5 เทคนิคบริหารสต็อกสินค้า เพิ่มยอดขาย เพิ่มกำไร

สำหรับร้านค้าแล้ว ถ้ายิ่งขายดี ก็เท่ากับว่ายิ่งมีกำไรเพิ่มขึ้น บางคนจึงลงทุนไปกับการ โฆษณา โปรโมตสินค้า ไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสร้างโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เพื่อสร้างยอดขายและฐานลูกค้า แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า การบริหารสต็อกสินค้าให้ดี ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งช่วยเพิ่มกำไรได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก หรือร้านค้าต่างๆ ต้องให้ความสำคัญ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาแนะนำ เทคนิคบริหารสต็อกสินค้า ในร้านเพื่อเพิ่มยอดขาย รวมถึงสร้างระบบการบริหารจัดการร้านค้าปลีกให้เป็นมาตรฐาน รับรองว่าสินค้าไม่ขาดแน่นอน

1. สินค้าเข้าก่อน ออกก่อน

เทคนิคบริหารสต็อกสินค้า

ภาพจาก BCO

การใช้ระบบต้นทุนที่เรียกว่า สินค้าที่เข้าก่อน-ออกก่อน การใช้ระบบต้นทุนแบบนี้ เมื่อกิจการหรือร้านค้าของคุณ มีการรับสินค้าเข้ามาขาย พนักงานที่จัดวางสินค้าจะรู้ว่า จะต้องนำสินค้าที่ซื้อมาก่อน ออกมาวางไว้นอกสุด เพราะลูกค้าหรือพนักงานจะได้หยิบออกมาใช้ก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมคุณภาพ หรือหมดอายุก่อนการขาย

2. แยกประเภทสินค้าขายดี ขายไม่ดี

ผู้ประกอบการควรจะทำการแยกประเภทสินค้าขายดี และขายออกช้า โดยให้สินค้าขายดี หรือสินค้าโปรโมชั่น อยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้สะดวกในการขายและการนับสต็อกสินค้า

3. ตรวจเช็คสต็อกสินค้าเป็นประจำ

bno1

ภาพจาก นพรัตน์ 20

อีกวิธีที่ทำได้ง่ายๆ คือ การกำหนดวันเช็คสต็อกสินค้า เช่น กำหนดให้มีการเช็คสินค้าภายในร้าน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ เดือนละ 1 ครั้ง การทำเช่นนี้ จะช่วยให้รู้ว่าสินค้าแต่ละชนิด มีอัตราความเร็วในการขายอย่างไร หมดเร็วแค่ไหน ต้องสั่งเพิ่มเมื่อสินค้าเหลือเท่าใด เพราะการขาดสินค้าเมื่อลูกค้าต้องการทำให้เสียโอกาสในการขายไป และอาจทำให้เสียลูกค้าประจำไปเลยก็ได้

4. จัดระเบียบสถานที่เก็บสินค้า

จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า เช่น กำหนดสถานที่เก็บสินค้าทุกชิ้น เช่น สถานที่ตั้งคลังสินค้า เลขที่ชั้นวางสินค้า, ทำป้ายกำกับชั้นวาง โดยมีเลขที่ชั้นวางสินค้ากำกับในทุกชั้น, ทำรายการสินค้าทั้งหมดที่วางอยู่ในชั้นวางสินค้าแต่ละชั้น พร้อมบอกจำนวนชิ้นทั้งหมด, สินค้าไหนอยู่ในชั้นมานานแล้ว ควรจัดให้อยู่ด้านหน้า เพื่อขายสินค้าล็อตนั้นออกไปให้หมดก่อน

นอกจากนี้ หากมีการนำสินค้าออกจากชั้นวาง ให้ทำการหักจำนวนสินค้าออกจากรายการที่หน้าชั้นวาง และหักจากรายการสินค้าที่บันทึกไว้ เพื่อการตรวจสอบสต็อกสินค้าในภายหลัง

5. คำนวณต้นทุนสินค้าก่อนขาย

bno2

ภาพจาก โยจิ ฮาร์ดแวร์

ในกรณีที่ร้านค้าของคุณไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง (ซื้อมาขายไป) ต้นทุนขายก็จะเป็นราคาต้นทุน ที่บริษัทได้จ่ายไป เพื่อให้ได้สินค้ามา คุณจะต้องรู้ว่าสินค้าแต่ละล็อตมีต้นทุนเท่าไร เท่าหรือไม่เท่ากัน อย่างไร ถ้าขายในราคาที่ตั้งไว้ จะได้กำไรเท่าไหร่ มากน้อยแค่ไหน ทำให้ตั้งราคาได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าต้องขายอะไรจึงจะได้กำไรที่คุ้มค่ามากที่สุด

ได้เห็นแล้วว่า หลักการบริหารสต็อกในร้านค้ามีอะไรบ้าง ผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือเปิดร้าน รวมถึงขยายสาขาในระบบแฟรนไชส์ ควรที่จะรู้ว่าถ้า “สต็อกสินค้ามากไปเงินจม สต็อกน้อยไปของไม่พอขาย” เชื่อว่าร้านค้าปลีกหลายๆ ร้านคงเคยเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน หวังว่าวิธีการข้างต้น น่าจะเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกเป็นอย่างดี


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

bno3

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

SMEs Tips

  1. สินค้าเข้าก่อน ออกก่อน
  2. แยกประเภทสินค้าขายดี ขายไม่ดี
  3. ตรวจเช็คสต็อกสินค้าเป็นประจำ
  4. จัดระเบียบสถานที่เก็บสินค้า
  5. คำนวณต้นทุนสินค้าก่อนขาย

 

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2xMSGCm

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช