30 วัน ทำแฟรนไชส์พร้อมขาย!

สังเกตหรือไม่ว่า เมื่อร้านขายดี มีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ เจ้าของร้านหลายๆ ราย หรือ บางกิจการมักมีแผนขยายธุรกิจ ขยายกิจการ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร และถ้าคิดจะขายแฟรนไชส์ ก็ไม้รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นทำอะไรก่อนบ้าง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอวิธีการขยายธุรกิจด้วยการสร้างแฟรนไชส์ แบบเร่งด่วน! ภายใน 30 วัน พร้อมขายได้ทันที ซึ่งการออกแบบธุรกิจให้เหมาะกับระบบแฟรนไชส์ นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการสร้างโอกาสความสำเร็จ

1.ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์

68

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้และมีทีมงาน ที่มีความอดทนและมีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เมื่อคุณมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ

คุณก็จะตัดสินใจได้ว่าทำไมธุรกิจคุณต้องขายแฟรนไชส์ เพราะระบบแฟรนไชส์มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย อีกทั้งคุณยังต้องมีเงินทุนที่มากพอ ทั้งการสร้างแบรนด์ การขยายสาขาต้นแบบ

ซึ่งเงินทุนจะใช้เป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจคุณขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เพราะระบบธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์และทำการตลาดให้ธุรกิจของคุณมีชื่อเสียง จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ก่อนที่จะขายสิทธิให้กับคนอื่น

สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในการสร้างแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คลิก! bit.ly/2GhQrbz

2.สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์

63

สิ่งที่จะพิสูจน์เรื่องของการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ก็คือ การสร้างร้านต้นแบบ ถือเป็นการจัดระเบียบธุรกิจใหม่ จากที่เคยทำอยู่เดิม เพื่อวางระบบการทำงานให้เป็นมาตรฐานรูปแบบเดียวกันทุกสาขา เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้า การบริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เหมือนกันทุกร้าน

การออกแบบการทำงานของร้านต้นแบบ จะช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานชัดเจนขึ้น เห็นภาวะของธุรกิจด้านกำไรขาดทุนชัดเจนมากขึ้น ทำให้เห็นข้อดีข้อเสียของระบบงานที่คิดขึ้นมา มีประโยชน์ในการศึกษารายละเอียด และผลตอบรับในทุกแง่มุม

ร้านต้นแบบ สามารถนำมาใช้วางโครงสร้างทางการเงิน จากรายละเอียดในการลงทุน อาทิ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ลูกค้ากี่คนถึงจุดคุ้มทุน ยอดขายต่อเดือนที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และควรมีเป้าหมายลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่

3.กำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

67

ก่อนที่จะตัดสินใจคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่าธรรมเนียมต่างๆ ต้องตรวจสอบถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างรอบคอบ และความเป็นไปได้ว่าค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บ หากแฟรนไชส์ซีอยู่ต่างประเทศ ก็จะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แตกต่างจากในประเทศ

การคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ จะมีค่าใช้จ่ายๆ อื่นมาประกอบด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการสำรวจตลาด และรูปแบบพื้นที่ในแต่ละเขต เมื่อต้องลงทุนต้องแม่นยำเรื่องตัวเลขขนาดตลาด คุณภาพของทำเลให้ดี เพื่อให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า ยอดขายที่จะเกิดขึ้นในสาขาที่สำรวจนั้นจะเป็นเท่าไร

ค่าใช้จ่ายต่อมาที่มีผลต่อเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ คือ เรื่องการอบรมทีมงาน ในการจัดอบรมอาจมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ระหว่างการฝึก และค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าสอนของทีมงาน ทั้งภายนอกภายในที่ต้องจัดขึ้น อีกทั้งหากเป็นการฝึกงานในสถานที่จริง ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เป็น เช่น ค่าดำเนินการสามารถคิดเป็นต่ออาทิตย์

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องใช้อีกเรื่อง คือ การเตรียมเปิดสาขา ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายของทีมงานอย่างน้อยก่อนวันเปิดอย่างน้อย 2 วัน อาทิ ค่าเครื่องบิน ค่าวิทยากร ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ค่าแรงงานพิเศษ เป็นต้น

4.ออกแบบกระบวนการบริหารงาน

65

การออกแบบกระบวนการบริหารงานนับเป็นหัวใจสำคัญของแฟรนไชส์ ธุรกิจที่จะสร้างแฟรนไชส์ต้องรู้จัก “ออกแบบกระบวนการทำงาน” หรือ Systematic Management คือ ต้องรู้จักบริหารจัดการให้เป็นรูปแบบเชิงระบบให้ได้

นักการตลาดส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญแต่การสร้างแบรนด์ แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ กลับควบคุมคุณภาพไม่ได้ เป็นผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบความสำเร็จ

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุมคุณภาพไม่ได้ เพราะสร้างแต่การตลาด แต่ไม่ได้สร้างระบบงานรองรับ ดังนั้น การสร้างระบบและขั้นตอนการทำงานจึงต้องละเอียด เข้าใจง่ายและทำเป็นลายลักษณ์อักษร ถ่ายทอดได้ง่าย

5.วางระบบบริหารความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซี

66

ระบบแฟรนไชส์เป็นกระบวนการที่ต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งผลประโยชน์ คือ เจ้าของแฟรไชส์ช่วยผู้ซื้อแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็จ่ายผลประโยชน์กลับมา

ดังนั้น ในธุรกิจแฟรนไชส์หากแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถสร้างประโยชน์กลับมาได้อย่างต่อเนื่องก็จะลำบาก ฉะนั้นแล้วการบริหารความสัมพันธ์ในระบบแฟรนไชส์ นับเป็นอีกเรื่องที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเรียนรู้ วิธีการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีด้วย

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้แฟรนไชส์ซีเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนด้านเครือข่าย และกลยุทธ์ในการจัดการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม แต่ละเครือข่ายอย่าให้ไปทับซ้อนทำเลกันเอง โดยพิจารณาไม่เพียงแต่ระหว่างเครือข่ายแฟรนไชส์ซีของคุณเอง แต่ต้องพิจารณาทำเล เผื่อไปถึงการแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ ด้วย

6.สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์

64

สัญญาแฟรนไชส์แม้จะเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนจะขายแฟรนไชส์ เพราะต้องผ่านการเตรียมระบบ ระบบงาน และมีคู่มือการทำธุรกิจก่อน แต่ความสำคัญของสัญญาแฟรนไชส์ ก็คือ

เครื่องมือผูกความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่จะมีต่อกัน สัญญาที่ทำร่วมกัน ผู้สร้างแฟรนไชส์ควรมีการออกแบบสัญญาที่ดี

มีความยุติธรรมและก่อประโยชน์ในการสร้างอนาคตทางธุรกิจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย คุณควรให้นักกฎหมายหรือทนายทำให้ หรือหาบริษัทที่ปรึกษามาให้คำแนะนำในส่วนนี้ได้

7.สร้างระบบคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

62

การขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีการสร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เข้มแข็ง เป็นการคัดกรองผู้ที่มีความเหมาะสมช่วยคุณขยายงานได้จริง หากเลือกไม่ดี

แบรนด์ของคุณจะถูกทำลายให้เสียหายหรือลดความน่าเชื่อถือได้ การเป็นคู่ค้าระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่ไม่ประสบความสำเร็จ ย่อมนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือแก่นักลงทุนคนอื่น

เมื่อคัดเลือกแฟรนไชส์ได้แล้ว แฟรนไชส์ซอร์จำเป็นต้องมีระบบการอบรม และวิธีการทำให้นักลงทุน เป็นนักธุรกิจตามที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ และสุดท้ายก็คือเรื่องของการพัฒนาองค์กรต่อเนื่องจริงจังให้เป็นองค์กรแฟรนไชส์ที่แท้จริง

8.สร้างระบบการฝึกอบรมแฟรนไชส์ซี

60

ภาพจาก facebook.com/ido4idea

ต้องยอมรับว่า การซื้อแฟรนไชส์เป็นมากกว่าการซื้อขายธรรมดา เพราะเป็นคู่ค้าคู่ธุรกิจที่จะสร้างอนาคตร่วมกัน เมื่อคุณพัฒนาธุรกิจจนแบรนด์มีความแข็งแรง สามารถสร้างระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่าย แต่หากขาดการวางระบบการฝึกอบรม เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดระบบการทำงานต่างๆ ของธุรกิจไปสู่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โอกาสที่จะล้มเหลวย่อมมีมาก

ดังนั้น คู่มือการอบรมดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้ก่อนจะเริ่มนำเสนอการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ การถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติงานได้ มีวิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างเหมาะสมเข้าใจง่าย รวมถึงการวางแนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

คู่มือนี้ทำหน้าที่เป็นคู่มือการทำงาน สร้างระบบการอบรม ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ รวมไปถึงการสร้างระบบตรวจสอบ เพื่อควบคุมมาตรฐานของร้านตามที่กำหนดไว้ เปรียบเสมือนเครื่องมือควบคุมการทำงานให้ราบรื่น มีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่ง

ทั้งหมดถือเป็นขั้นตอนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ภายใน 30 วัน พร้อมขายทันที ไม่ใช่ว่าใครอยากขายแฟรนไชส์ อยู่ดีจะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์กันได้เลย คุณต้องทำการศึกษาระบบและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้

นอกจากจะสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียงในตลาดแล้ว ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สเรียนแฟรนไชส์จากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงเข้ารับการอบรมทำธุรกิจแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips

  1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์
  2. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  3. กำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
  4. ออกแบบกระบวนการบริหารงาน
  5. วางระบบบริหารความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซี
  6. สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์
  7. สร้างระบบคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
  8. สร้างระบบการฝึกอบรมแฟรนไชส์ซี 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wOMLX8

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช