4 เปลี่ยนของ SMEs และ Startup ในยุคตลาดออนไลน์มาแรง

เริ่มต้นปี 2017 กันมาหมาดๆ ธุรกิจทั้งหลายก็เริ่มมีการขยับตัวไปตาม แผนการตลาด ที่คำนวณกันเอาไว้ช่วง 1-3 เดือนต่อจากนี้จะเป็นการชิมลางในโปรเจคใหม่ๆ ที่ไม่แน่ว่าอาจจะรุ่งหรืออาจจะร่วง

ทั้งนี้การพัฒนาสิ่งใหม่ๆให้เกิดอย่างต่อเนื่องก็เป็นการรักษาสมดุลของธุรกิจให้อยู่ในเวทีแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง แต่อย่างไรก็ตามดูท่าจะเป็นอีกปีที่ค่อนข้างยากสำหรับบรรดา SMEs และ Startup หน้าใหม่ที่อยากผันต่อเข้าสู่วงการธุรกิจนี้

แต่ถ้านักลงทุนหน้าใหม่มีใจสู้ที่แท้จริงรวมถึงมีการวางแผนที่ดีมากพอ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่ายังพอมีช่องทางให้สอดแทรกขึ้นมาได้ทั้งนี้ Turning Point

ที่สำคัญคือการใช้ E-commerce Marketplace ซึ่งนับเป็นตัวแปรใหญ่ที่สำคัญไม่น้อยกว่าเรื่องของเงินทุน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของไอเดีย ที่ไม่ใช่แค่ทำตามสินค้ายุคก่อนๆแต่ต้องดีกว่า และกล้าที่จะแตกต่างมากขึ้นด้วย

ภาพรวมของธุรกิจ SMEs และ Startup ในปี 2016

แผนการตลาด

ภาพจาก goo.gl/H5Lu9g

ในปี 2016 ที่ผ่านมาใช่ว่าจะเป็นเวทีแจ้งเกิดของ SMEs และ Startup มีกิจการมากมายที่ขึ้นมาแล้วก็จากไป แม้ในภาคธุรกิจที่ใหญ่โตบางครั้งก็ยังพ่ายแพ้ให้กับเวทีธุรกิจเช่น Ensogo และ Rakuten แบรนด์สินค้าชื่อดังจากญี่ปุ่นที่หวังเข้ามาตีตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สุดท้ายก็ไม่สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดในพื้นที่นี้ได้ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจนั้นสำเร็จตามฝันได้หรือไม่

ปัจจัยทางด้านการเงินยังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หรือถ้าไม่มีจุดเด่นทางด้านโครงสร้างการเงินที่แข็งแกร่งที่จะลุยการตลาดได้อย่างเต็มตัวก็ต้องมีแนวคิดที่ Creative ได้แบบสุดโต่ง และต้องรู้จักการผสานใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างชาญฉลาด

jk31

ภาพจาก goo.gl/qxHgUs

ตัวอย่างเช่น Jet.com ที่ Wal-Mart ซื้อไปในปีที่แล้วในราคา 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หวังจะป้องกันตนเองจาก Amazon.com โดย Jet.com นั้นพยายามสร้างความแตกต่างด้วยการเป็นเจ้าพ่อของการ Optimization ทุกๆ โอกาสเล็กโอกาสน้อยที่มองเห็น ก็นับเป็นความพยายามในการฉีกหนีออกมาช่วงชิงพื้นที่ของการตลาดในลักษณะเก็บเล็กผสมน้อยแต่ก็ถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

4 สิ่งที่ควรทำของ SMEsและStartup ในการลุยตลาด 2017

1.ทำความเข้าใจก่อนว่าค้าขายด้วยการซื้อมาขายไป ต่อไปอาจจะไม่ง่าย

jk33

ภาพจาก goo.gl/BLjtKU

เรื่องนี้อาจจะยังไม่เห็นชัดเจนในปี 2017 แต่อนาคตหลังจากนี้ก็ไม่แน่ การเกิดขึ้นของโมเดลซื้อมาขายไป เป็นเพราะเจ้าของสินค้ายังไม่มีช่องทางจำหน่ายถาวรที่เข้มแข็งพอ จึงเกิดโอกาสของคนกลาง ในการเชื่อมต่อการซื้อขายดังกล่าว

แต่ในวันที่โลกเรา จะเหลือ E-commerce Platform ไม่กี่ราย และล้วนเป็นรายใหญ่ บางทีการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยไป อาจทำได้ง่ายขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ ถือเป็นโอกาสของเจ้าของสินค้า โดยเฉพาะสินค้า consumers ทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องมีตัวแทนจำหน่ายมากนัก

ดังนั้นหาก SMEs และ Startup ที่ต้องการทำธุรกิจในลักษณะซื้อมาขายไป คงต้องสร้างความแตกต่างในการให้บริการ และหาฐานลูกค้าที่เหนียวแน่นของตัวเองให้เจอก่อนมิเช่นนั้นอาจเจอปัญหาที่ปลายทางชนิดที่เรียกว่าเดินหน้าก็ไม่ไหวถอยหลังก็ไม่ได้กันเลยทีเดียว

2.นอกจาก Marketplace ที่ดีต้องมีการสร้างแบรนด์ของตัวเองที่ดีด้วยเช่นกัน

jk36

ภาพจาก goo.gl/pL2e7i

การขายใน Marketplace ก็ไม่ใช่เส้นโล่งๆ นักธุรกิจหน้าใหม่ทั้งหลายยังต้องแข่งกับเจ้าอื่นๆ ภายในนั้นอีกมาก หากสินค้าใน Marketplace ดูๆ แล้วก็เหมือนกันหมด แน่นอนว่าลูกค้าย่อมเจาะจงที่จะเลือกสินค้าจากแบรนด์เก่าชื่อดังที่เป็นที่รู้จักมากกว่ากลายเป็นหอกทิ่มแทงนักธุรกิจหน้าใหม่ที่ทำอย่างไรก็สร้างยอดขายไม่ได้สักที

ด้วยเหตุนี้ SMEs และ Startup หน้าใหม่ต้องรู้จักการการตั้งชื่อสินค้า, การเขียนคำบรรยาย, การถ่ายภาพ, การตั้งราคา ทุกๆ อย่างล้วนเป็นปัจจัยที่แม้จะเป็นเรื่องยากแต่ถ้าทำได้นั้นคือความโดดเด่นที่ทำให้เราก้าวมายืนในจุดสตาร์ทได้อย่างเต็มตัว

และนอกจากการสร้างแบรนด์ของตัวเองได้แล้ว การเป็นเจ้าของ Data ด้วยตัวเองที่ไม่ใช่การพึ่งพิง Marketplace ทั้งหมดก็ดูน่าสนใจมาก การสร้าง Brand.com ดีๆ ขึ้นมาจึงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ดันภาพลักษณ์ธุรกิจของเราให้ดูดีแต่นั่นก็ดูเหมือนว่าเงินทุนจะมีส่วนอย่างมากในเรื่องนี้เราจึงควรมองหาแหล่งเงินทุนที่ดีที่ตอบสนองในเรื่องนี้ได้เช่นกัน

3.ต้องรู้จักหาแหล่งจำหน่ายสินค้าที่นอกเหนือจากในประเทศ

jk34

ภาพจาก goo.gl/W6D03N

สินค้าที่คิดและผลิตขึ้นมาใช่ว่าเราจะตั้งโจทย์การขายอยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้น สิ่งสำคัญคือต้องคิดว่าทำอย่างไรให้สินค้านี้กระจายไปสู่ต่างประเทศได้ด้วย

ยกตัวอย่างการพัฒนาการตลาดที่เห็นได้ชัดคือการที่ Alibaba ได้ซื้อกิจการของ Lazada เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายว่าผู้บริโภคมีความต้องการในสินค้าชนิดไหนเพื่อจะได้นำเข้าสินค้าชนิดนั้นให้ตรงตามความต้องการของคนในประเทศรวมถึงสินค้าไหนที่ทั่วโลกต้องการก็จะได้มองหาพาร์ทเนอร์สำหรับการติดต่อซื้อขายสินค้าได้มากขึ้น

ดังนั้นหากเราคิดจะทำธุรกิจผลิตสินค้าต่างๆ การมองว่าแหล่งจำหน่ายในต่างประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญมากหากเราคิดแค่ตลาดภายในประเทศรับรองได้เลยว่าจะเป็นการตลาดแบบตีบตันที่สุดท้ายไม่อาจสร้างผลกำไรให้ดีกับธุรกิจในระยะยาว

4.ธุรกิจขนาดเล็กทุนไม่หนา แนะนำว่าต้องรู้จักการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น

jk35

ภาพจาก goo.gl/M1WJ7R

แม้ว่าเงินทุนในด้านการทำตลาดปี 2017 คาดการณ์ว่าจะดุเดือดยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของนักลงทุนรายใหม่ที่ไม่มีเงินทุนมากนักการกระโดดไปสู้ในกลยุทธ์ดังกล่าวอาจจะได้ไม่คุ้มเสียทางที่ดีถ้าเรายังเป็นธุรกิจขนาดเล็กการตลาดที่ดีคือการสร้างคอนเทนต์และศิลปะการขายผ่านทางเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่

สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักการเลือกมใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เหมาะสม ถูกที่ ถูกเวลา เพื่อเพิ่มความสามารถในการขายให้มากขึ้น ทั้งนี้นักลงทุนเองก็ต้องเรียนรู้ฟังก์ชั่นของเทคโนโลยีต่างๆว่ามีอะไรน่าสนใจและจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด

เช่น Facebook ที่ปัจจุยันมี Group ปัจจุบันมีฟังก์ชันเปิดเป็น Group ขายของได้แล้ว ความน่าสนใจคือ การขายบน Facebook นั้น คนจะเห็นหน้าค่าตาโปรไฟล์ของเรา

ธุรกิจนั้นจึงเป็นธุรกิจจริง บุคคลจริง ที่จับต้องได้ถือเป็นการ Branding ที่เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคในระดับหนึ่ง หรือ ฟังก์ชันอย่าง Facebook Live ก็ปรากฏออกมาว่า คนไทยนิยมนำมาประยุกต์ใช้ ทำเป็น Live video เพื่อการขายของ เข้าถึงคนทีละมากๆ ด้วยการ Live ครั้งเดียว มีความ Interactive สร้าง Engagement กับคนได้ เหลือแค่ว่าเราจะสร้างคอนเทนต์แบบไหนที่จะดึงดูดใจผู้บริโภคได้ดีที่สุด

เมื่อเราเป็นธุรกิจที่เล็กสิ่งที่เราต้องรีบทำคือการหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ และพยายามนำเสนอคอนเทนต์นั้นให้เป็นไปในทิศทางเดียวด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ที่ต้องเหมาะสม

เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในเบื้องต้นพร้อมกับมองหาแนวทางการตลาดที่ควรจะเป็นลำพังสินค้าดี ไอเดียดี แต่การตลาดไม่ดีในปี 2017 นี้ธุรกิจที่อยู่รอดได้คือการรู้จักไหลตามกระแสพร้อมกับสร้างความโดดเด่นให้ตัวเองไปพร้อมๆกันด้วย


SMEs Tips (ธุรกิจเล็กก็ทำให้โตได้)

  • รู้จักกระแสของตลาดและสามารถจับทิศทางความน่าจะเป็นได้
  • มีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนไว้ใช้ในการแข่งขัน
  • มีทางออกของธุรกิจที่หลากหลายไม่ยึดติดกับช่องทางใดช่องทางหนึ่ง
  • รู้จักการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมแบบถูกที่ถูกเวลา

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด