4 ข้อผิดพลาด! ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เริ่มมีการเติบโตและขยายตัวมากขึ้น มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณกว่า 500 กิจการ โดยในแต่ละธุรกิจแฟรนไชส์บางกิจการมีสาขาเป็นร้อยสาขา และมีแรงงานเฉลี่ยสาขาละ 3 คน ซึ่งถือว่าช่วยสร้างแรงงาน รวมถึงสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของไทยสูงถึงหลักแสนล้านบาท

ถึงอย่างไรแม้ว่าระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะมีแนวโน้มที่สดใส แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ราบรื่นและประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะปัญหาหลัก คือ ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจระบบหรือเข้าใจไม่ตรงกัน เนื่องจากบางอย่างแฟรนไชส์ซีต้องทำ แต่ก็เข้าใจว่าแฟรนไชส์ซอร์เป็นคนทำ

ดังนั้น เวลาเกิดปัญหาแฟรนไชส์ซีอาจนิ่งเฉยและรอให้แฟรนไชส์ซอร์ยื่นมือเข้ามาช่วย ในทางกลับกันแฟรนไชส์ซอร์บางคนไม่รู้ว่าอะไรคือหน้าที่ต้องทำ รวมถึงระบบการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้อัตราการเติบโตของธุรกิจช้า

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอปัญหาของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไทย รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาและการปรับปรุงให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดแฟรนไชส์ในภูมิภาค

1.การเริ่มต้นของธุรกิจในการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ไม่ถูกต้อง

ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ปัญหานี้เกิดจากเจ้าของธุรกิจมีทัศนคติไม่ถูกต้องในเรื่องระบบแฟรนไชส์ มีแนวคิดทางธุรกิจไม่ชัดเจน รวมถึงลักษณะของธุรกิจไม่เหมาะสมกับระบบแฟรนไชส์

ที่สำคัญพื้นฐานทางการดำเนินธุรกิจไม่แข็งแรงพอ อันเนื่องมาจากการขาดการประเมินความพร้อมของธุรกิจ และความเหมาะสมของธุรกิจก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการธุรกิจมักทำตามคนอื่น เห็นคนอื่นทำระบบแฟรนไชส์แล้วดีจึงทำตาม ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ การขาดความรู้ความเข้าใจ และ การไม่มีวิสัยทัศน์ ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว

2.ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

k3

ปัญหานี้เกิดการบริหารจัดการตลาดไม่มีประสิทธิผล การบริหารงานสาขาบกพร่อง การจัดการแฟรนไชส์ซีไม่ดี และขาดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์และความสามารถทางทรัพย์สินทางปัญญา

ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ” “การขาดการปฏิบัติ และวิทยาการ (Know-how) ที่ดี” รวมถึง “การไม่มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน” และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว”

3.แฟรนไชส์ที่ไม่เป็นระบบ

k5

เกิดจากเจ้าของแฟรนไชส์ออกแบบและวางระบบแฟรนไชส์ไม่ละเอียดรอบคอบ และไม่ทีมงานที่จะประสานงานระหว่างองค์กรกับผู้ซื้อ จึงทำให้ขาดการสื่อสารที่ชัดเจน ไม่สามารถถ่ายทอดถึงแนวคิดและการปฏิบัติที่ถูกต้องได้

ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ การขาดการปฏิบัติ และวิทยาการ (Know-how) ที่ดี” รวมถึงการไม่มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว”

4.อัตราการเติบโตของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ช้ามากเกินไป

k6

เกิดจากภาพรวมของธุรกิจในระบบมีความแตกต่างมากเกินไป ธุรกิจที่มีศักยภาพมาตรฐานมีน้อย อีกทั้งธุรกิจขนาดเล็กมีมากเกินไป ทำให้ขาดความเหมาะสมในความคุ้มค่าของการลงทุน

นอกจากนี้ ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการบริการจัดการระบบ ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการขยายตัว พร้อมทั้งขาดแนวทางการสร้างทางเลือกในการลงทุนให้กับประชาชน รูปแบบการลงทุนของธุรกิจขาดระบบการสนับสนุน เช่น การกำกับดูแล การจัดหาแหล่งเงินทุน และความเข้าใจของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ เป็นต้น

k2

จากปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยจะต้องได้รับการปรับปรุง เพื่อการรองรับการขยายตัวในตลาดภูมิภาค ดังต่อไปนี้

  1. การกำหนดทิศทางในการขยายตัวให้ชัดเจน โดยเฉพาะการขยายสาขาในประเทศ และขยายสาขาในต่างประเทศ รวมถึงแนวทางการสร้างระบบและมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  2. การสนับสนุนธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องมีการวางแผนในระยะยาวมากขึ้น เพื่อให้การเติบโตเป็นไปตามเป้าหมาย
  3. การวางรูปแบบการพัฒนานักธุรกิจ และบุคลากรที่เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ ที่เป็นคนไทยและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริง เพราะระบบแฟรนไชส์จะแข็งแกร่งได้ส่วนหนึ่งมาจากบุคลากร และทีมงาน
  4. การสร้างยุทธศาสตร์ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์สู่ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยการระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักกันยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐหาช่องทางในการเปิดตลาด ภาคเอกชนพร้อมให้การสนับสนุน โดยเฉพาะสถาบันการเงินต้องให้สินเชื่อแฟรนไชส์อัตราดอกเบี้ยต่ำ

k7

เห็นได้ว่า นอกจาก 4 ปัญหา และ 4 ข้อต้องปรับปรุงของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ไทยตามเนื้อข้างบนแล้ว ในเรื่องของกฎหมายแฟรนไชส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎ กติกาใดๆ มาดูแลแฟรนไชส์ไทย

แม้จะมีการพูดคุยกันมานานกว่า 10 ปีแล้วก็ตาม อาจเกิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะหากธุรกิจมีปัญหา แฟรนไชส์ซอร์จะพยายามหยุดปัญหานั้นให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียง ทำให้ภาครัฐเข้าใจว่าระบบแฟรนไชส์สามารถดูแลกันเองได้

เวลานี้กฎหมายดูแลแฟรนไชส์ ยังเป็นร่าง พ.ร.บ.การประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งอยู่ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังนั้น หากทุกภาคส่วนช่วยกันผลักดัน อาจช่วยให้มีกฎหมายแฟรนไชส์เกิดได้เร็วขึ้น

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/33TP5A5

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช