5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ Go-Jek สตาร์ทอัพพันล้านจากอินโดนีเซีย

ไม่ว่าใครก็ตามหากคิดเรื่อง การลงทุน แล้วก็ย่อมมุ่งหวังที่จะเห็นผลกำไรทางธุรกิจของตัวเอง แต่ปัจจุบันคำว่าธุรกิจไม่ได้ต่อสู้กันที่จำนวนเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องมีไอเดียที่ดีในการเริ่มต้น

คำว่าสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่เราได้ยินจนคุ้นหูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่ว่าอย่างไรคนที่ประสบความสำเร็จกับคำว่าสตาร์ทอัพก็มีอยู่ไม่มาก ทั้งที่ความจริงในตลาดยังเปิดกว้างเพื่อรองรับกับสุดยอดความคิดทั้งหลายที่จะมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนให้ดีขึ้นได้

การลงทุน

www.ThaiSMEsCenter.com มีอีกหนึ่งสตาร์ทอัพจากอินโดนีเซียเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการเรียกรถมอเตอร์ไซด์แบบออนไลน์หรือที่รู้จักกันดีว่า Go-Jek ในเมืองไทยอาจไม่คุ้นหูเพราะเขาคือธุรกิจที่ยังไม่คิดจะเติบโตในต่างประเทศ

แต่สามารถเติบโตได้ดีมากในประเทศของตัวเองและติดอันดับการเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น คือมีมูลค่าในตลาดเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ เราลองมาดู 5 เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้เผื่อว่าจะมีแรงบันดาลใจในการคิดไอเดียใหม่ๆมาสร้างเป็นสตาร์ทอัพระดับโลกกันได้บ้าง

mm34

1.ผู้ก่อตั้ง Go-Jek เป็นหนุ่มไฟแรงมีคุณภาพทางด้านการศึกษาครบถ้วน

ผู้ก่อตั้ง Go-Jek คือ Nadiem Makarim หนุ่มผู้มีดีกรีปริญญาตรีธุรกิจระหว่างประเทศจากบราวน์ ยูนิเวอร์ซิตี้ และเคยทำงานกับบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาข้ามชาติอย่างแมคคินซีย์ นาเดียมได้ตั้ง Young Leaders for Indonesia โครงการเตรียมนักศึกษาปี 3 ให้เข้าสู่โลกการทำงาน การทำโครงการนี้ทำให้เขาได้รับการตอบรับให้ศึกษาต่อที่ Harvard Business School

2.แนวคิดของธุรกิจคือการแก้ปัญหาการจราจรในจาการ์ตา

ก่อนที่ Nadiem จะเรียนจบเขาต้องการทำธุรกิจที่คิดไว้มานานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาคมนาคมในเมืองหลวงจาการ์ตาที่สภาพการจราจรติดขัดอย่างแสนสาหัส ปี 2010 เขาได้ริเริ่มธุรกิจ call center ให้บริการ Ojek หรือมอเตอร์ไซล์รับจ้างมีคนขับเพียง 20 คน

โดยเบื้องต้นบริการเพื่อนฝูง สมาชิกในครอบครัวและคนรู้จัก ธุรกิจเริ่มจากตรงนี้ ก่อนจะพัฒนามาเป็นการให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Go-Jek ซึ่งย่อมาจาก Ojek ทั้งนี้ Ojek ถือกำเนิดขึ้นช่วงกลางทศวรรษ 1990 และได้รับความนิยมอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลยกเลิกการใช้รถสามล้อรับจ้าง

mm35

3.ระยะเวลา 7 ปีขยายธุรกิจไปใน 25 เมืองใหญ่ทั่วอินโดนีเซีย

การเกิดขึ้นของ Go- Jek นับว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค คือทั้งสะดวกในการกดจองหรือเรียกรถผ่านหน้าจอ และการมารับถึงที่ แถมสนนราคาก็สมเหตุสมผล 7 ปีผ่านไป Go-Jek ขยายธุรกิจไปยัง 25 เมืองใหญ่ในอินโดยนีเซีย รวมถึงจาการ์ตา บาหลี และบันดุง กลายเป็นเทคสตาร์ทอัพที่โตเร็วสุดและโดดเด่นสุดในอินโดนีเซีย

4. Go- Jek ไม่ได้มีบริการแค่วินมอเตอร์ไซค์เท่านั้น

นอกจากบริการวินมอเตอร์ไซค์แล้ว Go-Jek ยังขยับขยายไปให้บริการแท็กซี่ ทั้งแท็กซี่ส่วนบุคคลและสังกัดบริษัทบลูเบิร์ดซึ่งสังกัดสหกรณ์แท็กซี่และแตกไลน์ไปยังบริการ อาทิ บริการช้อปปิ้ง บริการส่งของ (เอกสาร อาหาร และอื่น ๆ)

บริการทำความสะอาดบ้าน และบริการนวด ทุกบริการล้วนส่งตรงถึงบ้าน บริการล่าสุดที่ Go-Jek มอบแก่ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียคือ mobile payment หรือบริการชำระค่าบริการต่าง ๆ ทางออนไลน์

mm37

5. Go- Jek ติดอันดับสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงกว่า 3,000 ล้านเหรียญ

แม้ Go-Jek จะเริ่มธุรกิจช้ากว่า Uber หรือ Grab แต่ก็ยังถือว่ามาถูกที่และถูกจังหวะ ทำให้กลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินจากการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คน อนาคตที่ส่อแววสดใสของ Go-Jek ทำให้การระดมทุนจาก venture capital ไม่ใช่เรื่องยากนัก โดย TenCent ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีของจีนเป็นผู้สนับสนุนหลัก กระทั่ง Go-Jek ติดอันดับสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่มีมูลค่าในตลาดราว 3,000 ล้านเหรียญ

ทั้งนี้หากแข่งกันในระดับโลกหรือระดับภูมิภาค Go-Jek อาจไม่โดดเด่นเท่า Uber หรือ Grab แต่ถ้านับเฉพาะอินโดนีเซียซึ่งเป็นตลาดใหญ่ มีประชากร 250 ล้านคน Go-Jek ถือเป็นอันดับหนึ่ง

โดยปัจจุบันมีคนขับรถทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ในสังกัดประมาณ 2.5 แสนคน และบริษัทสามารถครองตลาดอินโดนีเซียมากกว่า 50% โดย 95% เป็นบริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างในการส่งอาหาร ทั้งนี้ Go-Jek ยึดคติ เป็นหัวสุนัขดีกว่าหางราชสีห์ พอใจกับการเป็นรายใหญ่ในบ้านตัวเอง และยังไม่มีแผนจะขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศแต่อย่างใด

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/D5DLtW

ขอบคุณรูปภาพจาก www.facebook.com/gojekindonesia

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด