10 อันดับแฟรนไชส์อเมริกาที่แข็งแกร่งสุดๆ ยุคโควิด-19 (2021)

เว็บไซต์ Entrepreneur.com ได้ทำการจัด อันดับธุรกิจแฟรนไชส์ ในอเมริกาจาก 500 แบรนด์มาเป็นเวลา 42 ปีมาแล้ว โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ การลงทุน ค่าสิทธิ ขนาด อัตราการเติบโต รวมถึงการได้รับความนิยมและตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวอเมริกันในช่วงการระบาดโควิด-19 โดยมีแบรนด์แฟรนไชส์ใหม่ๆ ก้าวขึ้นมามาอย่างเหลือเชื่อ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 10 อันดับธุรกิจแฟรนไชส์อเมริกาที่แข็งแกร่งที่สุดในปี 2021 จาก 500 แบรนด์แฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา มาดูกันว่ามีแบรนด์แฟรนไชส์ใดบ้างติด 10 อันดับแรกในยุคการระบาดโควิด-19

1.Taco Bell

อันดับธุรกิจแฟรนไชส์

ภาพจาก bit.ly/3p5x8Xp

Taco Bell แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่ถูกจัดอันดับแฟรนไชส์ 500 ขึ้นจากอันดับ 2 มาเป็นอันดับที่ 1 ในปี 2021 บริษัทเริ่มต้นทำแฟรนไชส์ในปี 2507 มีจำนวนสาขามากกว่า 7,136 แห่ง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 525,500 – 2.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทศวรรษที่ผ่านมา Taco Bell ได้รับการจัดอันดับที่ 45 ของ Franchise 500 แต่ในปี 2021 เป็นอันดับ 1 เนื่องจากตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวอเมริกันในช่วงโควิด-19 ที่ต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็ว อิ่มท้อง

2.Dunkin’

48

ภาพจาก bit.ly/35WPwug

ปี 2021 Dunkin’ ถูกจัดอันดับแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่งจากแฟรนไชส์ 500 มาเป็นอันดับ 2 จากที่ปี 2020 อยู่อันดับ 1 เริ่มต้นทำแฟรนไชส์ในปี 1955 มีจำนวนสาขาทั้งหมด 12,957 แห่งทั่วโลก ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์เริ่มต้น 395,500 – 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Dunkin’ เป็นแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจาตัดคำว่า “โดนัท” ออก เพื่อไม่จำกัดว่าจะขายโดนัทอย่างเดียว สามารถขายสินค้าได้หลากหลายภายในร้าน จึงทำให้รายได้และยอดขายเติบโต

3.The UPS Store

47

ภาพจาก bit.ly/2Nj8WCR

เป็นแฟรนไชส์ให้บริการไปรษณีย์ ธุรกิจ การพิมพ์ และบริการด้านการสื่อสาร ก่อตั้งขึ้นและขยายธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ในปี 1980 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ถือเป็นธุรกิจให้บริการที่ได้รับความนิยมของธุรกิจขนาดเล็ก ปี 2021 ถูกจัดอันดับที่ 3 จากแฟรนไชส์ 500 เดิมปี 2020 อยู่อันดับ 5 มีจำนวนสาขาทั้งหมด 5,166 แห่ง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 138,400 ดอลลาร์สหรัฐ – 470,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับความนิยมจากการส่งพัสดุ การซื้อออนไลน์

4.Popeyes Louisiana Kitchen

46

ภาพจาก bit.ly/39Qondt

Popeyes Louisiana Kitchen นั้นได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 ในนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมืองไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ของสหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งการผสมผสานวัฒนธรรมและเครื่องเทศรสจัด โดยเขาจะขายผลิตภัณฑ์ไก่ทอดที่กรอบนุ่ม เต็มไปด้วยรสชาติของไก่ทอดเต็มๆ คำ ซึ่งกิจการของ Popeyes ดูเหมือนจะไปได้ด้วยดีกว่า KFC ซะอีก ซึ่งคุณสามารถสั่งไก่รสชาติแบบเผ็ดหรือแบบดั้งเดิมก็ได้

อีกทั้งเมนู chicken sandwich ที่ได้นำออกมาวางจำหน่าย ก็ได้สร้างกระแสตอบรับการันตีในความอร่อยนี้ได้เป็นอย่างดี ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์โดยเฉลี่ย : 50,000 เหรียญสหรัฐ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนโดยเฉลี่ย : 1,452,150 เหรียญสหรัฐ ค่าสิทธิ Royalty fee : 5.00% ค่าโฆษณา Advertising fee : 5.42%

5.Culver’s

45

ภาพจาก bit.ly/3iELdsE

แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดขายเบอร์เกอร์ รวมถึงคัสตาร์ด ไอศกรีม ที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอมริกา ด้วยรสชาติอร่อย ก่อตั้งในปี 1984 หลังจากนั้นในปี 1988 ก็ขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันมีจำนวน 680 สาขาในอเมริกา โดยในปี 2017 สามารถทำรายได้กว่า 1.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 5 จากแบรนด์แฟรนไชส์ 500 ในปี 2021 ค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 1.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 4.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

6.Kumon Math & Reading Centers

44

ภาพจาก bit.ly/2MaYBZ6

Kumon Math & Reading Centers แฟรนไชส์กวดวิชาคุมอง ก่อตั้งโดยอาจารย์คณิตศาสตร์ระดับมัธยม Toru Kumon ในปี 1954 และเริ่มต้นทำแฟรนไชส์ในปี 1958 ได้รับการจัดอันดับแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่งและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวอเมริกันมาเป็นอันดับที่ 6 ปี 2021 จากแบรนด์แฟรนไชส์ 500 เนื่องจากการะบาดโควิด-19 ทำให้นักเรียนต้องเรียนออนไลน์จากที่บ้าน สำหรับการลงทุนเริ่มแรก : $ 73,373 ถึง $ 154,825 ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มแรก : $ 1,000 จำนวนสาขาใหม่ : 397 แห่ง (1.5 เปอร์เซ็นต์)

7.Jersey Mike’s Subs

43

ภาพจาก bit.ly/3bX7FvC

อีกหนึ่งแฟรนไชส์แซนด์วิชที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นนับแต่ก่อตั้ง โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1956 และเปิดขาย ธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 1987 ถูกจัดอันดับมาเป็นที่ 8 ของแฟรนไชส์ 500 ปัจจุบันมีจำนวนสาขาแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ 1,592 แห่ง บริษัทแม่บริหารเองมากกว่า 58 สาขา โดยตั้งเป้าหมายขยายสาขาให้ถึง 2,000 สาขาภายในปี 2020 ถือเป็นครั้งที่ 3 ของ Jersey Mike’s Subs ติดอันดับ 1 ใน 10 อันดับจากแฟรนไชส์ 500 ของสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 237,400 ดอลลาร์สหรัฐ – 766,970 ดอลลาร์สหรัฐ

8.Planet Fitness

 42

ภาพจาก bit.ly/39LpkUo

Planet Fitness แฟรนไชส์ฟิตเนสถูกจัดมาเป็นอันดับที่ 8 จากแฟรนไชส์ 500 เริ่มต้นทำแฟรนไชส์ในปี 2003 มีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,859 แห่ง ค่าใช้ในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 4.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รูปแบบการให้บริการลูกค้า Planet Fitness คิดค่าสมาชิกพื้นฐานเพียง 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่ไม่มีสมาชิกสถานที่ออกกำลังกาย จนถึงขณะนี้กลยุทธ์ดังกล่าวได้ผลเนื่องจากสมาชิกของ Planet Fitness เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจาก 7 ล้านคนเป็น 14 ล้านคน

9.7-Eleven

41

ภาพจาก bit.ly/38ZhiYN

เป็นแบรนด์ร้านสะดวกซื้อที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 57 ปี ปัจจุบันมีจำนวนสาขามากกว่า 67,000 แห่งทั่วโลก แต่ในสหรัฐอเมริกา 7-Eleven ได้เผชิญกับคู่แข่งค้าปลีกมากมายไม่ว่าจะเป็น AmPm รวมไปถึง Circle K ที่มีสาขาอยู่มากมาย แต่ 7-Eleven ในสหรัฐอเมริกายังมีรายได้และการเติบโตที่แข็งแกร่ง ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นร้านสะดวกซื้อตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคโควิด-19

จึงได้รับการจัดอยู่อันดับที่ 9 จากแฟรนไชส์ 500 ปี 2021 สำหรับในเอเชียนั้น 7-Eleven ประสบความสำเร็จอย่างมาก ญี่ปุ่นมีจำนวนมากที่สุดกว่า 20,033 สาขา ขณะที่ไทยมี 10,300 สาขา โดยทางซีพี ออลล์ วางแผนขยายสาขา 700 สาขาทุกปี และตั้งเป้ามีสาขาครบ 13,000 ในปี 2564

10.ServPro

40

ภาพจาก bit.ly/3ixNc1G

Servpro เป็นบริษัทแฟรนไชส์เกี่ยวกับการทำความสะอาด ซ่อมแซม กู้ภัย ดับเพลิงไฟไหม้ เป็น แฟรนไชส์ อันดับต้นของผู้ประกอบการ Franchise 500 ในปี 2563 บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการรักษาดูแลเกี่ยวกับภัยพิบัติให้กับลูกค้าในเชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัย ในกรณีเกิดไฟไหม้ทรัพย์สิน จนได้รับความเสียหายจากไฟไหม้หรือน้ำท่วม การลงทุนเริ่มแรก $ 160,075 ถึง $ 213,950 ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มแรก: $ 50,000 จำนวนสาขาใหม่ในปี 2562: 28 แห่ง (+1.7 เปอร์เซ็นต์)

ทั้งหมดเป็น 10 แบรนด์แฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับความนิยม มีความแข็งแกร่ง และตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวอเมริกันมากที่สุดในช่วงการระบาดโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งหลายคนอาจแปลกใจที่ไม่มีชื่อของแฟรนไชส์ “แม็คโดนัลด์” “เคเอฟซี” และ “พิซซ่า ฮัท” อาจเป็นเพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ได้รับผลกระทบในด้านยอดขายและการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งอ้างอิง https://www.entrepreneur.com/article/362854

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sK1twV

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช