19 พันธะที่ต้องมีในสัญญาแฟรนไชส์

สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นสัญญาที่กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบไว้ แต่ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญา เช่น พื้นที่ จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินการในเขตพื้นที่ใดได้บ้าง ค่าธรรมเนียม สิทธิและหน้าที่ การให้การสนับสนุนแฟรนส์ไชส์ซี ระยะเวลาสัญญา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องระบุในสัญญาแฟรนไชส์ให้ครบถ้วนที่สุด

แม้ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายรายจะรู้ดีว่า หน้าที่การทำสัญญาแฟรนไชส์เป็นงานของนักกฎหมาย ทนายความเป็นคนร่าง แต่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ต้องมีความรู้ในเรื่องสัญญาแฟรนไชส์อยู่บ้าง เพื่อเป็นผู้ให้แนวทางกับทนายความ ว่าต้องการให้สัญญาแฟรนไชส์บังคับใช้ในเรื่องอะไรบ้าง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีแนวทางการเขียนสัญญาแฟรนไชส์แบบคร่าวๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Entrepreneur.com เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ และจะได้รู้ว่าในสัญญาแฟรนไชส์ ต้องมีเงื่อนไขใดๆ รวมถึงสิ่งที่จะต้องระบุไว้ในสัญญา เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์

สัญญาแฟรนไชส์

1.เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน

เป็นการระบุรายการของเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ทั้งหมดในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกรรมสิทธิ์ และข้อกำหนดสำคัญระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ กับ แฟรนไชส์ซี

2.การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์

เป็นการระบุถึงรายละเอียดของรูปแบบร้านแฟรนไชส์ สถานที่ตั้ง ขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินทางปัญญา ระยะเวลาของสัญญา การต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และอื่นๆ

tt1

3.หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องปฏิบัติ และดำเนินการ ก่อนและหลังเปิดแฟรนไชส์ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น การให้การสนับสนุนด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี

4.หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติและยึดถือ เพื่อให้สามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแฟรนไชส์ซอร์ เช่น ซื้อสินค้า วัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ อนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า

5.มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิค

เป็นการระบุถึงกระบวนการต่างๆ ทั้งในด้านการผลิต การจัดจำหน่าย การให้บริการ การฝึกอบรม การเงินการบัญชีและการบริหารร้านแฟรนไชส์ การควบคุมคุณภาพแฟรนช์ ที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำข้อตกลงร่วมกัน

tt6

6.ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์

ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์เป็นเงินที่แฟรนไชส์ซีจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อแลกกับการที่ได้โอกาสในการใช้สิทธิ์ประกอบการร้านแฟรนไชส์ โดยเงินดังกล่าวอาจเรียกเก็บตามสัดส่วนของยอดขายในแต่ละเดือน หรือตามแต่จะตกลงกัน

7.การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย

เป็นการระบุเงื่อนไขและรูปแบบของการทําโฆษณาและการส่งเสริมการขาย รวมถึงการระบุจำนวนเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ที่แฟรนไชส์ซอร์จะเรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี

8.การประกันภัย

เป็นการระบุถึงรูปแบบการทําประกันภัยที่แฟรนไชส์ซีพึงดําเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบการร้านแฟรนไชส์

8

9.บัญชีงบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ

เป็นการระบุเกี่ยวกับรูปแบบทางการบัญชีและการเงิน ที่แฟรนไชส์ซีต้องดำเนินการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถเข้าตรวจสอบทางการบัญชีและการเงินได้

10.การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและกรณีต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และผลที่จะเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาและการเลิกสัญญา

11.การไม่เปิดเผยความลับ

การขายแฟรนไชส์ จำเป็นจะต้องถ่ายทอดวิชาเฉพาะธุรกิจนั้นๆ ให้ผู้ซื้อ เช่น ร้านอาหารอาจจะมีเคล็ดลับเรื่องสูตรอาหารหรือกลยุทธ์พิเศษในเรื่องของการทำการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดเผยคู่มือในการทำธุรกิจ ที่มีรายละเอียดทุกอย่างที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้ศึกษาขึ้นมา ด้วยประสบการณ์เป็นเวลานาน

เมื่อได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว อาจจะมีโอกาสที่จะถูกนำไปเปิดเผยได้ ดังนั้น ในสัญญาควรมีการกำหนดในเรื่องนี้ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่จะต้องรักษาความลับแม้กระทั่งเลิกสัญญาต่อกันไปแล้ว

9

12.การจัดการข้อพิพาท

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและการดำเนินการ ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี หากเกิดปัญหาขึ้น เช่น หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาแฟรนไชส์ฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองจะต้องตกลงระหว่างกัน ให้ทำการฟ้องร้องและดำเนินคดี ที่ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา

13.การอบรม

เป็นส่วนที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเปิดเผยให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้รับรู้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมรูปแบบไหน อบรมสถานที่ใด รวมถึงสิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเตรียมตัวในการฝึกอบรม หรืองานสัมมนา

14. การแต่งตั้ง

คือการกำหนดอาณาเขตที่คุณจะให้แก่แฟรนไชส์ซี ที่ในสัญญา ก็จะมีระบุว่าคุณจะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้รับสิทธิการดำเนินธุรกิจสิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการขายสินค้า ในอาณาเขตใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไรซึ่งคุณต้องคิดก่อน และกำหนดเอาไว้ในสัญญา

6

15.ข้อกำหนดเรื่องการเลือกสถานที่

โดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจแฟรนไชส์ บริษัทแม่มักมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่ ดังนั้นในสัญญาอาจจะมีการกำหนดไว้ในเรื่องนี้ว่า บริษัทแม่จะมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่หรือไม่อย่างไร

เนื่องจากผู้ขายแฟรนไชส์ที่ดี ส่วนมากจะต้องไม่ทำให้ธุรกิจที่ตั้งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นของบริษัทแม่เอง หรือของบริษัทแฟรนไชส์ซีล้มเหลว จึงมักมีความประสงค์ในการมีส่วนในการเลือกสถานที่ตั้งเพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจดำเนินกิจการไปได้

16.การโฆษณาส่งเสริมการขาย

การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายเป็นอันดับหนึ่งที่สำคัญที่มักจะสับสนกันที่ควรจะมีการพูดถึงในสัญญาโดยระบุว่าใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมการขาย และการโฆษณาใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย จะมีค่าใช้จ่ายส่วนรวมในการโฆษณาหรือไม่อย่างไรหรือมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาท้องที่ของร้านแฟรนไชซี่หรือไม่เป็นการระบุให้เข้าใจตรงกัน

17.ระเบียบในการดำเนินธุรกิจ

ในธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องมีการกำหนดระเบียบในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ดังนั้น ในสัญญาแฟรนไชส์อาจจะมีการระบุคือ ระเบียบที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ตรวจสอบการดำเนินงานร้าน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของร้าน เป็นต้น

10

18.การโอนสัญญา

หากมีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ไปแล้วเกิดไม่อยากทำขึ้นมา ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์จะมีสิทธิ์โอนต่อให้คนอื่นได้หรือไม่ ประเด็นนี้ผู้ขายแฟรนไชส์ควรคิดเอาไว้ก่อน แล้วระบุกฎเกณฑ์เรื่องนี้ไว้ในสัญญา และการโอนจะโอนได้ในเรื่องอะไรบ้าง

19.เอกสารแนบท้าย

ในการทำสัญญาอาจมีข้อสัญญาหลายเรื่อง เป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิเครื่องหมายการค้าหรือเอกสารรายละเอียดอื่นๆ ที่แนบท้าย ซึ่งอาจจะระบุอ้างอิงถึงเอกสารแนบท้าย และระบุว่าส่วนใดอยู่ภายใต้สัญญาฉบับนี้ด้วย

เรื่องของการค้าสัญญาระหว่างกัน ควรจะมีความเป็นธรรม ที่ให้โอกาสอีกฝ่ายหนึ่งได้อ่านทบทวนโดยละเอียดและได้ต่อรองในข้อตกลงต่างๆ กันก่อน ซึ่งการทำสัญญา ถ้าผู้ขายแฟรนไชส์จะสร้างระเบียบต่างๆ ขึ้นมา โดยที่ดูเป็นการเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง ก็อาจจะไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เพราะอาจจะอยู่ในลักษณะของสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

แม้ว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์จะรู้หลักการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ แต่จริงๆ แล้ว การจัดทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละกรณี ควรได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำจากนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นวิธีการดีที่สุด ในการป้องกันความเสียหายและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลัง อย่าลืม! ต้องมีทนาย นักกฎหมาย ก่อนลงมือเขียนสัญญาฯ


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

ใครที่มีสนใจอยากลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ อยากซื้อธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว สามารถคลิกเข้าไปข้อมูลการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ หลากหลายแบรนด์ ได้ที่ goo.gl/H3S0hg

Franchise Tips

  1. เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน
  2. การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์
  3. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์
  4. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี
  5. มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิค
  6. ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์
  7. การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
  8. การประกันภัย
  9. บัญชีงบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ
  10. การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา
  11. การไม่เปิดเผยความลับ
  12. การจัดการข้อพิพาท
  13. การอบรม
  14. การแต่งตั้ง
  15. ข้อกำหนดเรื่องการเลือกสถานที่
  16. การโฆษณาส่งเสริมการขาย
  17. ระเบียบในการดำเนินธุรกิจ
  18. การโอนสัญญา
  19. เอกสารแนบท้าย

 

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/37KFyxA

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช