3 วิธีปรับตัวร้านค้าปลีก สู้ศึกตลาดยุคดิจิตอล ปี 2017

รูปแบบของ ร้านค้าปลีก แม้จะเป็นการลงทุนที่หลายคนมองว่าสามารถพัฒนาได้ยากอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ยุคดิจิตอลที่การค้าออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างสูง

ในปีที่ 2016 ที่ผ่านมามูลค่าการซื้อขายในส่วนของร้านค้าปลีกขนาดเล็กเองก็ได้รับผลกระทบกันเป็นอย่างมากที่ยังพออยู่ได้คือรูปแบบร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่หันมาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับกระแสยุคดิจิตอลมากขึ้น

ในฐานะที่ www.ThaiSMEsCenter.com อยู่ในแวดวงธุรกิจมายาวนานมองว่าร้านค้าปลีกเป็นอีกสีสันหนึ่งของการลงทุนที่น่าสนใจและไม่มีวันสูญหายไปได้

แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการเองก็ต้องสรรหากลยุทธ์การตลาดยุคใหม่นำมาปรับใช้ให้สมดุลเพื่อจะได้เปลี่ยนจากคำว่าโชห่วยทั่วไปให้กลายเป็นร้านค้าชั้นนำที่ดึงดูดลูกค้าได้ดีไม่แพ้ห้างร้านขนาดใหญ่

และการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ยังรับมือถึงการค้าออนไลน์ที่ในเมื่อเราปฏิเสธไม่ได้ก็เอามาทำให้เป็นส่วนหนึ่งของร้านค้าปลีกซะเลย และต่อไปนี้คือ 3 วิธีที่เราอยากแนะนำเพื่อสร้างความรู้จัก ความสัมพันธ์และบอกให้โลกรู้ว่า ร้านค้าปลีกในปี2017 ก็มีดีไม่แพ้ธุรกิจอื่นเช่นกัน

1. เปลี่ยนร้านค้าให้เป็น “โชว์รูม”

ร้านค้าปลีก

ภาพจาก goo.gl/C0Dbzq

ลูกค้าในยุค 2017 ไม่ใช่เพียงแต่เข้าร้านแล้วจะซื้อสินค้าได้ทันที ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่จะมีการเช็คข้อมูลคุณภาพและราคาของสินค้าและบริการที่จะใช้ก่อนซื้อ ทำให้ลูกค้ารู้สึก “ฉลาด” ถ้าของในออนไลน์ถูกกว่า ลูกค้าก็จะซื้อของผ่านออนไลน์ร้านค้าออฟไลน์จึงไม่ใช่พื้นที่ขายสินค้าแต่เป็นพื้นที่แสดงสินค้าเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นจากเดนมาร์กอย่าง Vero Moda ไม่โชว์สินค้า แต่ออกแบบภาพสินค้าคอลเล็คชั่นใหม่ๆ ติด QR Code แสดงราคาและรายละเอียดของสินค้า สั่งสินค้าและจ่ายเงินจากคอมพิวเตอร์ในร้าน

op21

ภาพจาก goo.gl/SH9Pgl

ส่วน Audi City โชว์รูมดิจิทัลก็เป็นกรณีศึกษาอีกแห่งที่น่าสนใจซึ่งที่นี่ไม่ต้องเอารถจริงๆมาโชว์ แต่ใช้จอมัลติทัช สกรีน, พาวเวอร์ วอล, โต๊ะ มัลติทัช, เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ให้ลูกค้าได้เลือกสี เครื่องยนต์

และประเภทของรถได้เองเหมือนได้ขึ้นขับจริงๆ ทำให้โชว์รูมนี้ยกรถไปจัดแสดงที่ไหนก็ได้ หมดปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้าย และยังทำให้เลูกค้าเกิดความรู้สึกร่วมในการซื้อขายได้อย่างดีอีกด้วย

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ IKEA ที่ทำโปรเจค IKEA Apartment โดยทำร้านทั้งร้านให้เป็นป้ายโฆษณา โชว์สินค้าที่หลากหลาย และให้ประสบการณ์แก่ลูกค้าทางอ้อม ลูกค้าจึงสามารถเห็นชีวิตประจำวันในห้องแคบๆผ่านกระจกใสและเว็บไซต์ ถือเป็นการโปรโมทคุณภาพสินค้าของทาง IKEA ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

2. เปลี่ยนร้านค้าให้เป็น “ป๊อปอัพ สโตร์”

op22

ภาพจาก goo.gl/BwK9Ad

ในปี 2017 นี้ร้านค้าปลีกควรจะขยันออกมาจัดอีเวนท์ขายสินค้านอกร้านในช่วงเวลาสั้นๆ ในที่แปลกๆ บรรยากาศใหม่ๆ มีธีมไม่ซ้ำใคร มีของพิเศษจำนวนจำกัดมาขาย

ประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าเพื่อดึงดูดให้คนอยากซื้ออยากใช้ ลูกค้ามาที่ร้านก็สนุกกับกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ร้านค้ากลายเป็นสื่อกลางติดต่อสื่อสารระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ตลอดเวลาถือเป็นการช่วยเพิ่มยอดขายไม่รู้จบ

อย่างเช่น Starbucks Espresso Journey กิจกรรมการตลาดจาก Starbucks ที่ช่วยผ่อนชีวิตที่เร่งรีบด้วยกาแฟที่เลือกสรรและเอสเปรซโซ่ที่หลากหลายโดยไม่ต่อแถวซื้อกาแฟ แต่เลือกหนังสือที่แทนเครื่องดื่มเอสเปรซโซ่สีต่างๆ เอาหนังสือแลกชิมเครื่องดื่ม และได้ซื้อหนังสือกลับบ้านไป

op23

ภาพจาก goo.gl/9640Iy

รวมถึงรถไฟฟ้า Tama Monorail Line ของญี่ปุ่นก็เช่นกันขบวนรถจะถูกตกแต่งด้วยเครื่องใช้ของ IKEA ไม่ว่าจะเป็น โตะ เก้าอี้ เบาะรองนั่ง คัดเลือกคนมาอยู่ในรถไฟ ได้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่

และตัวอย่างสุดท้ายคือแคมเปญปาร์ตี้ค้างคืนที่ IKEA คัดเลือกคน 100 คนอายุไม่เกิน 25 ปีสวมชุดนอน IKEA เตรียมของใช้จำเป็นในบ้านและความบันเทิง และโปรโมทสินค้าตัวเอง พร้อมมีผู้เชียวชาญด้านการหลับคอยดูแล ให้ลูกค้าได้รู้ว่า IKEA ใส่ใจลูกค้าจริงๆ

3. เอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

op24

ภาพจาก goo.gl/9AYkMm

การดึงจุดเด่นของธุรกิจค้าขายออนไลน์มาใช้ร่วมกับร้านค้าปลีกก็น่าสนใจมากเพราะร้านค้าออนไลน์ไม่ใช่แค่พื้นที่ขายของบนอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว

แต่เป็นพื้นที่ที่ลูกค้าได้รับประสบการณ์สนุกๆ และดึงความสนใจลูกค้าจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในฐานะที่เป็นร้าค้าปลีกยุคใหม่ก็ควรเพิ่มศักยภาพในการขายด้วยอย่างเช่นในช่วงเวลาดึกๆที่เราอาจไม่สามารถอยู่ดูแลร้านค้าได้การสร้างระบบการขายด้วยลูกเล่นก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

เช่น Adidas NEO Label ที่เยอรมัน แค่ใช้สมาร์ทโฟนและจอแสดงผลอัจฉริยะหน้าร้าน ก็มีนางแบบโต้ตอบกับเรา สนใจสินค้าตัวไหนก็เลือกได้เลยยิ่งช็อปปิ้งได้เร็ว ยิ่งได้ลดราคาหรือแคมเปญจาก Puma ทำให้เรารู้ว่าร้านเป็นตัวกลายสื่อสารว่าเป็นแบรนด์เกี่ยวกับอะไร มีธีมและคอนเซ็ปท์อย่างไร เพื่อทำให้ลูกค้าได้ช็อปปิ้งสนุกๆมากยิ่งขึ้นด้วย

op25

ภาพจาก goo.gl/kq4L1M

ทุกธุรกิจควรมีการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับยุคสมัยเพราะการเข้าร่วมกับกระแสอินเทรนด์ไม่ใช่สิ่งที่ผิดและก็ไม่ได้ทำให้เอกลักษณ์ของธุรกิจนั้นเปลี่ยนแปลงไป

ธุรกิจที่เน้นการอนุรักษ์แบบสุดโต่งไม่โอนอ่อนไปตามยุคสมัยไม่ถือว่าเป็นธุรกิจที่ดีอาจเป็นเพียงแค่ความทรงจำที่น่าสนใจมีหลายวิธีที่ทำให้ยุคสมัยอยู่ร่วมกับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้คุณค่าของธุรกิจคือการทำให้ลูกค้าพึงพอใจและนั่นก็เป็นโจทย์ใหญ่ที่ผู้ลงทุนต้องหาคำตอบให้ดีเพื่อจะได้มีแนวทางการเดินที่ถูกต้องมั่นคงต่อไป

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด