3 เปลี่ยน! สื่อสิ่งพิมพ์ในยุคดิจิตอล

ในโลกยุคใหม่เราอาจไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการรับเอา เทคโนโลยี เข้ามานั้นค่อยๆแทรกซึมมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันจนบางครั้งทำให้เราลืมนึกถึงสิ่งที่เราเคยทำในอดีตโดยเฉพาะกับนิตยสารและสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจน

www.ThaiSMEsCenter.com แม้จะเป็นสื่อด้านดิจิตอลแต่ก็มองเห็นความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทรงคุณค่าจึงสะท้อนมุมองและบอกถึงทางเลือกน่าสนใจที่สิ่งพิมพ์ในโลกยุคดิจิตอลควรปรับตัวเพื่อสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ให้มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์หลังการเข้ามาของยุคดิจิตอล

เทคโนโลยี

ภาพจาก goo.gl/v7JTgt

ปี 2558 ถือเป็นจุดเริ่มที่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไทยเข้าขั้นวิกฤติอย่างแท้จริง ทั้งจากพฤติกรรมผู้อ่านที่เลิกพลิกอ่านข้อมูลบนหน้ากระดาษหันมาสไลด์จอดูสิ่งที่สนใจผ่านโลกออนไลน์

และจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ทรุดตัวพร้อมกันทั่วโลก ส่งผลกระทบเงินโฆษณาซึ่งเป็น “ท่อน้ำเลี้ยงหลัก” ของธุรกิจสิ่งพิมพ์หลายๆ แขนง ทำให้นิตยสารจำนวนหนึ่งต้องประกาศปิดตัวลง

หลังเม็ดเงินโฆษณาในช่วง 10 ปีหลังลดลงถึงกว่า 1 ใน 3 ขณะที่หนังสือพิมพ์แม้จะยังเปิดดำเนินการได้แต่ก็มีมาตรการรัดเข็มขัดด้วยการประกาศไม่รับคนเพิ่ม

แน่นอนว่าผลกระทบนี้เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ตั้งแต่สายส่ง ร้านหนังสือ สำนักพิมพ์ ฯลฯ ไปจนถึงตัวนักเขียนเองด้วยและถ้าเราติดตามข่าวสารกันมาตั้งแต่ต้นปีจะพบว่าในปี 2559 มีนิตยสารหลายฉบับในเมืองไทยทยอยปิดตัวกันอย่างต่อเนื่องที่ยังพออยู่รอดได้ก็ต้องมีมาตรการในการรัดเข็มขัดหรือว่าปรับตัวกันขนานใหญ่ทีเดียว

รายชื่อสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องปิดตัวในปี 2559

  1. นิตยสารพลอยแกมเพชร ที่วางแผงมานานกว่า 25 ปี โดยฉบับสุดท้ายคือฉบับที่ 598 วางแผง 16 ธันวาคม 2559
  2. นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์ ที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 61 ปี วางแผงฉบับสุดท้ายคือวันที่ 31 ตุลาคม 2559
  3. นิตยสารเปรียว ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 35 ปี ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายในเดือนธันวาคม 2559
  4. นิตยสารเกม Play ที่ประกาศยุติการพิมพ์มาตั้งแต่ต้นปี 2559 โดยมีเป้าหมายมุ่งหน้าสู่โลกดิจิตอลเต็มตัว
  5. การ์ตูนรายสัปดาห์อย่าง Boom และ C-Kid จากสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ปิดตัวอย่างถาวรเพราะคนหันไปอ่านออนไลน์
  6. นิตยสาร Cosmopolitan Thailand นิตยสารหัวนอกสัญชาติอเมริกันฉบับภาษาไทยที่มีอายุยาวนานเกือบ 20 ปี ปิดตัวลงเมื่อเมษายน 2559
  7. นิตยสารแนววัยรุ่น Candy ของค่ายโมโน กรุ๊ป ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเมื่อเดือนมกราคม 2559
  8. นิตยสารแฟชั่น Volume จากค่ายของโมโน กรุ๊ป เช่นกัน ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559

ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์รายใหญ่ระดับประเทศอีกจำนวนหนึ่งก็ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาใหญ่ครั้งนี้โดยบริษัท เดอะนีลเส็นคอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยว่าเม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสิ่งพิมพ์ลดลงอย่างมาก

โดยหนังสือพิมพ์ลดลงกว่า6.45% ส่วนนิตยสารหนักกว่า ลดลงถึง 14.28% แน่นอนบริษัทรายใหญ่ในวงการนี้เช่น บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด , บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) , บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ต่างก็เจอมรสุมกันไปเต็มๆ ทุกบริษัทมีตัวเลขขาดทุนสะสมกันไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทเลยทีเดียว

มองกลยุทธ์สื่อสิ่งพิมพ์ต่างชาติปรับตัวอย่างไรในยุคดิจิตอล

j26

ภาพจาก goo.gl/jNxVBZ

แม้ว่าสื่อในบ้านเราเรียกว่าแตกกระเจิงกันไปไม่ใช่น้อยมุมกลับกันในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศที่ถือว่าโลกดิจิตอลเข้ามามีบทบาทไม่แพ้ในประเทศไทยแต่สื่อสิ่งพิมพ์กลับยังอยู่รอดได้ซึ่งกลยุทธ์สำคัญ 3 ประการที่ควรเรียนรู้ไว้และน่าจะนำมาปรับใช้ในบ้านเราได้คือ

1.สร้าง Content ที่น่าสนใจและไม่สามารถหาอ่านได้ที่ไหนขึ้นมา

j28

ภาพจาก goo.gl/FfCMsM

อย่าง The Guardian ซึ่งมีผู้อ่านไม่ต่ำกว่า 300,000 คน/สัปดาห์ โดย Content ของ The Guardian คือเมนูดึงดูดที่ทำให้คนอังกฤษรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีในสื่อดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์ที่เจาะลึกแบบเห็นภาพ มีการกลั่นกรองก่อนนำเสนอ

รวมถึงการนำเสนอที่เข้าใจได้ง่าย และมีการตีพิมพ์รูปภาพที่บางครั้งสามารถตัดเก็บไว้ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงหนังสือพิมพ์อย่าง The Sun ที่เรียกว่าเป็นวาไรตี้แห่งการนำเสนอและเกาะติดสถานการณ์ยิ่งกว่าสื่อดิจิตอล ทำให้คนมองหาการอัพเดทข่าวสารต่างรอคอยจะอ่านความจริงในหนังสือพิมพ์มากกว่าจะเสพข่าวจากสื่อดิจิตอล

2.มองโมเดลใหม่ๆในการขายสื่อโฆษณา

j30

ภาพจาก goo.gl/rydJ1h

การปรับตัวเรื่องนี้สำคัญมากสื่อสิ่งพิมพ์ในอังกฤษทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าการเปลี่ยนแปลงแบบถูกทางสร้างให้ธุรกิจเดินหน้าแบบไม่มีสะดุดโดยเฉพาะการเพิ่มรูปแบบใหม่ให้กับเหล่าสปอร์นเซอร์สนใจมาเลือกลงโฆษณษ โดย

ที่ The Gurdian เองก็มีรูปแบบโฆษณาแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘barndoor format’ ที่จะเป็นหน้าที่เชื่อมไปก่อนสู่หนัาแรกของหนังสือพิมพ์ ซึ่งสามารถสร้างกระแสและหลาย ๆ แบรนด์ก็ซื้อแล้วได้ผลดี เช่นเป็น Heineken หรือใน The Sun เองก็มี รูปแบบ ใหม่ ๆ เช่นการขายโฆษณาที่สามารถกางออกมาเป็นขนาด Poster 6 แผ่นได้

ซึ่งจะเหมาะกับแบรนด์ที่อยากจะประกาศความยิ่งใหญ่ของตัวแบรนด์หรือโฆษณาอีเว้นท์ใหญ่ ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบเป็นโปร่งใส ที่สามารถให้แบรนด์มาซื้อได้อย่างเช่น Oreo เป็นต้น

3.ร่วมมือสร้างสัมพันกับสื่อดิจิตอล

j31

ภาพจาก goo.gl/i3TcY9

ที่อังกฤษเองนั้นมีข้อมูลว่าการส่งเสริมภาพลักษณ์เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และดิจิตอลนั้นมีความสำคัญมาก หลายอย่างที่ดิจิตอลทำไม่ได้และจุดแข็งของดิจิตอลหลายอย่างที่สื่อสิ่งพิมพ์ควรยึดไว้เพื่อให้ทำงานร่วมกันโดยพบว่าถ้าทั้งสื่อดิจิตอลและสิ่งพิมพ์ส่งเสริมกันและกันได้ประสิทธิภาพในการนำเสนอจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า

ในประเทศเยอรมันนีเองก็พบว่าสิ่งพิมพ์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะ Print นั้นสามารถทำให้เข้าถึงกลุ่มคนใหญ่ที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมาก ในช่วงเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้การใช้เวลากับสื่อสิ่งพิมพ์นั้นยังเป็นการใช้เวลาที่คุณภาพมากกว่าสื่ออื่น ๆ ที่ขาดความตั้งใจในเรื่องการนำเสนอเหล่านี้

การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอเป็นหน้าที่ของธุรกิจเองที่จำเป็นต้องเดินตามกระแสเหล่านั้นให้ทัน การเรียนรู้จุดแข็งตัวเองและเสริมในจุดที่ตัวเองด้อย

พร้อมกับมองหาช่องทางใหม่ๆ น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับการประคองตัวให้อยู่รอดปลอดภัยในเวทีธุรกิจยุคใหม่ สิ่งสำคัญคือห้ามหยุดเรียนรู้ และต้องกระตือรือร้นหาช่องทางรายได้ใหม่ๆอยู่เสมอๆ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ในการทำธุรกิจของตัวเองโดยเฉพาะ

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด