4 เทคนิคสอนการบริหารด้วยตำรา “ หมากรุก ”

ตำนานเล่าขานว่า หมากรุก คือเกมทางสงครามที่มีจุดกำเนิดในประเทศอินเดียเมื่อหลายพันปีก่อน แท้จริงจะเป็นอย่างไรนั้นไม่สำคัญเท่าทุกวันนี้หมากรุกกลายเป็นเกมการเล่นน่าสนใจที่พลิกแพลงไปหลายประเทศทั่วโลก

โดยมีการปรับให้เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมในประเทศนั้นๆ แต่หลักใหญ่ใจความก็ยังคงความเป็นเกมหมากกระดานที่ผู้เล่นต้องใช้ความคิด วิเคราะห์ กันเยอะพอสมควรเช่นเดิม

ถามว่าประโยชน์ของหมากรุกนั้นคืออะไรที่เด่นชัดคือการบริหารสมอง จึงไม่แปลกที่เรื่องของหมากรุกจะถูกผนวกเข้ามาเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งของธุรกิจ

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com ก็มองว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างในเกมหมากรุกที่สามารถนำมาเป็นแนวทางเพื่อบริหารจัดการให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและต่อไปนี้คือ 4 เทคนิคน่าสนใจที่เราเรียนรู้ได้จากเกมหมากบนกระดานที่เรียกว่า “หมากรุก”

1.เข้าใจระดับของตัวหมาก

หมากรุก

ภาพจาก goo.gl/tD5S1e , goo.gl/6N3FdD

หมากรุกแต่ละตัว เปรียบได้กับพนักงานแต่ละคนในองค์กร ถ้าอ่านโครงสร้างองค์กรออกและเข้าใจหน้าที่ของแต่ละแผนก ก็จะสามารถบริหารงานได้ง่าย เพราะในการเล่นหมากรุกฝรั่ง ควีนหรือขุนคือตัวที่มีค่ามากที่สุดในเกม เพราะตามกฏแล้วถ้าเราเสียตัวขุนไปก็เท่ากับว่าเราแพ้

และหากนับคุณค่ามาตรฐานของตัวหมากแต่ละตัวก็จะได้ดังนี้ Rook (เรือ) > Bishop (โคน) > Knight (ม้า) > Pawn (เบี้ย) โดยคุณค่าเหล่านี้วัดได้จากจำนวนช่องที่หมากแต่ละตัวสามารถเดินได้ ซึ่งแต่ละตัวก็มีลักษณะการเดินที่ต่างกันออกไป

หากเทียบกับการทำธุรกิจแล้ว ตัวหมากรุกก็ไม่ต่างจากพนักงานในองค์กรเท่าไรนัก เรามีพนักงานหลากหลายตำแหน่งหลากหลายความสามารถรวมอยู่ในองค์กร บางคนเป็นเพียงเด็กจบใหม่ บางคนมีประสบการณ์ทำงานมาบ้าง และบางคนอาจมีประสบการณ์สูงสามารถรับหน้าที่แทนเราได้ทุกอย่าง

ดังนั้นเราควรวิเคราะห์ทักษะของพนักงานแต่ละคนให้ออก และกำหนดหน้าที่การทำงานและให้ผลตอบแทนให้เหมาะสมกับความสามารถนั้น ก็จะช่วยให้การดำเนินกิจการราบรื่นและก้าวได้ไว และเรายังบริหารได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

2.เข้าใจว่าหมากแต่ละตัวทำงานด้วยกันได้อย่างไร

kk30

ภาพจาก goo.gl/6N3FdD

ตัวหมากรุกมีทั้งตัวรุกและตัวล่อซึ่งต้องทำงานร่วมกันเพื่อไปถึงชัยชนะ การบริหารคนก็ต้องเลือกใช้คนให้ถูก ทั้งคนประเภทขาลุยและคนประเภทเน้นการวางแผนและใช้กลยุทธ์ เพราะการเล่นหมากรุกมีหลากเทคนิคที่จะนำมาซึ่งชัยชนะ

บางครั้งอาจต้องยอมเสียหมากบางตัวเพื่อให้ชนะคู่ต่อสู้ได้ ผู้เล่นจะต้องดูความสัมพันธ์ของหมากแต่ละตัวว่าสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้อย่างไร พิจารณาว่าควรใช้ตัวไหนเป็นตัวรุก และใช้ตัวไหนเป็นตัวล่อ

จุดนี้เหมือนในการทำธุรกิจที่มักใช้คนอยู่สองประเภทนั่นคือ พวกขาลุยกับพวกใช้หัวคละๆ กันไป ซึ่งหากเราเน้นพวกใช้ขาลุยมากเกินไปอาจทำให้งานที่ออกมาไม่ค่อยเรียบร้อยเพราะผ่านการคิดที่น้อยและเน้นเดินหน้าทำเพียงอย่างเดียว

แต่ในทางกลับกันหากมีพวกใช้สมองเยอะถึงแม้จะสามารถคิดอะไรออกมาได้มาก แต่ถ้าเกิดปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องเข้าชนแล้วพวกเขาเหล่านี้อาจแก้ปัญหาได้ไม่ดีนัก

ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำเป็นอย่างยิ่งคือสร้างความสัมพันธ์ให้คนสองประเภทนี้ทำงานด้วยกัน ฝ่ายสมองอาจช่วยฝ่ายลุยงานคิดสิ่งต่างๆ และให้ฝ่ายลุยงานคอยช่วยรับหน้าแก้ปัญหาต่างๆ ที่โถมเข้ามา

3.เกมธุรกิจต้องมีกลยุทธ์เหมือนเกมหมากรุก

kk33

ภาพจาก goo.gl/BsSN0J

การเดินหมากผิดพลาดเพียงก้าวเดียวอาจหมายถึงความพ่ายแพ้ การทำธุรกิจเช่นกันต้องวางแผนอย่างรัดกุม รวมถึงต้องคอยปรับแก้แผนอยู่เสมอให้เหมาะสม เพราะทุกย่างก้าวของการเดินหมากมีผลต่อผลลัพธ์ของเกมเป็นอย่างมาก

การขยับหมากเดินไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับมาอีกได้ ซึ่งหากเดินผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็มีโอกาสแพ้ได้ภายในหนึ่งตาเท่านั้น การวางแผนการเล่นให้ละเอียดถี่ถ้วนในทุกๆ ตาที่เดินและคิดเผื่อถึงตาเดินถัดๆ ไปอาจช่วยให้เรารอดพ้นจากหายนะจากการพ่ายแพ้ได้มากขึ้น

เช่นเดียวกับการทำธุรกิจหากเอาแต่ก้มหน้าก้มตาเดินหน้าโดยไม่มีการวางแผนอะไรก่อนย่อมทำธุรกิจดำเนินไปอย่างไร้ทิศทางและไร้จุดหมาย

บางทีการมีแผนธุรกิจที่อาจไม่สมบูรณ์แบบก็อาจดีกว่าการไม่มีแผนการอะไรเลย เพราะถึงแม้ว่าแผนอาจจะยังไม่ดีพอ แต่เราก็ยังมีแนวทาง เมื่อเกิดความผิดพลาด ก็ยังสามารถหาจุดบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว และจากนั้นจึงค่อยๆ ปรับแก้แผนให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทางกว่าเดิม

4.ปรัชญาของหมากรุกการเดินเกมก่อนไม่ใช่จะดีเสมอไป

kk34

ภาพจาก goo.gl/RgZsj2

บางครั้งการให้คู่ต่อสู้เดินเกมก่อนก็ช่วยให้เรารู้ว่าควรจะแก้เกมอย่างไร การเร่งเริ่มธุรกิจตอนที่ยังไม่พร้อมก็มักจะส่งผลเสียมากกว่าดี ซึ่งหลายๆ คนเข้าใจว่าเวลาเล่นหมากรุกถ้าได้เดินก่อนจะได้เปรียบ

แต่ความจริงก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป การให้คู่ต่อสู้เดินก่อนจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าคู่แข่งเดินอย่างไร และเราควรจะแก้ทางอย่างไร ซึ่งอาจดีกว่าการที่เราเดินคนแรกโดยไร้จุดหมายและอาจยังเป็นการเผยจุดอ่อนให้คู่ต่อสู้เห็นอีกด้วย

ธุรกิจก็เหมือนกับหมากรุกการเริ่มต้นก่อนโดยทีไม่พร้อมก่อนมักจะส่งผลเสียให้กับธุรกิจเสมอ ต่างกับให้คู่แข่งเริ่มเปิดเกมก่อนแล้วเราจึงค่อยๆ เก็บข้อมูลเหล่านั้นเพื่อหาช่องโหว่และนำมาปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ก่อนที่จะถึงตาเราเดิน

จากสี่เทคนิคการเล่นหมากรุกสู่โลกธุรกิจ เราจะเห็นว่าส่วนที่ซ้อนทับกันระหว่างการเล่นหมากรุกและการทำธุรกิจก็คือการรู้จักตัวเองและรู้จักคู่แข่ง ซึ่งก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าทรัพยากรพนักงานเรามีเท่าไรและรู้ว่าแต่ละคนมีขีดความสามารถในการทำอะไรให้องค์กรเราได้บ้าง

พร้อมทั้งรู้จักวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อคำนวณดูว่าเมื่อคู่แข่งเดินหมากแบบนี้ ตาต่อไปที่เราจะต้องเดินควรจะทำอย่างไร และรู้จักวางแผนให้ดีเพื่อให้ธุรกิจของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3dDnCHF
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด