5 ข้อเพื่อ SMEs ไทยสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ

เรื่องของการลงทุน ทำธุรกิจ กลายเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญบางครั้งมากกว่าการเลือกจะเป็นลูกน้องตามบริษัทใหญ่ๆ หลายคนแม้ไม่มีประสบการณ์แต่ก็อยากเริ่มต้นธุรกิจที่เป็นของตัวเองโดยหวังว่าในอนาคตจะประสบความสำเร็จในเวทีแห่งการลงทุนนี้

อย่างไรก็ดีมีผู้รู้ในแวดวงธุรกิจหลายท่านได้ให้ข้อคิดสะกิดเตือนใจไว้ว่า การทำธุรกิจใดๆก็ตามต้องเกิดจากความพร้อม ความชอบ ไม่ใช่การทำตามอย่างเพราะการลงทุนไม่ใช่เรื่องของแฟชั่น

www.ThaiSMEsCenter.com จึงรวบรวมเอา 5ข้อต่อไปนี้มาเป็นบรรทัดฐานประกอบการตัดสินใจหากใครไม่แน่ใจหรือยังไม่พร้อมขอให้พักความคิดเรื่องการลงทุนไปก่อนจนถึงวันหนึ่งที่มั่นใจหรือมีประสบการณ์และความพร้อมที่แท้จริงจะถือเป็นการนับหนึ่งที่มั่นคงได้มากกว่า

Daniel Levine คือกูรูผู้เชี่ยวชาญในด้านการพูดเชิงธุรกิจโดย Daniel เดินทางไปพูดถึงทิศทางและแนวโน้มการทำธุรกิจในหลายๆประเทศตามคำเชิญชวนรวมทั้งตัวของ Daniel เองก็ยังเป็นผู้อำนวยการของ Avant Guide สถาบันที่ให้คำปรึกษาทางธุรกิจต่างๆ

รวมถึงเป็นบรรณาธิการของ WikiTrend นิตยสารสำหรับคนทำธุรกิจที่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากและกับมุมมองเรื่องการลงทุนในธุรกิจ SMEs นั้น Daniel ให้ทรรศนะไว้อย่างน่าสนใจ 5 ประการด้วยกันคือ

1. ต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญในสิ่งที่ทำ

ทำธุรกิจ

ภาพจาก goo.gl/daFRd2

Daniel อธิบายว่าการทำธุรกิจไม่ใช่ทำเพราะคนอื่นบอกให้ทำ หากธุรกิจมีจุดเริ่มจากตรงนั้นถือเป็นหายนะสำคัญที่ใครๆก็คาดเดาได้แน่นอน ยกตัวอย่างเช่นรถ Volkvagen ที่รัฐบาลออกกฎหมายให้กิจการออกแบบและผลิตรถรักษ์ธรรมชาติ Volkvagen

จึงทุ่มทุนทดสอบรถที่ติดตั้งมาตรวัดการปล่อยของเสียจากรถนั้นเพียงแค่ให้ผ่านกฎหมายแต่เมื่อคนมาลองขับรถ Volkvagen แล้วพบว่ารถก็ยังมีสภาพไม่ได้ต่างจากรถปรกติธรรมดา

ทำให้รถ Volkvagen ขาดความน่าเชื่อถือในเรื่องนี้ด้วยฉะนั้นการตามเทรนด์ไหนก็ตาม ต้องมั่นใจว่าเราเข้าใจเทรนด์นั้นจริงๆ เห็นความสำคัญของเทรนด์นั้น ไม่ใช่ทำตามเทรนด์เพราะมีคนบอกให้เราทำ หรือคนอื่นพูดถึงเทรนด์นั้น

2. คนทำธุรกิจต้องรู้จักใช้หัวคิดสร้างสรรค์แก้ปัญหา

x4

ภาพจาก goo.gl/CAXsZm

เพียงแค่การรู้จักเทรนด์ทางการตลาดและจับมาทำธุรกิจนั้น Daniel บอกว่ายังไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดของการทำธุรกิจ สิ่งสำคัญของผู้ลงทุนคือต้องรู้จักหาทางใช้ทักษะและความสามารถของกิจการตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคที่เป็นเทรนด์ด้วย และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น Daniel

ยกตัวอย่างของดิสโก้เทคของฮอลแลนด์อย่าง Club What ที่แม้เป็นธุรกิจแสงสีเสียงแต่ก็ใส่ใจในเรื่องรักษ์โลกด้วยและสิ่งที่เจ้าของแก้ปัญหาเพื่อให้ทั้งสองอย่างดำเนินไปด้วยกันได้คือ การทำพื้นเต้นติดสปริงปั๊มชาร์ตแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถนำไฟที่เก็บเหล่านั้นมาใช้ในร้านถือเป็นการแก้ปัญหาที่ทำให้ลูกค้าร้องว้าว! และอยากเข้ามาใช้บริการของเรามากขึ้นด้วย

3.รู้จักการสร้างธุรกิจที่มีสไตล์ไม่ซ้ำใคร

x3

ภาพจาก goo.gl/S4AdYH

จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคก็อยากได้ของที่ทำเพื่อตัวเอง และบริการที่ออกแบบเพื่อตัวเองโดยเฉพาะ ดังนั้นกิจการทั้งหลายต้องงัดเทคนิคและแนวคิดที่ทำให้ผู้บริโภค แต่ละคน รู้สึกพิเศษขึ้นมาเมื่อใช้สินค้าหรือว่าบริการที่เราลงทุนไป

ยุคนี้ถือเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคแทบทุกคนควาดหวังในคุณภาพและความเร็วของสินค้า ฉะนั้นกิจการจึงไม่สามารถปฏิบัติกับผู้บริโภคแต่ละรายด้วยมาตรฐานอย่างเดียวกันได้อีกต่อไป

ยกตัวอย่างเช่น Nike ผู้ผลิตและออกแบบรองเท้าชั้นนำของโลกได้เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถออกแบบรองเท้าที่เหมาะกับแต่ละคนได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ วิธีสวมใส่ สี ไม่เว้นแต่พื้นรองเท้า และสั่งซื้อได้เลยอีกด้วย

4.ธุรกิจที่ดีต้อง เชื่อมต่อ ผู้คนเข้าด้วยกัน

x2

ภาพจาก goo.gl/tkG7ur

เมื่อเราทุกคนเข้าสู่ยุคสื่อสังคมออนไลน์นั้นหมายความว่าผู้คนทั้งหลายจะสามารถเชื่อมต่อพูดคุยและแบ่งปันเนื้อหาต่างๆ กันได้อย่างไม่จำกัด

ในเมื่อธุรกิจไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีเหล่านี้แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าการเชื่อมต่อธุรกิจกับผู้คนจำนวนมากจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเสมอไป ยกตัวอย่างร้านกาแฟแห่งหนึ่งที่เมืองแมนฮัตตัน นิวยอร์ค จะมีผู้คนเข้ามาดื่มกาแฟตอนเช้า

ซึ่งร้านนี้ก็มีพนักงานที่คอยบริการและพูดคุยกับลูกค้าที่เข้ามาในร้านแต่ที่น่าสนใจคือ พนักงานบริการสร้างความสนิทสนมกับลูกค้าแล้วถามถึงนิสัยใจคอความชอบของลูกค้าอยู่เสมอ

พนักงานบริการก็จะเก็บประวัติไว้ เพื่อจับคู่ที่เหมาะสม และแนะนำให้รู้จักกันในร้านต่อไป ถือเป็นการเชื่อมต่อความรู้สึกอีกแบบระหว่างธุรกิจกับลูกค้าที่สร้างความประทับใจและอยากกลับมาใช้บริการอีก

5.ธุรกิจที่ดีต้องตอบสนองความรู้สึกผู้บริโภคว่าใช้แล้วทำให้ชีวิตดีขึ้นได้

x1

ภาพจาก goo.gl/jMS20P

ปัจจุบันผู้บริโภคนับวันก็สนใจตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปเซลฟี่ ไปจนกระทั่งตรวจวัดสุขภาพของตัวเองผ่านสมาร์ทดีไวซ์อย่างอัตราการเต้นของหัวใจ และแคลลอรี่ที่ตัวเอง

ไม่เว้นแต่การวินิจฉัยโรคก่อนที่จะไปพบหมอ ดังนั้นธุรกิจที่ดี Daniel บอกว่า “กิจการต้องรีบปรับตัว ออกสินค้าและบริการที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ “ตัวเอง” ได้มากขึ้น รู้สึกว่าตัวเองฉลาดขึ้น และพึ่งพาคนอื่นได้น้อยลงด้วย”

แง่มุมของการทำธุรกิจที่แท้จริงจึงไม่ได้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์หรือว่าไอเดียดีๆเท่านั้น การทำธุรกิจในรูปแบบที่ตัวเองรู้อาจไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดในยุคสมัยนี้ดังนั้นก่อนเริ่มธุรกิจที่เราคิดว่ามั่นใจควรถอยห่างจากจุดที่เราคิดและออกมามองภาพรวมที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร อาจทำให้เราพบเส้นทางที่ดีกว่าและการพัฒนาธุรกิจก็จะทำได้ถูกทาง โอกาสของกำไรก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด