5 สตาร์ทอัพใน CLMV+ มาเลเซีย ! เดี๋ยวนี้ไม่ธรรมดา

พูดถึงแถบอาเซียนที่มีประชากรรวมกันไม่ต่ำกว่า 600 ล้านคน แม้จะเคยได้ชื่อว่ามีหลายประเทศที่พัฒนาการล่าช้าบ้างแต่ในยุคนี้ทุกประเทศเริ่มเปิดเสรีมากขึ้น และมีอัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีมากกว่า 30 % ของประชากรรวมถึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆประเทศไทยเองที่ดูเหมือนจะมั่นใจว่าเดินอยู่แนวหน้าแต่ถ้ามัวแต่มั่นใจและไม่หันไปมองที่อื่นบ้างความภูมิใจนั้นอาจกลายเป็นอดีต ลองมาดูข้อมูลของบรรดาสตาร์ทอัพขั้นเทพในกลุ่ม CLMV รวมถึงอีกประเทศอย่าง มาเลเซีย ที่ www.ThaiSMEsCenter.com นำมาเสนอ ขอบอกก่อนเลยว่าเดี๋ยวนี้เขาไม่ธรรมดากันแล้ว

1. Technoholic จากประเทศเมียนมาร์

39

ภาพจาก www.geekgirlsmyanmar.com

Technoholic เป็นสตาร์ทอัพในเมียนมาร์ที่ก่อตั้งโดยสองพี่น้องตระกูล Geek ซึ่งเคยผ่านงานการเป็นฟรีแลนด์มาหลายปีและมีผลงานการก่อตั้ง www.geekgirlsmyanmar.com สตาร์ทอัพอย่าง Technoholic ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 6 สตาร์ทอัพที่ผ่านเข้าโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการครั้งแรกของเมียนมาร์ จัดโดย Phandeeyar, incubation labในย่างกุ้ง รูปแบบของ Technoholic คือการเป็นฐานข้อมูลอำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในฐานะที่ปรึกษาด้านไอที เพื่อให้บริษัทเหล่านี้ไปถึงจุดหมายทางธุรกิจด้วยการวางแผนและการดำเนินการอย่างเป็นระบบ

2. Pathmazing สตาร์ทอัพระบบอี-คอมเมิร์ซ (กัมพูชา)

40

ภาพจาก www.facebook.com/pathmazing

ผู้ก่อตั้งสตาร์อัพ Pathmazing นี้คือ Steven Path ผู้ที่ใช้ประสบการณ์ที่เคยทำงานด้านไอทีในสหรัฐมากว่า 33 ปี ผลงานของ Pathmazing ในการช่วยสร้างธุรกิจที่เด่นชัดได้แก่การสร้างสรรค์ให้ FanNow กลายเป็นแอพพลิเคชั่นขายตั๋วภาพยนตร์สุดฮิตในกัมพูชา หรือการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Tesjor สำหรับการสั่งซื้ออาหารและการใช้สิทธิคูปองส่วนลดต่างๆ

นอกจากนี้ Pathmazing ยังพัฒนาระบบการชำระเงินแบบดิจิตอลรายแรกๆในกัมพูชาที่มีเครือข่ายร้านอาหารกว่า 85 แห่งเข้าร่วม สำนักงานใหญ่ของ Pathmazing นอกจากกัมพูชายังอยู่ใน มาเลเซีย ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ด้วย

3. VNG Corporation สตาร์ทอัพเกมและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (เวียดนาม)

41

ภาพจาก www.facebook.com/VNGCorporation.Page

VNG Corporation เป็นบริษัทที่ผลิตเกี่ยวกับเกม และบริการออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนาม เริ่มต้นจากการซื้อลิขสิทธิ์คิงซอฟต์ (Kingsoft) ของบริษัทจีนในการนำเข้าเกมส์ออนไลน์ที่หลากหลายหลังจากที่เปิดตัวได้เพียง 1 เดือนในยุคเริ่มต้น แต่ได้สร้างประวัติการณ์ด้วยผู้เล่นกว่า 2 หมื่นคนในเวลานั้น และได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นอื่นๆอีกมากมายเช่น Zing MP3, Zing News, Zing Chat และ Zing Me

รวมถึงเว็บไซต์อย่าง จากนั้นได้ต่อยอดธุรกิจจากบริษัทที่ผลิตแค่เกม เป็นบริษัทที่ผลิตแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายมากขึ้น เช่น แอพพลิเคชั่นตระกูล Zing ได้แก่ และเว็บไซต์ Zing.vn ที่ได้รับความนิยมมากในเวียดนาม มีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์แล้วกว่า 1,000 ล้านคน ถือเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่ระดมทุนได้มากกว่า 3 หมื่นล้านบาทและล่าสุดได้ยินว่ากำลังจะพาธุรกิจตัวเองเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯด้วย

4. Bizgital สตาร์ทอัพการค้าจากประเทศลาว

42

ภาพจาก www.facebook.com/BIZGITAL

Bizgital ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 โดย มังกรเพชร ไชยสาน) , เจตนา เวียงสาลี และ สุลิโย วงดาลา Bizgital แต่เดิมไม่ได้เป็นบริษัทด้านธุรกิจเต็มตัวอย่างปัจจุบัน แต่เริ่มจากทำโปรเจกต์เล็กๆ อย่างแอพพลิเคชั่นสถานที่ท่องเที่ยวลาว ได้เข้าร่วมแข่งขัน Startup Weekend ของลาวและได้ที่ 1 หลังจากนั้นก็ทำผลงานร่วมกันอีกหลายอย่างจนรวมตัวกันเป็น Bizgital

บริการของ Bizgital มีสองส่วนหลัก คือ Tech solution และ Digital Marketing Digital Marketing แต่ผลงานที่สร้างชื่อให้ Bizgital เป็นที่รู้จักคือ ร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรมของลาว ทำแอพพลิเคชั่นอ่านกฎหมายของลาวที่ตัวแอพสามารถแปลกฎหมายลาวเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นลาวได้ และแจ้งเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย

5. แคทช์แดทบัส(CatchThatBus) (มาเลเซีย)

43

ภาพจาก www.facebook.com/CatchThatBus

สตาร์ทอัพจาก มาเลเซีย รายนี้มีนายอาชวิน จียะปาลาสิงกัม เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง รูปแบบการทำงานของ CatchThatBus คือเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่เพียงแค่เราล็อกอินบนเว็บไซต์ ก็สามารถจองและซื้อตั๋วรถบัสผ่านแพลตฟอร์มได้ รวมถึงยังใช้เช่ารถบัส เพียงแค่กรอกข้อมูลติดต่อ จำนวนผู้โดยสาร และประเภทของบริการที่ต้องการรถบัสเท่านั้น

ปัจจุบันแพลตฟอร์มนี้มียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 50,000 ครั้ง จุดเด่นอีกอย่างที่น่าสนใจคือการเลือกที่นั่งเองได้และยังชำระเงินแบบออนไลน์ได้ด้วย ปัจจุบัน CatchThatBus สามารถให้บริการได้ใน 2 ประเทศคือ มาเลเซีย และสิงคโปร์ และข้อมูลจากเว็บไซต์ของ CatchThatBus เองระบุว่าระดมทุนในการทำธุรกิจได้ประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์ (ราว 50 ล้านบาท) จากผู้ร่วมลงทุน 3 รายได้แก่บริษัท 500 สตาร์ทอัพส์ ,บริษัทจังเกิล เวนเจอร์ส และมูลนิธิวิจัยแห่งชาติสิงคโปร์

หากพูดถึงในเชิงปริมาณประเทศไทยก็น่าจะได้เปรียบเรื่องสตาร์ทอัพเหล่านี้แต่หลายประเทศในอาเซียนเดี๋ยวนี้ก็แรงขึ้นมามากโดยเฉพาะในเวียดนามที่น่าสนใจเป็นพิเศษหากเราพัฒนาล่าช้าอีกหน่อยคงต้องก้าวตามหลังเพื่อนบ้านแน่ๆ

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด