10 วิธีเจาะตลาดต่างจังหวัด! ครองใจลูกค้าทั่วประเทศ

ความเจริญของเมือง ที่กระจายไปยังต่างจังหวัดก่อให้เกิดการพัฒนา ผู้คนไม่ได้ยึดติดอยู่กับคำว่าต้องเข้ามาทำงานในเมืองหลวงอีกต่อไป หลายเมืองในต่างจังหวัดตอนนี้เศรษฐกิจดีไม่ต่างจากกรุงเทพฯ

หมายถึงว่ามีอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้น เงินเดือนที่ดีขึ้น ความเจริญทางเทคโนโลยีต่างๆ ก็มีมากขึ้น ดูได้จากเม็ดเงินการจับจ่ายใช้สอยในตลาดต่างจังหวัดมีมูลค่าปีละ 3 แสนล้านบาท

โดยภาคใต้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงถึง 21,293 บาท รองลงมาคือภาคกลางยอดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 21,055 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 17,032 บาท และภาคเหนือค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 15,268 บาท

ในมุมมองของ www.ThaiSMEsCenter.com เล็งเห็นเช่นเดียวกับอีกหลายธุรกิจที่ในเมื่อตลาดเมืองหลวงคู่แข่งเยอะลองกระจายไปยังต่างจังหวัดที่คู่แข่งน้อยกว่า และคาดว่าจะมีกำลังซื้อมหาศาล

แต่ปัญหาสำคัญคือ “จะเจาะตลาดต่างจังหวัด” อย่างไรให้ได้ผล ด้วยไลฟ์สไตล์และวิถีชีวิตของคนต่างจังหวัดที่อาจแตกต่างไปจากคนเมืองหลวง ก็ต้องมีวิธีที่เข้าถึงคนเหล่านี้ เป็น 10 วิธีเจาะตลาดต่างจังหวัดที่น่าจะได้ผลอย่างยิ่ง

1. ใช้สื่อออนไลน์เจาะตลาดต่างจังหวัด

วิธีเจาะตลาดต่างจังหวัด

ภาพจาก bit.ly/2mow8T3

มีการสำรวจว่าสื่อออนไลน์เข้าถึงกลุ่มคนต่างจังหวัดเกือบ 100% และคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่นิยมเล่นโซเชี่ยลในช่วง 20.00 -24.00 น. สื่อทรงอิทธิพลแน่นอนคือ Facebook , Line , Youtube และ Instagram และพบว่าคนภาคใต้ชอบโฆษณาที่มีเพลงประกอบมากที่สุด ส่วนคนภาคกลางและอีสานชอบการโพสต์แบบอัลบั๊มมากที่สุด ทว่าในภาคเหนือคนชอบการโพสต์แบบอ่านจบได้ในหน้าเดียว ดังนั้นหากธุรกิจจะเจาะตลาดต่างจังหวัดด้วยสื่อออนไลน์ก็ต้องเข้าใจพฤติกรรมความชอบเหล่านี้ไว้ด้วย

ปัจจุบันมีสื่อออนไลน์มากมายที่เปิดพื้นที่ให้สามารถโฆษณาได้ทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย อย่างเช่นใน เว็บไซต์ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ที่นอกจากรวบรวมแฟรนไชส์ชั้นนำทั่วประเทศให้คนสนใจได้เลือกลงทุนยังเปิดพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านเว็บบอร์ด ใครที่สนใจจะโฆษณาสินค้าหรือฝากขายสินค้าคลิ๊กได้ที่ https://bit.ly/2lK7hbM

2. Point of Sale (POS)

68

ภาพจาก bit.ly/2kqB9ty

Point of Sale (POS) พูดง่ายๆก็คือสื่อ ณ จุดขายผลการวิจัยระบุว่าคนต่างจังหวัดกว่า 90% ตัดสินใจซื้อสินค้าจากสื่อประเภทนี้ โดยป้ายยื่นและป้ายที่ชั้นวางสินค้า คือสิ่งที่ทำให้ลูกค้าพบเห็นสินค้าได้ง่ายขึ้น

โดยเนื้อหาที่ชอบคือการบอกคุณสมบัติสินค้าแต่ส่วนใหญ่จะไม่ชอบโฆษณาที่เป็นแบบสติ๊กเกอร์ติดบนพื้น รวมถึงหลายคนยังตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะว่ามีโปรโมชั่นอีกด้วย

3. สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์

67

ภาพจาก bit.ly/2kGfqhs

แม้โซเชี่ยลจะมาแรงแต่สื่อทางโทรทัศน์ก็ยังทรงอิทธิพลในต่างจังหวัด โดยพบว่าคนต่างจังหวัดเข้าถึงสื่อในโทรทัศน์กว่า 89% โดยเฉพาะภาคกลางและภาคอีสานรับสื่อประเภทนี้มากที่สุด

โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาดูโทรทัศน์ประมาณ 1-2 ชม. อีกทั้งคนต่างจังหวัดยังจดจำแบรนด์ได้จากสื่อทีวีกว่า 88% รายการส่วนใหญ่ที่ควรนำโฆษณาไปลงคือพวกรายการบันเทิง ซิทคอม หรือวาไรตี้ เกมโชว์ รวมถึงรายการประกวดร้องเพลงต่างๆ ที่คนต่างจังหวัดชอบมาก

4. Out of Home (OOH)

66

ภาพจาก bit.ly/2moZQap

Out of Home (OOH) หรือเรียกว่า “สื่อกลางแจ้ง” สถานที่ในการติดตั้งเช่น ตามป้ายโฆษณา สี่แยก ในห้างสรรพสินค้า และคนต่างจังหวัดกว่า 88% จำแบรนด์เหล่านี้ได้

สื่อนอกบ้านที่คนต่างจังหวัดนิยมคือ ป้ายภาพนิ่ง รถแห่ ป้ายแอลอีดี ตัวอย่างเช่น ร้านสหไทยพลาซ่า ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ใช้ทั้งรถแห่และป้ายโฆษณาในการเข้าถึงลูกค้าในพื้นที่

5. ใบปลิว

65

ภาพจาก bit.ly/2lY3qrT

ถ้าเป็นในกรุงเทพฯโอกาสที่คนจะซื้อสินค้าจากใบปลิวนั้นมีไม่มากแม้จะใช้กลยุทธ์ไปฝากวางในกล่องไปรษณีย์ตามบ้าน แต่ส่วนใหญ่ก็จะหยิบทิ้งซะมากกว่า แตกต่างจากต่างจังหวัดที่สื่อใบปลิวค่อนข้างจะได้ผล กว่า 78% ระบุว่าจะซื้อสินค้าจากใบปลิว

โดยเหตุผลที่ตัดสินใจซื้อสินค้าจากใบปลิว เช่น เกรงใจ มีโปรโมชั่นที่ถูกใจ ซึ่งใบปลิวที่ดีควรมีขนาด A5 เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ที่ควรหลีกเลี่ยงคืออย่าใส่เนื้อหาแน่นเกินไป ไม่จำเป็นต้องใช้พรีเซ็นเตอร์ ตัวอย่างเช่น ร้านทำเล็บ Nail De Paris ในเชียงราย ที่ใช้ใบปลิวแจกลูกค้าเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าต้องนำใบปลิวนั้นเพื่อนำมารับโปรโมชั่นต่างๆที่ร้าน

6. ของดีบอกต่อ (ปากต่อปาก)

64

ภาพจาก bit.ly/2ktMlpm

คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่มีความสนิทและคุ้นเคยรู้จักกันมากกว่าคนในเมือง สินค้าที่จะเลือกใช้เทคนิคปากต่อปาก ต้องสร้างคุณภาพเป็นตัวนำ ซึ่งกว่า 62% ระบุว่าเป็นการซื้อสินค้าแบบคนอื่นแนะนำมา โดยกลุ่มคนรู้จักมีอิทธิพลที่ทำให้คนต่างจังหวัดตัดสินใจซื้อสินค้า โดยเฉพาะเมื่อใช้แล้วดี ใช้แล้วได้ผล ทำให้ประสิทธิภาพในการบอกต่อยิ่งชัดเจน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้าและบริการเป็นสำคัญ

ยิ่งในปัจจุบันที่การสื่อสารไร้พรมแดนคนทุกคนสื่อสารผ่านโซเชี่ยลการบอกปากต่อปากจึงไม่ได้จำกัดแค่ต้องพบเจอกันเท่านั้น สมัยนี้ทุกคนมีFacebook ,Line คำว่าของดีบอกต่อจึงทรงอิทธิพลมากขึ้น ซึ่งเว็บไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์เองก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จัดหาสาระดีผ่าน Facebook ,Line นำเสนออย่างต่อเนื่อง สนใจคลิ๊กเข้าไปดูได้ที่ Facebook : https://bit.ly/1FDtsRG

7. เจาะตลาดด้วยสื่อวิทยุ

63

ภาพจาก bit.ly/2kEKiil

อย่าเพิ่งคิดว่า วิทยุ กำลังหมดยุคไปจากต่างจังหวัด ผลสำรวจระบุว่า กว่า 48% ของคนต่างจังหวัดยังฟังวิทยุ โดยภาคใต้มีคนฟังวิทยุมากที่สุดและใช้เวลาในการฟังราว 1-2 ชม. ส่วนใหญ่จะฟังในยามเช้า และกว่า 75% ของคนฟังวิทยุจะจดจำแบรนด์สินค้าที่โฆษณาในรายการวิทยุที่ฟังเป็นประจำได้

เทคนิคการใช้สื่อทางวิทยุที่ดีคือเน้นการเล่าเรื่องด้วยเสียงเพลง หรือพูดในลักษณะเล่าเรื่องมากกว่าโฆษณาแบบสปอตวิทยุทั่วไป เช่นในอุบลราชธานีที่คลื่นวิทยุท้องถิ่นมีการเปิด 8 เพลงรวดก่อนมีโฆษณาด้วยมีสปอนเซอร์โฆษณา เช่น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย รวมถึงบางร้านอาจมีให้คนฟังเล่นเกมส์ผ่านรายการวิทยุเพื่อดึงดูดให้คนสนใจยิ่งขึ้น

8. ใช้พนักงานขายโน้มน้าวใจคนซื้อ

62

ภาพจาก bit.ly/2mhBG1l

ในกรุงเทพฯหรือตามเมืองใหญ่วิธีนี้อาจดูจะธรรมดากับการมีพนักงานตามจุดขาย อย่างไรก็ดีในต่างจังหวัดแตกต่างเพราะคนส่วนใหญ่นิยมพูดคุยกันมากกว่าคนเมืองหลวง บางทีพนักงานขายกับลูกค้าก็รู้จักกัน

ก็ยิ่งทำให้ง่ยต่อการให้ข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ อย่างไรก็ดีไม่ว่าพนักงานจะเก่งการขายแค่ไหน สิ่งที่ทำให้ตัดสินใจซื้อคือคุณภาพสินค้า บางทีต้องเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้มีโอกาสทดลองก่อนตัดสินใจซื้อ วิธีนี้ทำให้คนต่างจังหวัดตัดสินใจซื้อสินค้าได้กว่า 55%

9. จัดบูธกิจกรรม

61

ภาพจาก splmotor.co.th

เป็นการสร้างสีสันและเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ลูกค้าได้เข้ามาชมสินค้า ผลสำรวจพบว่าคนที่เข้ามาชมบูธกิจกรรมในต่างจังหวัดกว่า 79% จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ และบูธที่คนต่างจังหวัดนิยมคือบูธที่มีของฟรี ยิ่งถ้าได้ของฟรีนำไปใช้แล้วดี คนเหล่านี้จะกลับมาซื้อซ้ำ

ซึ่งเสน่ห์ของเจ้าหน้าที่ประจำบูธที่จะดึงดูดลูกค้าได้อีกแบบคือการใช้ภาษาท้องถิ่นการแต่งตัวตามประเพณีในท้องถิ่นนั้นๆ จะช่วยทำให้บูธน่าสนใจยิ่งขึ้นและสำหรับท่านใดที่อยากเข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรืออยากทราบว่ามีงานแสดงสินค้าที่ไหนอย่างไร ในเว็บไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ก็มีรวบรวมไว้ตลอดทั้งปี สนในคลิ๊กเข้าไปได้ที่ https://bit.ly/2m2KHet

10. วิทยุชุมชน

60

ภาพจาก bit.ly/2mpL6YT

ต่างจังหวัดหลายแห่งโดยเฉพาะในหมู่บ้านต่างๆ ที่ยังมีกลิ่นอายของชนบทคนจะคุ้นเคยกับวิทยุชุมชนซึ่งอาจหมายถึงคลื่นท้องถิ่นหรือหอกระจายเสียงของหมู่บ้านที่มีการจัดรายการ มีการเปิดเพลง สอดแทรกสาระเนื้อหาเกี่ยวกับคนในพื้นที่

อัพเดทข่าวสารที่น่าสนใจในพื้นที่นั้นๆ การแทรกด้วยโฆษณาจะทำให้คนฟังรู้สึกคุ้นเคยและส่วนใหญ่จะจำแบรนด์ที่โฆษณาผ่านสื่อเหล่านี้ได้และเมื่อได้เจอกับสินค้าในตลาดส่วนใหญ่จะตัดสินใจซื้อ หากสินค้าดีจริงก็จะกลายเป็นลูกค้าประจำได้ในที่สุด

ทั้งนี้กลยุทธ์การเจาะตลาดต่างจังหวัดหากมีการวางแผนบริหารจัดการที่ดี จะสามารถเพิ่มยอดขายให้สินค้าได้มากด้วยกำลังซื้อของคนต่างจังหวัดที่ปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และการแข่งขันก็ยังไม่รุนแรงเท่าในเมืองหลวง หรือจะใช้วิธีเจาะตลาดด้วยตัวแทนจำหน่าย ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด