4 โมเดลธุรกิจ ที่ใช้ลูกค้าทำงานให้กับสินค้าแบบเนียนๆ

ก่อนการทำธุรกิจทุกครั้งจำเป็นต้องมีแผนธุรกิจ( Business Model ) ที่ดีเพื่อให้การเดินหน้าของธุรกิจมีแนวทางที่ถูกต้องและชัดเจนในระยะยาว ธุรกิจทั้งระดับประเทศและระดับโลกล้วนก็มีการวางแผนธุรกิจที่ว่านี้เป็นอย่างดี ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าแผนธุรกิจของใครจะใช้กลยุทธ์แบบไหนในการทำตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการนั้นๆเติบโตอย่างสดใสในทิศทางที่ตัวเองได้วาดหวังไว้

หนึ่งในแผนธุรกิจที่คนทั่วไปอาจไม่รู้จักแต่สำหรับนักธุรกิจทั้งหลายอาจจะรู้จักกันดีนั้นคือการเขียนแผนธุรกิจแบบใช้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เกิดประโยชน์ (Stakeholders) ถ้าจะอธิบายความก็คือการใช้ลูกค้ามาทำการตลาดแบบฟรี แผนธุรกิจแนวนี้มีแบรนด์ระดับโลกต่างนำมาใช้อย่างได้ผล

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังศึกษาการทำธุรกิจหรือต้องการวางแผนธุรกิจที่ดีซึ่งสามารถดูตัวอย่างแผนธุรกิจที่ว่านี้จากแบรนด์ชั้นนำที่เรารวบรวมมานำเสนอในที่นี้ได้

1.แผนธุรกิจที่ทำให้ลูกค้ากลายเป็นคนประชาสัมพันธ์

Business Model

ภาพจาก goo.gl/BBSuSN

ที่โดดเด่นที่สุดในหมวดนี้เห็นจะไม่พ้น Facebook และ IKEAที่ทำให้ลูกค้ากลายเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องแบกรับต้นทุนส่วนนี้แต่ก็ต้องมีแพลตฟอร์มที่ดีพอที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่าและพร้อมที่จะบอกต่อให้คนอื่นได้รับรู้ถ้ายังมองภาพนี้ไม่ออกลองมาแยกกันดูทีละแบรนด์ว่ามีเทคนิคสำคัญในการใช้ลูกค้าเป็นฐานประชาสัมพันธ์ได้อย่างไร

Facebook : ด้วยแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อความ รูปภาพ และข้อมูลต่าง ๆ ได้ แน่นอนว่าตัวแพลตฟอร์มไม่ใช่สิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้ แต่ที่ทุกคนเข้า Facebook ก็เพื่ออัพเดท Content ที่เพื่อน ๆ Post ลงไปนี่คือความมหัศจรรย์ที่ว่า Facebook ไม่มีต้นทุนในการสร้าง Content เพราะเนื้อหาในเว็บมาจากผู้ใช้ราว 1.4 พันล้านคนเท่ากับต้นทุนส่วนนี้หายไปแต่ถ้าเป็นนิตยสารก็คงต้องลงทุนสร้างเนื้อหาส่วนนี้มากพอตัวเลยทีเดียว

IKEA : ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ชื่อดัง ลูกค้า IKEA คือฐานในการประชาสัมพันธ์ที่ดีมาก เพราะ ลูกค้าจำนวนมากซื้อชั้นวางหนังสือ โต๊ะ และเฟอร์นิเจอร์ ยัดใส่กล่องแล้วกลับไปประกอบเองที่บ้าน

นี่เป็นสิ่งที่หลายคนคาดไม่ถึง และทำให้ IKEA ได้รับความนิยม เพราะผู้คนมักคิดว่าโรงงานจะต้องประกอบเฟอร์นิเจอร์มาให้เสร็จสรรพแต่เหตุผลที่ลูกค้าเต็มใจที่จะประกอบเฟอร์นิเจอร์เองเพราะ IKEA มีตัวเลือกที่หลากหลาย มีการจัดส่งที่รวดเร็วที่สำคัญคือ ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเงิน

2.แผนธุรกิจที่ให้ลูกค้ามาช่วยลดต้นทุนของสินค้าและบริการ

e42

ภาพจาก goo.gl/pTfP57

ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดกับแผนธุรกิจนี้คือ MasterCard เพราะธุรกิจบัตรเครดิตมีต้นทุนที่ต้องแบกรับ คือ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำธุรกรรม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมหาศาล แต่โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะต้องมีปลายทางคือร้านค้าที่ยิ่งหาได้มากโอกาสของการสร้างสรรค์กำไรทางธุรกิจก็เยอะ

จากนั้นคือให้ลูกค้าที่ถือบัตรเป็นตัวจักรสำคัญในการลดต้นทุนเหล่านั้นยิ่งมีลูกค้ามากโอกาสซื้อขายจากร้านค้าสู่ลูกค้าก็มากตามหมายถึงการใช้บัตรก็มีความเป็นไปได้สูง เท่ากับก็ได้ประโยชน์ที่ดีร่วมกันโดยเจ้าของธุรกิจบัตรเครดิตสามารถลดต้นทุนเบื้องต้นได้พอสมควรอีกด้วย

3. แผนธุรกิจที่ทำให้ลูกค้ากลายมาเป็นผู้ให้บริการแบบฟรีๆ

e44

ภาพจาก  goo.gl/8JwKLo

ให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนก็คือเจ้าของธุรกิจมีหน้าที่ในการทำตลาดแต่คนที่ลงทุนจริงๆคือลูกค้า มองภาพรวมก็คือได้ประโยชน์ร่วมกันแต่สิ่งจำเป็นของธุรกิจแนวนี้คือต้องมีแผนการตลาดที่ดีเพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่สนับสนุนสามารถมีลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ ธุรกิจแนวนี้เช่น WhatsApp และ Uber เป็นตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด

WhatsApp : โดยหลังจากถูกซื้อกิจการไปโดย Facebook สามารถให้บริการผู้คนจาก 400 ล้านเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 700 ล้านคนทั่วโลก นั้นเพราะจำนวนของผู้ใช้บริการจำนวนมากกลายมาเป็นผู้ที่ช่วยลดต้นทุนค่าอินเทอร์เนตซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ WhatsApp โดยที่ลูกค้าเองได้ประโยชน์จากธุรกิจนี้พร้อมกับลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการตัวจริงได้อย่างดีด้วย

Uber: เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลีกเลี่ยงต้นทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เหมือนกับ WhatsApp Uber ไม่ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่าย นอกจากนี้ Uber ยังมีรถยนต์ให้บริการ โดยที่ตัวเองไม่ต้องมีต้นทุนในการซื้อรถ หรือให้บริการวิ่งรถ โดยพื้นฐานเจ้าของรถ และผู้ใช้ คือ คนที่ช่วยแบกรับต้นทุนเหล่านี้ให้กับธุรกิจ Uber โฟกัสไปที่การทำ Platform ของพวกเขาให้ดี และทุ่มเงินจำนวนมากในการทำตลาด

4. แผนธุรกิจที่เปิดโอกาสให้มีกลุ่มอื่นมาร่วมลงทุนได้

e45

ภาพจาก goo.gl/2ezGZ5

แผนธุรกิจแนวนี้คือการสร้างสินค้าตัวเองให้มีประโยชน์ก่อนเมื่อสินค้าน่าสนใจถึงขีดสุดการเปิดโอกาสให้มีคนอื่นเข้ามาร่วมในธุรกิจคือการสร้างกำไรชนิดที่ตัวเองแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่มเลยทีเดียว

ตัวอย่างที่เด่นชัดมากๆคือแพลตฟอร์มธุรกิจของ Apple ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนา App บน iOS เข้ามาสร้างสีสันในApple โดยทาง Apple จะมีรายได้จากนักพัฒนา App เหล่านี้ประมาณ 30% จากค่าธรรมเนียมที่มีคนมาซื้อแอพ นั้นคือแผนการตลาดที่สร้างธุรกิจให้ตัวเองเด่นและดีเพื่อที่จะมีรายได้เข้ามาชนิดที่ไม่ต้องลงทุนประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นนั้นเอง


SMEs Tipc (เขียนแผนธุรกิจที่ดีมีวิธีอย่างไร)

  1. ต้องรู้จักรูปแบบสินค้าและบริการตัวเองอย่างละเอียด
  2. หาแผนที่สอดคล้องกับสินค้าตัวเองเท่านั้น
  3. แผนธุรกิจที่ดีต้องลดต้นทุนในระยะยาวได้
  4. มีแผนสำรองในกรณีที่แผนหลักผิดพลาด

ทั้งนี้ใช่ว่าทุกธุรกิจจะสามารถใช้แผนแบบเดียวกันนี้ได้ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของสินค้าและบริการเป็นหลัก แผนธุรกิจที่ดีของสินค้าตัวหนึ่งอาจไม่ใช่แผนที่ดีของสินค้าอีกตัวหนึ่ง สิ่งสำคัญคือหาแผนที่สอดคล้องและรองรับกันได้ธุรกิจนั้นๆก็จะเดินหน้าได้ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้หากใครต้องการเริ่มต้นธุรกิจและมองหาแผนธุรกิจดีๆ เรามีรวบรวมไว้มากมาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม goo.gl/idbA87

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/EN3nOA

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด