5 วิธีจองล็อคขายประจำ ตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์

การเป็น ตลาดยอดนิยม ก็ทำให้พ่อค้าแม่ค้าต่างสนใจที่จะมาจับจองพื้นที่ขายสินค้า นักศึกษาจบใหม่บางคนยังไม่รู้ว่าจะทำงานอะไรดี บางทีได้เดินมาเจอตลาดนัดที่คนพลุกพล่านก็อาจเกิดไอเดียพ่อค้าที่ดีกว่าการทำงานประจำ

แต่ทั้งนี้ตลาดที่คนนิยมย่อมมีคนมุ่งหวังในการจับจองล็อคขายสินค้า บางครั้งก็เป็นการยากที่จะได้สิทธิในการขายของในพื้นที่ตลาดเหล่านั้น

โดยเฉพาะกับตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์ที่ถือเป็นแหล่งรวมสินค้าวินเทจและมีลูกค้าให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก ไม่น่าแปลกใจถ้าเราคิดจะขายของที่นี่เพราะโอกาสดีๆนั้นมองเห็นได้อย่างชัดเจนทีเดียว

ตลาดยอดนิยม

อย่างไรก็ตามเราก็ควรรู้หลักและขั้นตอนในการจับจองพื้นที่ตลาดนัดโดย www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมเอา วิธีการจองล็อคในตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์มาฝากผู้สนใจทุกท่านงานนี้มีทั้งแบบการจองล็อคแบบประจำและการจองล็อคแบบไม่ประจำ มีให้ดูทั้ง 2 แบบเลือกใช้กันได้ตามความเหมาะสม

วิธีการจองล็อคแบบประจำ

fg3

ในตลาดนัดรถไฟจะมี 3 โซนสำคัญก็คือโซนพลาซ่าที่มีร้านค้าประมาณ 500 ร้านค้า โซนตลาดนัดที่มีร้านค้าอีกกว่า 1,000 ร้านค้า สุดท้ายคือโซนโกดังที่มีพื้นที่กว่า 10 ไร่มีร้านค้าไม่ต่ำกว่า 200 ร้านค้า การจะจองล็อคแบบประจำนั้นก็ต้องดูว่าเราต้องการขายสินค้าแบบไหนถ้าเป็นเสื้อผ้า รองเท้า แนะนำว่าไปเลือกโซนพลาซ่า

แต่ถ้าเป็นสินค้าวัยรุ่นเคสโทรศัพท์ นาฬิกาแฟชั่น กิ๊ฟช็อป ของใช้ เลือกโซนตลาดนัดก็น่าสนใจไม่ใช่น้อย ส่วนในโซนโกดังจะเน้นไปทางสินค้าย้อนยุคแนววินเทจไม่ว่าจะของตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แต่ไม่ว่าจะเลือกล็อคไหนโซนอะไรเราก็ควรรู้วิธีการจองล็อคประจำทั้ง 5 ขั้นตอนต่อไปนี้

fg4

  1. ทางตลาดเปิดให้พ่อค้าแม่ค้าที่สนใจสามาถติดต่อจองล็อคขายสินค้าได้ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเวลา 3 ทุ่มตรง บริเวณร้าน Rod’s
  2. ในเวลาตั้งแต่หลัง 3 ทุ่มเป็นต้นไปทางตลาดจะเช็คว่าเจ้าของล็อคประจำท่านใดไม่ได้ต่อล็อค ก็จะทำการปล่อยล็อคให้ลูกค้ารายใหม่ที่ทำการจองเข้ามา ซึ่งบางเดือนอาจไม่มีล็อคหลุดเลยก็ได้และทางตลาดขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าในเรื่องนี้
  3. ในกรณีที่มีคนจองล็อคเข้ามามากกว่าจำนวนล็อคที่มีอยู่ทางตลาดจะใช้วิธีจับฉลาก เช่นมีล็อค 10 ล็อค ผู้ที่มาจองมี 100 คน ทั้ง 100 คน มีสิทธิ์จับฉลากแล้วแต่ว่าใครจะได้ และในฉลากจะระบุล็อคที่ได้จึงไม่สามารถเลือกล็อคเองได้
  4. อัตราค่าเช่าล็อคจ่ายเป็นรายเดือน เช่น ได้ล็อคราคา 300 บาท/วัน ถ้าในแต่ละสัปดาห์มาขาย 3 วัน หนึ่งเดือนมาขายได้ 12 วันต้องจ่าย 3,600 บาท ซึ่งแต่ละเดือนผู้ขายอาจมาแบบครบหรือมาไม่ครบ ก็จ่ายตามวันจริง ไม่มีค่ามัดจำ ไม่มีค่าจ่ายล่วงหน้า
  5. การติดต่อจองล็อคนั้นต้องติดต่อด้วยตัวเองเท่านั้น โทรมาจองไม่ได้เด็ดขาด

และสำหรับพ่อค้าแม่ค้าบางคนที่ไม่ได้ขายของเป็นอาชีพหรือเรียกว่าพ่อค้าแม่ค้าจำเป็นก็อาจจะใช้รูปแบบการจองล็อคแบบไม่ประจำซึ่งก็มีลำดับขั้นที่สำคัญดังนี้

การจองล็อคสำหรับคนขายแบบไม่ประจำ

fg5

  1. ต้องเข้ามาจองล็อคแบบวันต่อวัน อย่างเช่นอยากขายวันอาทิตย์ก็ต้องมาจองวันอาทิตย์เท่านั้น
  2. ไม่สามารถจองล่วงหน้า และจะต้องมาจองด้วยตัวเองเท่านั้น
  3. แจกบัตรคิวสำหรับคนต้องการจองล็อค ในเวลา 16.00 น. และ 1 คนจะได้รับสิทธิ์ 1 บัตรคิวเท่านั้น
  4. การจองสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ประจำ เริ่มเวลาในการจองตอน 1 ทุ่มตรง ติดต่อที่บริเวณร้าน Rod’s
  5. ทางตลาดนัดรถไฟจะให้เจ้าหน้าที่เช็คล็อคที่ว่าง ให้ซึ่งก็จะเกิดขึ้นได้เมื่อเจ้าของล็อคประจำนั้นไม่มา
  6. สามารถชำระเงิน พร้อมรับใบเสร็จ และเข้าขายของที่ล็อคได้เลย
  7. ค่าเช่าล็อคจะเป็นราคาเดียวกับล็อคประจำ 200 , 300 ก็แล้วแต่โซน
  8. คิดค่าไฟดวงละ 10 บาท และต้องใช้เป็นหลอดตะเกียบเท่านั้น

ตลาดรถไฟศรีนครินทร์แห่งนี้มีระบบการบริหารจัดการที่เปิดโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการค้าขาย รวมถึงการมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการตลาดตลอดเวลาถือเป็นข้อดีที่ช่วยให้ผู้คนสนใจและแวะเวียนเข้ามาที่ตลาดแห่งนี้กันอย่างเนืองแน่น

fg6

อย่างไรก็ดี ถ้าคิดจะจองล็อคขายสินค้าไม่ว่าจะแบบประจำหรือไม่ประจำก็ตามสิ่งสำคัญคือกลยุทธ์การขายของตัวเราเองที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคต่อให้ตลาดดีแต่ถ้าเราไม่มีเทคนิคการขายก็คงยากที่จะทำกำไรแม้จะเป็นทำเลที่ดีในด้านการค้าก็ตาม

และสำหรับใครที่กำลังมองหาทำเลค้าขายน่าสนใจเรามีรวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก ดูรายละเอียดที่: goo.gl/09iYyK

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Moejxn

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด