15 แฟรนไชส์ต่างประเทศยอดนิยมในประเทศไทย

ถ้าเราวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่ มองหาอาชีพ เป็นของตัวเองมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริมหรือการเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยตัวเอง นั้นเพราะโลกแห่งธุรกิจกำลังเปิดกว้างโดยเฉพาะในยุคการตลาดแบบออนไลน์ที่หลายคนมองหาประโยชน์จากความก้าวหน้านี้

ซึ่งในรูปแบบการลงทุนที่หลากหลายคนจำนวนไม่น้อยก็มองหารูปแบบสำเร็จรูปของธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศซึ่งว่ากันตามจริงแล้วแฟรนไชส์แบรนด์ดังจากต่างประเทศเหล่านี้ใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ก็มีโอกาสสูงเช่นกันที่จะประสบความสำเร็จหากมีการบริหารจัดการที่ดีและมีเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสม

ในด้านตัวเลขการลงทุนพบว่าตลาดแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่า 1.85 แสนล้านบาท โดย 95% เป็นแฟรนไชส์ไทยและอีก 5% เป็นแฟรนไชส์ในต่างประเทศคาดว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผู้ประกอบการต่างชาติจะเข้ามามีสัดส่วนเพิ่มเป็น 10% เนื่องจากผู้ประกอบการไทยซื้อแบรนด์ต่างประเทศเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันแฟรนไชส์ไทยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอาหาร 20.93% อาหารและเครื่องดื่ม 20.72% การศึกษา 16.7% การบริการ 7.65% ความงาม 6.4% เบเกอรี่ 6.04% เป็นต้น และต่อไปนี้คือ 15 แฟรนไชส์ยอดนิยมของต่างประเทศที่เปิดดำเนินกิจการในไทยที่ www.ThaiSMEsCenter.com มานำเสนอให้ได้เห็นภาพชัดเจนเผื่อว่าใครสนใจจะได้ใช้เป็นแนวทางในการลงทุนได้ถูกต้อง

1.7-Eleven Inc

มองหาอาชีพ

ภาพจาก goo.gl/tDjvlk

นับว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นแฟรนไชส์ที่คนนิยมซื้อไปประกอบธุรกิจมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1927 เมืองดัลลัส สหรัฐอเมริกา เริ่มจากการขายขนมปัง ไข่ และน้ำแข็ง และในปี 1964 ขยายธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ 07.00 น.-23.00 น. ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นบริการ 24 ชั่วโมง

ในประเทศไทยเองเราก็รู้จักและคุ้นเคยกับแฟรนไชส์นี้อย่างดีและเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่คนสนใจมากๆซึ่งบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์นี้มาบริหารจัดการจนกลายเป็นแฟรนไชส์อันดับหนึ่งที่มีสาขาในประเทศไทยกว่า 9,000 สาขา

งบประมาณในการลงทุนค่าแฟรนไชส์1,500,000 บาท และมีหลายแพคเกจลงทุนให้เลือก

2. McDonald’s

มองหาอาชีพ

ภาพจาก goo.gl/ooq3eM

ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารจานด่วน ขายทั้งแฮมเบอร์เกอร์ ไก่ สลัด และเครื่องดื่ม เป็นอีกหนึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้บริโภคชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ก่อตั้งขึ้นและขยายธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ในปี 1955 ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลก ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน

เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ค่าแฟรนไชส์ $989,000 – $2 million (ประมาณ 50-60 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 16พ.ค.60)

3. Dunkin’ Donuts

มองหาอาชีพ

ภาพจาก goo.gl/JmC0K4

เป็นแฟรนไชส์ร้านจำหน่ายโดนัท คุกกี้ แฟนซีโดนัท มันช์กิ้นส์ มัฟฟิน แซนด์วิช และเครื่องดื่มเช่นน้ำพันซ์ต่างๆ เจ้าของลิขสิทธิ์คือ ดังกิ้น โดนัท คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.2489

โดยมิสเตอร์วิลเลียม โรเซนเบิร์ก ปัจจุบันมีร้านมากกว่า 5,000 แห่งกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ในประเทศไทย ได้มีการก่อตั้งบริษัท ดังกิ้นโดนัท (ประเทศไทย) เปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ เมื่อปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันมีประมาณ 300 สาขาทั่วประเทศ

ค่าแฟรนไชส์ $217,000 – $2 million (ประมาณ 10 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 16พ.ค.60)

4. Dairy Queen

มองหาอาชีพ

ภาพจาก goo.gl/IddxRD

แดรี่ควีนเปิดร้านแรกที่เมือง โจเล็ท มลรัฐอิลินอย สหรัฐอเมริกาในปี 1940 โดย เจ เอฟ แมคคูลูจ ไอศกรีมจะมีรสชาติอร่อยขึ้นถ้าทำให้นุ่ม โดยการผลิตใหม่สดจากเครื่อง ไม่แข็งเหมือนไอศกรีมแช่แข็งทั่วไป และจากสัญลักษณ์อันโดดเด่น จึงได้ชื่อว่า

“ราชินีของธุรกิจผลิตภัณฑ์นม” (Dairy Queen) และ Minor Food Group ผู้นำด้านฟาสต์ฟู้ดในประเทศไทย ได้ซื้อลิขสิทธิ์เพื่อเปิดกิจการร้านแดรี่ควีน ร้านแรกที่ เซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อเดือนมิถุนายน ในปี 1996 ปัจจุบันมีกว่า 400 สาขาทั่วประเทศ

งบประมาณในการลงทุน 1,800,000 – 2,000,000 บาท

5. Kumon

มองหาอาชีพ

ภาพจาก goo.gl/o5PH0f

บรรดาผู้ปกครองและเด็กในเมืองไทยน่าจะรักกับ Kumon Math & Reading Centers เป็นอย่างดี เพราะคุมองเป็นศูนย์กวดวิชาที่สอนทางด้านวิชาคณิตศาสตร์และภาษาที่มีเครือข่ายมากที่สุดในโลก

โดยในปี พ.ศ. 2552 มีนักเรียนคุมองทั่วโลกกว่า 4 ล้านคนและมีศูนย์คุมองอยู่ประมาณ 26,000 ศูนย์ใน 46 ประเทศ สำหรับประเทศไทยมีสาขาคุมองกว่า 452 แห่งทั่วประเทศ

ค่าแฟรนไชส์เบื้องต้น 150,000 บาท และผู้ลงทุนต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเริ่มธุรกิจด้วย

6. Krispy Kreme Doughnut Corp.

มองหาอาชีพ

ภาพจาก goo.gl/xBsOl3

Krispy Kreme ก่อตั้งขึ้นในปี 1937 ขยายธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์เมื่อปี 1947 ในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะทำการขยายกิจการสู่ภูมิภาคเอเชียตั้งแต่ปี 2004 โดยมีสาขาแรกในกรุงโซล เกาหลีใต้ ก่อนจะเห็นโอกาสในการเติบโตเมื่อปี 2006

ซึ่งขยายเพิ่มเติมไปยังฮ่องกง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ หลังจากที่ยอดขายในสองตลาดหลักสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ดำดิ่งอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น ปัจจุบันมีสาขากว่า 1,000 สาขาทั่วโลก

งบประมาณในการลงทุน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 150 ล้านบาทอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 16พ.ค.60)

7.สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ประเทศไทย

jh22

ภาพจาก goo.gl/iSytnl

ร้านสตาร์บัคส์ คอฟฟี่ได้เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ. ห้างเซ็นทรัล ชิดลม โดยบริษัท คอฟฟี่ พาร์ทเนอร์ส จำกัด อันเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ จำกัด และ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ริเริ่มแนะนำสตาร์บัคส์ให้แก่ลูกค้าชาวไทย โดยปัจจุบันถือเป็นแฟรนไชส์กาแฟที่ได้รับความนิยมอย่างมากมีสาขาทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 200 แห่ง

8. Subway

jh23

ภาพจาก goo.gl/bjDKtR

เป็นแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม โด่งดัง มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เป็นเชนธุรกิจร้านอาหารชั้นนำให้บริการเมนูแซนด์วิชระดับโลก โดยล่าสุดบริษัทฯ เริ่มเพิ่มเมนูทางเลือกใหม่ ทำเมนูเพื่อสุขภาพในช่วงปี 2015

ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี และเป็นเมนูดึงดูดลูกค้าได้ดี กำลังเริ่มขยายความนิยมกระจายไปทั่วโลก ด้วยเมนูเพื่อสุขภาพ ปัจจุบันมีจำนวนแฟรนไชส์ 42,227 สาขา มีสาขาในประเทศไทยประมาณ 40 แห่ง

ค่าแฟรนไชส์แรกเข้าประมาณ 300,000 บาทพร้อมเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ

9. Pizza Hut

jh24

ภาพจาก goo.gl/52ypAq

เป็นแฟรนไชส์ร้านฟาสต์ฟู้ดที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในอเมริกา มุ่งการเติบโตด้วยระบบแฟรนไชส์ Pizza Hut เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารพิซซ่า เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 ในรัฐแคนซัส ประเทศ และใน ปีถัดมา พ.ศ. 2502 พิซซ่าฮัท

ได้เริ่มระบบตัวแทนจำหน่าย แฟรนส์ไชส์ “ร้านพิซซ่าฮัท” ซึ่งร้านตัวแทนสาขาจะต้องทำตามสูตรการทำพิซซ่าต้นตำรับ และทางด้านการบริหารต้องได้รับการอบรมจากสองพี่น้องตระกูลคาร์นีย์ ปัจจุบันมีจำนวนแฟรนไชส์ 12,956 สาขา รวมถึงมีสาขาทั่วโลกอีกจำนวนมากรวมถึงในประเทศไทยด้วย

ค่าแฟรนไชส์ $297,000 – $2.1 million (ประมาณ 10 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่16พ.ค.60)

10. Auntie Anne’s

jh25

ภาพจาก goo.gl/GWBL8Z

เจ้าตำรับเพรทเซล ขนมปังอบรูปไขว้จากอเมริกา แม้จะไม่เปรี้ยงป้างแบบเดินไปซอกมุมไหนก็เจอ แต่ก็จัดว่าเป็นร้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะขายเพรทเซลอย่างเดียว แต่มีหลากหลายแบบให้เลือก ที่น่าสนใจคือ

ตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมา มีจำนวนสาขาแล้วกว่า 1,598 สาขาทั่วโลก ส่วนในประเทศไทย Auntie Anne’s มีสาขาประมาณ 46 แห่งทั่วประเทศ

ค่าแฟรนไชส์ $194,900 – $367,600 (ประมาณ 12 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่16พ.ค.60)

11. KFC

jh27

ภาพจาก goo.gl/KTKuxP

KFC เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีชื่อเสียงระดับโลกเหมือนกับ McDonald’s มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว มีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการพัฒนานวัตกรรมเมนูใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาดเป็นประจำ ปัจจุบันมีกว่า 13,846 สาขา การบริหารในไทย

มีแฟรนไชส์ซี่ อยู่ถึง 3 บริษัท ที่เป็นผู้ดูแล คือ เซ็นทรัล ฟาสท์ฟู้ด ซื้อสิทธิ์เมื่อปี 2527 และน ซีพี ได้ร่วมทุนกับบริษัทแม่ จัดตั้งบริษัท ซีพี เคเอฟซี ดีเวลลอปเมนท์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อปี 2532 และบริษัท ยัม เรสเตอร์รองท์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่เอง ก็ได้บริหารงานด้วยตนเอง มีสาขาในประเทศไทยกว่า 600 แห่ง

12. Baskin-Robbins

jh28

ภาพจาก goo.gl/xvRO1T

Baskin Robbins เป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมสัญชาติอินเดีย แพร่ขยายสาขาไปทั่วโลก ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาไม่แพ้แฟรนไชส์อาหารแบรนด์อื่นๆ

Baskin Robbins มีระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซีที่แข็งแกร่ง ทั้งการอบรม การดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันมี 7,546 สาขา

ค่าแฟรนไชส์ $30,000 (ประมาณ 10 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่16พ.ค.60)

13.A&W

jh29

ภาพจาก goo.gl/iZmxZa

แฟรนไชส์จากสหรัฐ ที่โดดเด่นมากเรื่องการทำรูทเบียร์ และอาหารว่างอย่างวาฟเฟิล เอแอนด์ดับบลิว เข้าสู่ประเทศไทยเกือบ 15 ปีมาแล้ว การบริหารงานนั้น ปัจจุบัน กลุ่ม TDM ของมาเลเซีย เข้ามาซื้อกิจการ

และได้สิทธิแบบมาสเตอร์แฟรนไชส์ โดยตั้งบริษัท เอแอนด์ ดับบลิว เรสเตอรองต์(ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ดูแล ในประเทศไทยมีสาขาประมาณ 30 แห่ง

ค่าแฟรนไชส์เบื้องต้นประมาณ 6,000,000 บาท พร้อมเงินทุนหมุนเวียนในการเริ่มต้นธุรกิจ

14. SWENSEN’S

jh30

ภาพจาก goo.gl/kldVwn

ผู้ก่อตั้งคือ Mr.Earle Swensen’s และเปิดร้าน “Swensen’s Ice Cream” ณ มุมถนนยูเนียนและไฮด์ในเมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนียในปี ค.ศ.1948 ต่อมาในปี ค.ศ.1963 สเวนเซ่นส์ได้ขยายกิจการออกไปในรูปแบบเฟรนไชส์ กระทั่งมีการขยายเครือข่ายร้านกระจายไปทั่วโลก

ในปี ค.ศ.1986 The Minor Food Group ได้ซื้อลิขสิทธิ์กิจการไอศกรีมสเวนเซ่นส์มาดำเนินการในประเทศไทยโดยเปิดที่ เซ็นทรัล พลาซ่าลาดพร้าว เป็นสาขาแรกปัจจุบันมีมากกว่า 250 สาขาทั่วประเทศ

งบประมาณสำหรับการเริ่มต้นลงทุนประมาณ 5-6 ล้านบาท

15. Munch

jh31

ภาพจาก goo.gl/p6XqPr

แบรนด์แฟรนไชส์สลัดจากสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 โดย Edwin Ng .โดย Munch มีบริการเสิร์ฟเมนูสลัดหลายเมนูแล้ว ยังมีบริการอาหารข้างเคียง อาทิ ปลาแซลมอน เนื้อไก่กรอบ ไส้กรอก เหมาะสำหรับอาหารเช้า กลางวัน เย็น

รวมถึงบริการกาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆ ถือเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพกันมากขึ้น โดยเราสามารถพบกับ Munch ได้ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำรวมถึงสาขาที่คนรู้จักกันดีแถวทองหล่อด้วย

ค่าแฟรนไชส์เริ่มต้นที่ $40,000 หรือประมาณ 1,401,842 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่16พ.ค.60)

เราจะเห็นว่างบประมาณในการลงทุนกับแฟรนไชส์ชั้นนำเหล่านี้เป็นตัวเลขที่สูงมาก แต่ถ้ามองในแง่การตลาดแล้วนี่คือแบรนด์ที่คนรู้จักกันดีมีโอกาสในการคืนทุนค่อนข้างดี ก็ขึ้นอยู่กับวิธีบริหารจัดการเป็นสำคัญ

ส่วนใหญ่บริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากบริษัทแม่ก็จะมาจำหน่ายต่อในระบบแฟรนไชส์ที่ถูกลงจากราคาซื้อจากบริษัทแม่ ซึ่งตัวเลขที่เรานำมาแสดงให้ดูนั้นถ้าสนใจกันจริงๆอาจสอบถามกับทางบริษัทผู้ดูแลแบรนด์ในประเทศไทยซึ่งอาจจะได้แนวทางการลงทุนที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วย

และสำหรับใครที่สนใจในการลงทุนแฟรนไชส์แต่มีงบประมาณการลงทุนไม่มากหรือต้องการเลือกแฟรนไชส์ที่มีความเหมาะสมกับตัวเอง ดูรายละเอียดที่ goo.gl/eoLUxE

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nVPHwh

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด