5 กลยุทธ์เปิดร้านเครป ไม่ให้เจ๊ง!

หลายคนเข้าใจผิดว่า “ขนมเบื้อง” กับ “เครป” เหมือนกัน แม้รูปร่างอาจดูใกล้เคียงแต่ก็ไม่ใช่ ตามประวัติแล้วขนมเบื้องเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาเวลาเดียวกับที่เรารู้จัก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ที่ว่ากันว่าต้นกำเนิดมาจากฝรั่งโปรตุเกส

แต่สำหรับเครปที่เราเห็นทุกวันนี้ เรารับวัฒนธรรมมาจากญี่ปุ่น และเครปที่เราเห็นกันทุกตรอกซอกซอยเริ่มเข้ามาจริงๆ ก็ประมาณ 20 ปีก่อน และตอนนี้เครปก็กลายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีทั้งในระบบแฟรนไชส์และไม่แฟรนไชส์

คำถามคือ “ร้านเครป” ยังเป็นอะไรที่น่าลงทุนหรือเปล่า แล้วหากบอกว่ายังน่าสนใจ จะต้องลงทุนแบบไหนอย่างไร เพื่อจะ “ไม่เจ๊ง” www.ThaiSMEsCenter.com มี5กลยุทธ์ของการเปิดร้านเครปให้ห่างไกลคำว่าขาดทุน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนเองว่าจะตั้งใจทำธุรกิจนี้แค่ไหน

ต้นทุนของร้านเครป

a2

ถ้าไม่ใช่การลงทุนแบบเปิดร้านใหญ่โต แต่เลือกเปิดร้านแบบชาวบ้านๆ ประเภทมีโต๊ะ มีอุปกรณ์ ขายตามตลาดนัด ต้นทุนเริ่มต้น 10,000 โดยประมาณ ส่วนใหญ่ลงทุนในอุปกรณ์ เช่น เตาเครป ไม้ปาดเครป แป้งเครป ไส้เครป ซองกระดาษสำหรับใส่เครป

หรือถ้าเป็นเครปเค้กก็จะเพิ่มอุปกรณ์มากขึ้นอีกเช่น กระทะเชฟรอน ทัพพี ชามผสม ตะกร้อตีไข่ กระดาษซับมัน ตะแกรงสำหรับวางแป้ง เป็นต้น โดยการเลือกอุปกรณ์ต้องให้เหมาะสมกับการใช้งานเนื่องจากต้องใช้ทุกวัน ต้องเน้นที่ความคงทนเป็นสำคัญ

แต่ก่อนที่จะเปิดร้านเครปได้ใช่ว่าจู่อยากเปิดก็ไปซื้ออุปกรณ์แล้วมาขายเลย เครปเป็นเมนูเบเกอรี่ที่ต้องมีเทคนิคในการทำพอสมควร จึงควรฝึกฝน เรียนรู้จนชำนาญ

คนส่วนใหญ่ตัดปัญหาด้วยการซื้อแฟรนไชส์เพราะจะมีทีมงานมาสอนขั้นตอนการทำอย่างละเอียด มีอุปกรณ์มาให้พร้อม แต่ถ้าใครไม่อยากซื้อแฟรนไชส์แนะนำว่าควรไปเข้าคอร์สอบรมวิธีการทำให้ชำนาญก่อน

รายได้โดยประมาณของร้านเครป

a3

ราคาขายโดยประมาณหากเป็นเครปร้อนเริ่มต้นตั้งแต่ 20-30 บาท หรือหากเป็นเครปที่ใส่ไอเดียเพิ่มมูลค่าลงไปอาจขายได้ 40-60 บาท อย่างเช่นพวกเครปเย็นทั้งหลาย

ที่ราคาสูงขึ้นมาอีกหน่อยก็พวกเครปเค้กที่ราคาแตะ 100 บาทถ้าเป็นการขายแบบปอนด์ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมขายแบบ 2-3 ปอนด์ ราคาตั้งแต่ 500 ขึ้นไป

a4

ถ้าหากไปค้นดูในกูเกิ้ลรายได้ของร้านเครปส่วนใหญ่มักบอกว่ากำไรดี ตั้งแต่ยอดขาย 3,000 – 5,000 วัน หรือคิดเป็นเดือนตั้งแต่ 90,000 – 100,000 แต่เราต้องดูตามหลักความจริงร้านเครปที่ได้ยอดขายสูงๆ

อาจจะเป็นร้านที่อยู่ในทำเลที่ดี เปิดมานานมีลูกค้าประจำมาก แต่หากเป็นร้านเปิดใหม่ ทำเลไม่ดีมาก ยอดขายต่อวันอาจจะอยู่แค่หลัก 1,000 ต้นๆ กำไรต่อเดือนอาจจะประมาณ 10,000 กว่าบาท สิ่งสำคัญของธุรกิจนี้คือ “ต้องหาจุดขายในตัวเองให้เจอเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่มีจำนวนมาก”

5 กลยุทธ์เปิดร้านเครป ไม่ให้เจ๊ง!

a5

1.หาแหล่งวัตถุดิบมีคุณภาพในราคาเบาๆ

หลักพื้นฐานของการลงทุนคือถ้าต้นทุนต่ำก็มีโอกาสกำไรสูง ต้นทุนสำคัญของร้านเครป คือ แป้งเครป ไส้เครป ท็อปปิ้งต่างๆ แต่จะก้มหน้าก้มตาหาแต่วัตถุดิบราคาถูกไม่คำนึงคุณภาพก็คงไม่ได้

เราต้องเอาใจลูกค้าให้ติดใจในรสชาติของเครปที่ทำ ซึ่งการซื้อแฟรนไชส์ก็มีข้อดีในเรื่องวัตถุดิบที่คัดสรรมาแล้ว เราไม่ต้องวุ่นวายหาเอง แต่ถ้าคิดเปิดร้านเองไม่สนแฟรนไชส์ต้องหาแหล่งวัตถุดิบเหล่านี้ให้ได้ เพื่อโอกาสที่จะมีกำไรเพิ่มขึ้น

a10

ภาพจาก facebook.com/Nbpancake

2.ทำเลต้องย่านวัยรุ่น สถานศึกษา

เปิดร้านเครปอย่าคิดว่าที่ไหนก็ได้ขอให้เครปเราอร่อย อย่าลืมว่าฐานลูกค้าส่วนใหญ่คือ นักเรียน นักศึกษา คนวัยทำงาน ถ้าอายุมากๆ หรือสูงวัยน้อยคนนักที่จะมาเดินถือเครปทาน

ดังนั้นทำเลต้องใส่ใจ จับจุดในย่านสถานศึกษา ตลาดนัดวัยรุ่น ใกล้สถานที่ทำงาน สถานที่ราชการ จะช่วยยกระดับการเปิดร้านเครปให้มียอดขายเพิ่มขึ้นได้

a8

ภาพจาก facebook.com/crepesaday

3.มีสูตรเครปเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

“เครปก็เหมือนเครป” คำกล่าวนี้เป็นของลูกค้าที่รู้สึกว่า ร้านเครปไหนๆ มันก็เหมือนกันไปหมด ดังนั้นเขาก็ไม่ต้องเลือกว่าจะเข้าร้านไหน เพราะรสชาติก็ไม่ต่างกัน ซึ่งหากเราขยายจุดนี้ออกมาให้ชัดเจน “มีสูตรเครปที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง”

จะเป็นการ “สร้างแบรนด์” ให้กับร้านได้เป็นอย่างดี และยิ่งมีการโปรโมทให้คนรู้จักและรู้ว่าเครปเราแตกต่างกับเจ้าอื่นอย่างไร และหากลูกค้าลองแล้วติดใจ รู้ว่าดีจริง ก็เป็นการสร้างฐานลูกค้าให้ภักดีต่อแบรนด์ได้มากขึ้น

a9

ภาพจาก facebook.com/crepesaday

4.สรรหาไอเดียใหม่ๆมาสร้างสีสัน

เปิดร้านเครปไม่ใช่แค่มั่นใจในสูตรที่ตัวเองมีจะต้องตามกระแสให้ทันด้วยที่ผ่านมาเราเห็นทั้ง เครปสายรุ้ง เครปชาโคล เครปผลไม้ ในฐานะร้านเครปก็ควรมีเมนูใหม่ๆ มานำเสนอเป็นทางเลือกให้ลูกค้าด้วย

ยุคนี้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลจากทั่วโลกได้ง่าย จึงควรติดตามดูว่าไอเดียที่ไหนจะเอามาประยุกต์ทำเครปให้ดูน่าสนใจ หากคิดได้ก่อน ทำได้ก่อน เป็นเจ้าแรกที่คิดสูตรนี้ สูตรนั้นขึ้นมา จะยกระดับให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

a6

ภาพจาก facebook.com/crepesaday

5.รู้จักการต่อยอดและขยายกิจการ

เรียกว่าเป็นพวกหัวการค้าที่ไม่ใช่พอใจแค่ปัจจุบันต้องมองโอกาสในการขยายกิจการให้ใหญ่โต หากเราเริ่มจากร้านเครปเล็กๆ หรือแม้แต่ซื้อแฟรนไชส์มา ต้องรู้จักบริหารให้เติบโตจากหนึ่งสาขาเป็นสองสาขา

จากที่ขายเครปเป็นหลักก็เริ่มมีเมนูเครื่องดื่ม หรือเบเกอรี่อื่นๆ เพิ่มเข้ามา ซึ่งการขยายกิจการที่มากขึ้นต้องสอดคล้องกับจำนวนลูกค้าที่มี และการขยายสาขาก็มีข้อดีที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงหากสาขาใดสาขาหนึ่งต้องปิดกิจการไป

การจะลงทุนกับร้านเครปจึงควรศึกษารายละเอียดให้ชัดเจน มีทำเลที่ดีมีกลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการ ทั้งนี้ร้านเครปแม้จะดูว่าเป็นสินค้ายอดนิยมแต่การจะทำให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ใครคิดจะลงทุนต้องค่อยเป็นค่อยไป โตไปทีละก้าว อย่ารีบร้อนมากไปนัก

สนใจลงทุนแฟรนไชส์เครป คลิก https://bit.ly/2UYemHP


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BlezEs

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด