540 ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งจากที่เราเห็นผู้คนมากมายพากันเล่นหุ้นหรือเก็งกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ ใครๆ ก็สามารถเป็นเศรษฐีได้เพียงพริบตา แต่พริบตาเดียวเช่นกันจากมหาเศรษฐีรวยล้นฟ้า กลายเป็นไม่เหลืออะไร บริษัทนับร้อยปิดตัวอย่างรวดเร็ว ยอดคนตกงานเพิ่มสูงขึ้น ทับถมกันให้ตายด้วยปัญหาทางการเมืองที่เข้ามาสอดแทรกซ้ำเติมเข้าไปอีก

ถึงตอนนี้บางคนบอกว่าเศรษฐกิจเราดีขึ้นซึ่งดูจะตรงข้ามกับความรู้สึกชาวบ้านทั่วไป ซึ่งเรื่องนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีเหตุผลน่าสนใจที่ใครๆว่าเศรษฐกิจดีแต่ทำไมชาวบ้านยังลืมตาอ้าปากไม่ได้สักที

1. เศรษฐกิจดี …ขึ้นอยู่กับว่าถามเรื่องนี้กับใคร

 เศรษฐกิจดี

รัฐบาลบอกว่าเศรษฐกิจบ้านเราดีขึ้น คาดการณ์ GDP ปีนี้อยู่ที่ 3.6% นั้นเพราะว่าเราพึ่งพาการส่งออกที่มีผลต่อ GDP มาก ทำให้ใน3เดือนแรกของปีเราเหมือนดูดีขึ้น แต่หลายคนบอกว่าส่งออกดีขึ้นแล้วไง ไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอะไรเลย นั้นเพราะตัวเลขส่งออกที่ดีขึ้นเป็นแค่บางเฉพาะธุรกิจ เช่น ยางและผลิตภัณฑ์ยาง , เครื่องอิเลคทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า การขยายตัวไม่ได้ไปถึงทุกกลุ่มธุรกิจ ภาพรวมจึงไม่มีผลในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ที่รู้สึกว่ากำลังซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย

2.เป็นการดีขึ้นแบบกระจุกตัว

ttt1

คำว่ารวยกระจุก จนกระจาย เป็นคำฮิตในหมู่คนไทยไปโดยปริยาย คนจนก็ตั้งหน้าตั้งตาจนต่อไป ถ้ายังไม่ชัดเจนลองไปดูข้อมูลผลประกอบการบริษัท “ซีพี ออลล์” เจ้าของธุรกิจเซเว่นฯในประเทศไทยระบุว่า ยอดขายเฉลี่ยของร้านเซเว่นฯในไตรมาส 2/60 มีอัตราการเติบโตลดลง 1.0% ด้วยยอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันอยู่ที่ 79,613 บาท ยอดซื้อต่อบิล 67 บาท ลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 1,194 คนขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ก็ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจว่าเป็นแบบ “กระจุกตัว” เหมือนกัน

3.เพราะคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศทำให้เงินหมุนเวียนในประเทศลดลง จริงหรือ!

ttt2

ด้านกระทรวงการคลังมองว่าปัญหาเรื่องกำลังซื้อที่หดหมาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยแห่ไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก และเป็นกลุ่มผู้มีรายได้กลาง-ล่าง เพราะค่าใช้จ่ายในการเที่ยวต่างประเทศถูกลงมาก และถือเป็นค่านิยมหนึ่งของคนไทยในการท่องเที่ยวต่างประเทศโดยพบว่าไตรมาส 2/60 ตัวเลขเม็ดเงินที่คนไทยใช้จ่ายไปกับการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 15% นี่คือหนึ่งเหตุผลที่เชื่อกันว่าทำให้กำลังซื้อในประเทศลดลง

4.ร้านค้าแบบออนไลน์ก็เป็นเหตุผลเรื่องเศรษฐกิจไม่ดีได้เหมือนกัน

ttt3

ร้านค้าออนไลน์ก็กลายมาเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ร้านค้าปลีกดั้งเดิมได้รับผลกระทบเต็มๆ ในมุมนี้ถ้าอ้างอิงจากการปิดตัวของห้างสรรพสินค้าในยุโรปและอเมริกาก็พอจะเข้าใจได้มากขึ้น แม้กระทั่งร้าน Apple ใน Simi Valley Town Center ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ก็ประกาศปิดร้านตั้งแต่ 15 กันยายนที่ผ่านมา ดูจะสอดคล้องกับตัวเลขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่าคนไทยมีการทำธุรกรรมโอนเงินซื้อของเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 16.4 % คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.72แสนล้าน

5.มาตรการกระตุ้นจากภาครัฐที่ไม่ได้เน้นการสร้างอาชีพอย่างถาวร

ttt4

คนไทยชอบสบาย และมาตรการของรัฐที่อัดฉีงบประมาณเข้าโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ เช่น โครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ โครงการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรไร่ละ 800 บาท และโครงการอุดหนุนกองทุนหมู่บ้าน

ทั้งนี้ ในช่วงที่มีโครงการเหล่านี้เข้ามา ก็จะทำให้ร้านขายของชำมีลูกค้ามาซื้อของเพิ่มขึ้นเล็กน้อย รวมถึงโครงการล่าสุดคือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มุ่งให้เกิดการซื้อขายสินค้ามากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีนั้นคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพราะแม้จะช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายได้แต่ในระยะยาวถามว่าประชาชนก็ยังคงมีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายอยู่ดีหากไม่มีการสร้างงานที่แท้จริง

แต่เรื่องเศรษฐกิจที่ดีหรือไม่ดีบางทีก็นานาจิตตังคนที่มองด้านบวกก็คิดอีกอย่าง ส่วนคนที่คิดตรงกันข้ามก็คิดไปอีกแบบ สรุปเอาจากตัวเองว่าหากจะให้เศรษฐกิจโตแบบชัดเจนแล้วประชาชนลืมตาอ้าปากได้มากขึ้น คงต้องรอดูฝีมือของทีมเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่ต้องแสดงผลงานให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด