5 สิ่งที่ไม่ควรทำในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี

ขึ้นปี 2563 หลายคนมองว่า เศรษฐกิจไทย จะย่ำแย่มากกว่าปี 2562 ด้วยซ้ำไป มีทั้งโรงงานทยอยปิดกิจการ คนตกงาน นักศึกษาหางานทำไม่ได้หลายแสนคน การส่งออกชะลอตัวลง

รวมถึงหนี้ครัวเรือนของคนไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง พ่อค้าแม่ค้าหลายๆ คนขายของไม่ได้ ประชาชนรัดเข็มขัดในการใช้จ่าย แล้วในช่วงสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี เราจะทำอะไรบ้าง หรือเราไม่ควรทำอะไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำ ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี

1. อย่าค้ำประกันให้คนอื่น

5 สิ่งที่ไม่ควรทำ

ภาพจาก bit.ly/2RcIyKr

อย่าว่าแต่ในยามเศรษฐกิจไม่ดีเลย บางคนตั้งปณิธานไว้จะรักกันแค่ไหน ก็จะไม่ค้ำประกันให้ใครเด็ดขาด เพราะหลายคนต้องเจอบทเรียน บาดเจ็บ ชีวิตสะดุดจากการค้ำประกันให้ผู้อื่น เข้าข่ายเนื้อไม่ได้กินแต่เอากระดูกมาแขวนคอ

ดังนั้นควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม จงอย่าค้ำประกันให้ใคร ส่วนใครที่จำเป็นจริงๆ ก็อ่านดูสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็นค้ำประกัน โดยทั่วไปจะแบ่งความรับผิดชอบหนี้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. รับผิดชอบหนี้ไม่จำกัดจำนวน เสมือนเป็นลูกหนี้ทุกประการ ต้น-ดอก หรือหนี้อื่นๆ รับหมด
  2. จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึงรับผิดชอบหนี้ไม่ทั้งหมดของหนี้สิน รับผิดชอบเพียงบางส่วนเท่านั้น

พิจารณาให้ดี อย่าเซ็นให้ใครอย่างเด็ดขาด แม้ว่าอดีตหรือวันนี้ เขาอาจจะยังไม่เคยมีประวัติ หรือมีปัญหามาก่อน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอนาคตเขาจะไม่มีวันเบี้ยวหนี้

2. ชะลอการลงทุนเพิ่มในธุรกิจ

4

ภาพจาก bit.ly/2G60S1E

ในยามเศรษฐกิจไม่ดี การทำธุรกิจหรือการค้าการขาย ยอดขายและผลกำไรย่อมลดลง ผู้ประกอบการหลายรายต่างคิดหาหนทางที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เพื่อดึงยอดขายและกำไรกลับมา

หนึ่งในวิธีการเพิ่มกำไรคือ การลงทุนเพิ่ม จะเป็นการเปิดสาขาใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย หรืออย่างอื่นที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ตรงนี้ขอบอกว่าพักไว้ก่อนเพราะอาจเป็นความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง หากการลงทุนเพิ่มต้องกู้เงินเพิ่มหนี้ ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพราะระยะเวลาการคุ้มทุนในยามเศรษฐกิจถดถอยย่อมมีมากขึ้น

หากต้องการเพิ่มยอดขายให้กลับมา อาจเริ่มที่การปรับลดรายจ่าย หรือถ้าเป็นคนค้าขายอาจขยายเวลาการปิด-เปิดออกไป สรุปปรับที่พฤติกรรมหรือเพิ่มโปรโมชั่นดีกว่าลงทุนเพิ่ม เพราะนั่นคือการเพิ่มความเสี่ยง

3. ไม่นำเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้โดยไม่จำเป็น

3

ภาพจาก bit.ly/2RDtMeK

เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่จะสามารถนำมาเยียวยาความฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นตกงาน ประสบอุบัติเหตุ ธุรกิจประสบปัญหา ฯลฯ บางคนไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินหรือธุรกิจ

หรืออาจยังไม่รู้สึกว่า ตนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ชะล่าใจ ควักเงินสำรองฉุกเฉินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น จนสุดท้ายในยามที่เศรษฐกิจไม่ดีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในชีวิต อาจจะไม่มีเงินรองรังใช้ในยามฉุกเฉินได้

4. ไม่จำเป็นอย่าสร้างหนี้ใหม่เพิ่ม

2

ภาพจาก bit.ly/2v9jN9y

ไม่ว่าคุณจะวางแผนเปลี่ยนรถคันใหม่ หรือซื้อบ้านหลังที่สองไว้ตากอากาศ เพราะตอนเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ คุณควรถนอมเนื้อถนอมตัว รัดเข็มขัด ระวังการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อย่าเพิ่งสร้างหนี้ใหม่ให้เป็นภาระตนเอง จะได้ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบห่วงหน้าพะวงหลัง สร้างความไม่สบายใจเสียเปล่าๆ

5. อย่าลงทุนหวังรวยเร็วโดยไม่มีความรู้

1

ภาพจาก Rabbit Finance

คนที่ตั้งหน้าตั้งตาจะหาเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำ โดยนำความโลภเป็นที่ตั้ง อาจนำพาตัวเองไปลงทุนในช่องทางที่หวือหวา โดยไม่มีความรู้ เช่น พวกหุ้นปั่นทั้งหลาย ช่องทางการลงทุนที่ไม่ชอบมาพากล เช่น พวกแชร์ลูกโซ่ หรือการหลอกให้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่อาจไม่มีอยู่จริงโดยมีผลตอบแทนสูงเย้ายวนใจผู้ลงทุน

ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ และเป็นกอบเป็นกำในระยะเวลาอันรวดเร็ว ที่สำคัญอย่าลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่มีความรู้เป็นที่ดีที่สุด เพราะโอกาสผิดพลาดมีสูง เช่นเดียวกับการเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวในยามเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้

หากคุณเห็นลู่ทางก็พอได้เงินเร็ว ขอให้เป็นธุรกิจที่คุณรู้จริง และอย่าเริ่มต้นด้วยการทุ่มเงินลงทุนมูลค่าสูงตั้งแต่แรก ให้เผื่อเหลือเผื่อขาดและเตรียมตัวเตรียมใจกับความผิดพลาด ที่อาจจะเกิดขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอเอาไว้ด้วย ลองวิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณได้รับผลกระทบอย่าไรในสภาวะเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

SMEs Tips

  1. อย่าค้ำประกันให้คนอื่น
  2. ชะลอการลงทุนเพิ่มในธุรกิจ
  3. ไม่นำเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้โดยไม่จำเป็น
  4. ไม่จำเป็นอย่าสร้างหนี้ใหม่เพิ่ม
  5. อย่าลงทุนหวังรวยเร็วโดยไม่มีความรู้

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/30HE55S

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช