4 วิธีของ Jeff Bezos สร้างธุรกิจออนไลน์ให้ยิ่งใหญ่ระดับโลก

ทุกวันนี้ตลาดออนไลน์ถือเป็นธุรกิจที่ใหญ่มากรวมถึงเป็นศูนย์รวมของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หน้าใหม่ที่มองเห็นความสำเร็จจากธุรกิจประเภทนี้แล้ววาดฝันอยากทำตาม ยอมรับว่าคนที่เปิดตัวในธุรกิจนี้ใหม่ๆหลายคนประสบความสำเร็จไปแล้วแต่เมื่อมีคนขายมากขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้น ทำให้คนที่เข้ามาทีหลังเริ่มประสบปัญหากับการตลาดที่ไม่เป็นอย่างใจคิด

www.ThaiSMEsCenter.com จึงมีหลักการและแนวคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์ของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ธุรกิจออนไลน์ระดับโลกอย่าง Amazon.com ที่ไม่มีอะไรเพียงแค่หลักการง่ายๆเพียง 4ประการที่เจ้าของธุรกิจออนไลน์คนไหนสามารถทำตามหรือทำได้ดีกว่าโอกาสพัฒนาสู่เว็บไซต์ระดับโลกก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน

การเริ่มต้นของ Amazon.com

Jeff Bezos

ภาพจาก goo.gl/wnqzkP , goo.gl/LXaswI

Jeff Bezos เริ่มฉายแววเป็นนักการตลาดระดับโลกตั้งแต่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันของสหรัฐอเมริกา ด้วยความที่ชอบเรื่องระบบคอมพิวเตอร์เป็นทุนเดิม ทำให้เขาได้รับเลือกให้เป็น Vice President ของตลาดหุ้นวอลสตรีทในวัยแค่ 28 ปีเท่านั้น ในปี 1994 Jeff เบนเข็มชีวิตมาทำธุรกิจร้านหนังสือออนไลน์ของตัวเองชื่อว่า Cadabra.com

ซึ่งในปีถัดมาก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น Amazon.comอีก 2 ปีต่อมา Jeff สามารถผลักดันให้ Amazon เข้าสู่ตลาดหุ้นได้สำเร็จ และมองเห็นรูปแบบธุรกิจของตัวเองชัดเจนขึ้นว่า Amazon.com ควรเป็นเว็บไซต์ที่สามารถขายอะไรก็ได้ แม้แต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ ไม่ได้เป็นแค่เว็บไซต์ขายหนังสือเพียงอย่างเดียว

แนวคิด 4 ประการสำหรับการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ

Amazon.com ในปัจจุบันมีสินค้าจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 20 ล้านรายการ และสามารถทำรายได้มากถึง 6 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมีแนวทาง 4 ประการเพื่อคนทำธุรกิจประเภทนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจของตัวเองได้

1. ต้องรู้ว่าอะไรที่อินเทอร์เน็ตทำได้ และใช้จุดเด่นนั้นให้เป็นประโยชน์

ll18

ภาพจาก goo.gl/EXuOzd

Amazon.com ยังคงใช้ความได้เปรียบในธรรมชาติของสื่อออนไลน์ในการเสนอขายสินค้าจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือและหาทางสร้างโอกาสในการแข่งขันกับร้านหนังสือทั่วไป

ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ใช้ feature “Search Inside” เหมือนกับการพลิกดูหนังสือได้ในร้านจริง ซึ่ง Jeff บอกว่าทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 9 เปอร์เซ็นต์ของหนังสือทั้งหมดทั้งยังพยายามดึงระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์มาใช้

โดยให้ระบบจดจำลูกค้าเป็นรายบุคคล ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมเลือกซื้อหนังสือแบบไหน แล้วจ้างทีมงานจัดทำบทแนะนำหนังสือขึ้นมา พร้อมกับเสนอหนังสือราคาพิเศษในหมวดเดียวกันเข้าไป

และสิ่งพิเศษกว่าในโลกของอินเทอร์เนตคือไม่จำเป็นต้องทุ่มงประมาณมหาศาลเพื่อสร้างการตลาดที่ไม่คุ้มค่าการขายของทางอินเทอร์เนตถ้าวางแผนการตลาดดีสินค้าจะขายตัวเองได้ไม่ว่าจะเป็นของใหม่หรือเก่าซึ่งจะว่าไปค่ายเพลงในบ้านเรามีปัจจัยที่น่าสนหากจะลองเอาแคตตาล็อคเพลงเก่ามาเป็นสินค้าขายในเว็บไซต์บ้าง

2. Community เป็นสิ่งที่สำคัญและต้องทำต่อไป

ll19

ภาพจาก goo.gl/tTKdlR

Jeff ให้ความสำคัญกับพลังชุมชนของลูกค้า โดยการเปิดเวทีให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็นในตัวสินค้ามาโดยตลอด อย่างที่เคยทำกับฟีเจอร์ “List Mania” ที่จะมีลูกค้าซึ่งระบุว่าตัวเองมีทักษะพิเศษในด้านนั้น ๆ มาวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังสือเล่มนี้ดี และไม่ดีอย่างไร

ทำไมถึงชอบ ทั้งยังเปิดให้ลูกค้าโหวตด้วยว่าความคิดเห็นของคนที่มาวิพากษ์วิจารณ์สินค้านั้นเป็นการเชียร์สินค้าออกอาการ “โอเวอร์” เกินไปหรือเปล่าทั้งยังจับกลุ่มผู้นิยมสินค้ามือสอง ในลักษณะ C2C อันเป็นลักษณะพิเศษของสินค้าออนไลน์

และตอกย้ำความสำเร็จของ feature ดั้งเดิมอย่าง “Wish List” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวคอยเตือนให้ลูกค้าจำได้ว่าเคยอยากได้หนังสือเล่มนี้ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายในแต่ละช่วงเทศกาลได้เป็นอย่างดี

3. สร้างความชัดเจนของสินค้าด้วย Content

ll20

ภาพจาก goo.gl/ZoqB6y

เป็นปกติของสินค้าออนไลน์ที่คนมักจะมองว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ Jeff เคยพูดถึงเรื่อนี้ในนิตยสาร WIRED ว่า “People confuse obscurity with bad service”

ซึ่งหลายเหตุผลที่ทำให้คนคิดเช่นนั้นทั้งการตั้งชื่อไม่ชัดเจน มีข้อมูลไม่มากพอ ซึ่ง Jeff แก้ปัญหาโดยการเพิ่ม Content ที่ชัดเจนให้เหมือนโฆษณาชวนเชื่อในโลกแห่งความเป็นจริง ทำให้ความเชื่อมั่นของคนซื้อเริ่มสูงขึ้นเพราะมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่มากพอนั่นเอง

4. ทำให้ลูกค้าเชื่อให้ได้ว่าในโลกนี้มีสินค้าที่ “ดีและถูก” ในโลกอินเทอร์เน็ต

ll21

ภาพจาก goo.gl/mOVChi

สิ่งสำคัญของตลาดออนไลน์ไม่ใช่การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์หรือป้ายคัทเอาร์ขนาดใหญ่ งบประมาณที่จะใช้ตรงนั้นควรเอามาคืนกำไรให้ลูกค้าด้วยการทุ่มงบกับการลดราคาสินค้าบางชนิดลงและเสนอการขนส่งฟรีเพื่อเพิ่มยอดขายที่ได้ผลมากกว่า ซึ่ง Jeff ใช้วิธีนี้กับ Amazon และก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก

สิ่งหนึ่งที่ Jeff มองว่าธุรกิจตลาดออนไลน์สิ่งสำคัญคือ Customer experience ซึ่ง Jeff กล่าวว่า “ไม่จำเป็นต้องบอกใครว่าคุณดี แต่ดีให้เขาเห็นและน่าจะเป็นคำพูดที่จริง ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์”

อย่างไรก็ตามลักษณะการซื้อขายของคนไทยเองยังมีความเป็น Face-to-face สูงการตลาดออนไลน์แม้จะเติบโตมากแต่ก็ยังไม่เทียบเท่าในต่างประเทศการเอาวิธีของ Jeff มาใช้จึงต้องปรับให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการแม้จะไม่อาจเลียนแบบได้ทั้งหมด

แต่ถ้ามีทฤษฏีระดับโลกนี้ไว้เป็นแกนในการทำตลาดเชื่อว่าการทำธุรกิจออนไลน์ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายและสร้างกำไรให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้นเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/jGxfPD

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด