10 เหตุผลที่ใครๆ ก็อยากขายแฟรนไชส์

การทำธุรกิจ ให้เป็นแฟรนไชส์ ถือเป็นกลยุทธ์ธุรกิจในการขยายงานให้ได้ต่อเนื่อง พร้อมกับลดปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่แฟรนไชส์ จะเป็นระบบที่นิยมกันทั่วโลก เพราะมันถูกพัฒนามา เป็นวิธีการขยายธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

คือ ผู้ที่ขายแฟรนไชส์ เป็นผู้ที่ชำนาญในกิจการของตัวเอง และให้ถ่ายทอดวิชาของตัวเองให้ผู้อื่นที่ต้องการทำบ้าง แต่รูปแบบการทำแฟรนไชส์ ก็มีทั้ง ข้อดี-ข้อเสีย แต่วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอข้อดีว่า ทำไมใครๆ หรือเจ้าของธุรกิจจึงอยากขายแฟรนไชส์กันนัก มาดูกันเลย

การทำธุรกิจ

1.แฟรนไชส์ซอร์ไม่ต้องลงมือทำธุรกิจด้วยตัวเองทั้งหมด แต่ต้องสร้างทีมงานขึ้นมาสนับสนุนดูแลสาขาทั้งหมดเท่านั้น

2.สามารถสร้างกำไรที่สมเหตุสมผล ในฐานะที่เป็นผู้สร้างธุรกิจ และได้โอกาสในการสร้างกำไรที่ดีกว่าผลกำไรที่เกิดจากการจัดผลประโยชน์ให้แฟรนไชส์ซี โดยแฟรนไชส์ซอร์ไม่ต้องรับรู้รายละเอียดในการทำงานของแต่ละสาขา

c3

3.ระบบแฟรนไชส์เป็นการใช้ทีมงาน หรือการลงทุนจากภายนอกที่เป็นผู้ร่วมลงทุน รูปแบบธุรกิจจึงอำนวยให้การขยายงานในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศหรือการขยายงานไปในต่างประเทศ ทำได้เร็วกว่าที่จะขยายงานด้วยตัวเอง

4.สามารถขยายไปในพื้นที่ที่ยังไม่มีความสามารถได้ แม้ว่าจะขาดความเข้าใจตลาดหรือขาดทีมงาน แต่อาศัยความสามารถของผู้ร่วมลงทุนที่เป็นแฟรนไชส์ซี ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ที่มีความเข้าใจมากกว่าเป็นผู้ทำงานเป็นหลัก

c4

5.ในกรณีที่มีสาขาของแฟรนไชส์ซอร์มีผลประกอบการไม่ดี มีโอกาสปรับเข้าสู่สาขาที่ขาดทุนเป็นสาขากำไรได้ ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบแฟรนไชส์

เนื่องจากการมีผู้ร่วมลงทุนแฟรนไชส์ จะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายด้านคน ที่ทำงานในสาขาหรือการส่งคนจากสำนักงานใหญ่ไปลงพื้นที่ทำงานได้ เพราะสาขาแฟรนไชส์ดำเนินการได้ด้วยแฟรนไชส์ซีเอง

6.ตัดปัญหาเรื่องการบริหารพนักงานจำนวนมาก การจัดสวัสดิการ ประกันสังคม ข้อบังคับด้านการ ทำงานต่างๆ

c5

7.แฟรนไชส์ซีเป็นคนบริหารสาขา ย่อมรับผิดชอบมากกว่าเจ้าของแฟรนไชส์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจด้วยตนเองลง อาศัยความสามารถของบุคลากรของแฟรนไชส์ซี ที่ถูกคัดเลือกมาและสร้างความพร้อมด้วยระบบอบรม การสนับสนุนทีมงานกลางแทนเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จมากขึ้น

8.ในกรณีธุรกิจเดิมเป็นธุรกิจการผลิต หันมาสร้างระบบแฟรนไชส์สามารถสร้างจุดจำหน่าย ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายที่เข้มแข็งมากกว่าระบบจัดจำหน่ายธรรมดา

เพราะสาขาแฟรนไชส์นั้น จะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการจำหน่ายสินค้า ที่สามารถรักษามาตรฐานของธุรกิจไปพร้อมกันด้วย และเน้นการสร้างตลาดในสินค้าและบริการที่ กำหนดเท่านั้น

jjj

9.ธุรกิจที่มีหลายสาขาอยู่แล้ว การกระจายสาขาที่มีอยู่ แล้วขายผ่านให้แฟรนไชส์ซีไปดำเนินการ ก็เท่ากับเป็นการระดมทุนที่เกิดขึ้นจากการขายสาขา แต่ยังคงสามารถคงเงื่อนไขการจัดจำหน่าย หรือระบบการค้าเดิมได้อย่างดี

10.เป็นการลดเงินลงทุน และกำลังคนในการขยายสาขา

ทั้ง 10 ข้อเป็นประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจจะได้รับจากการทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ จึงไม่แปลกที่ว่า ทำไมธุรกิจขนาดเล็กเมื่อเป็นแฟรนไชส์แล้ว สามารถขยายธุรกิจต่อเนื่องได้อย่างมั่นคง แต่แนวทางการสร้างแฟรน ไชส์นั้น ก็ไม่ใช่เกิดขึ้นง่ายนัก ต่างต้องมีแนวทางธุรกิจที่ชัดเจน มีความสำเร็จของตัวธุรกิจให้เห็นก่อน ที่จะมีการขยายงานออกไปให้นักลงทุนภายนอก


อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/if4kF8

Franchise Tips

แฟรนไชส์ซอร์สามารถขยายสาขาธุรกิจได้จำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้เงินทุนตัวเอง อีกทั้งยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าแฟรนไชส์ รวมถึงค่าการตลาด ที่เรียกเก็บเป็นรายเดือนจากยอดขายของแฟรนไชส์ซี

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3o0dCuQ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช