10 วิธีสร้างธุรกิจปี 2021! ไม่ตาย แต่โตกว่าเดิม

ปี 2564 จากที่คาดการณ์ว่าหลายอย่างจะดีขึ้น แต่เมื่อเจอวิกฤติ COVID 19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องกลับมาทบทวนทิศทางการเติบโตอีกครั้ง สำนักวิจัยด้านเศรษฐกิจหลายแห่งได้ออกมาคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีหน้า จะเติบโตเพียงร้อยละ 2.6% ต่อปี ขณะที่ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ พยากรณ์ว่าปีหน้า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 3.8% แต่ที่แน่นอนว่าหลายธุรกิจในตอนนี้ต้องมุ่งเป้ามาที่ตลาดในประเทศเพราะสินค้าส่งออกยังคงไม่อาจสร้างรายได้มากนักในช่วงเวลาแบบนี้

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าปี 2564 ถ้าเราจับจุดและเทคนิคได้ การดำเนินธุรกิจของเราจะอยู่รอด ผิดกับบางธุรกิจที่ไม่มีการปรับตัว รับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วไม่ได้ แทนที่จะโตก็กลายเจ๊งไม่เป็นท่า ลองมาดูวิธีสร้างธุรกิจในปี 2021 นี้ว่ามีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง

1.ปรับตัวเร็ว ธุรกิจโตเร็วกว่า

วิธีสร้างธุรกิจปี

ภาพจาก bit.ly/3icIVAK

Agile คือคำศัพท์ในแวดวงธุรกิจที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยในปีที่ผ่านมา หากแปลให้เห็นภาพมากขึ้น Agile ก็คือการปรับแผนธุรกิจให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น มากกว่าที่จะทำตามแผนใหญ่ที่ตั้งไว้ในตอนแรก ตัวอย่าง

แบรนด์ที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในช่วงโควิดก็เช่น แบรนด์ Nike ที่ทำแคมเปญ “Play Inside, Play for the World” เพื่อส่งเสริมให้คนปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่างของรัฐบาล ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้คงไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะไปโวยวายว่ามันเกิดจากอะไร ใครเป็นสาเหตุ เอาเวลานั้นมาปรับตัวเอง พัฒนาตัวเอง ว่าจะอยู่รอดในยุคนี้อย่างไรจะเป็นเรื่องที่เข้าท่ากว่า ยิ่งปรับตัวได้เร็ว โอกาสรอดก็สูง

2.อย่ามองแค่เรื่องของกำไร

20

ในสถานการณ์ปกติจะคิดถึงแต่เรื่องกำไรก็คงไม่แปลก การตั้งเป้าว่าในปีนี้จะสร้างยอดขายเท่านั้นเท่านี้เป็นเรื่องธรรมดา แต่ ณ ตอนนี้กำไรก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ควรโฟกัสมากเกินไป เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกดีกับแบรนด์ของเรา อยากใช้แบรนด์ของเรา เพราะยุคนี้คู่แข่งเยอะ และปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าก็เปลี่ยนไป

ดังนั้นแทนที่จะแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียวควรหันมาให้ความสำคัญกับสังคมให้ลูกค้ารู้สึกดีกับเรามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Dove ที่รณรงค์ให้วัยรุ่นหญิงกว่า 35 ล้านคนทั่วโลกเกิดความรักและรู้สึกเคารพตัวเองมากขึ้นมาตั้งแต่ปี 2005 หรือแบรนด์ Unilever ที่ผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เป็นต้น

3.การตลาด “รักษ์โลก” ต้องมา

17

ภาพจาก bit.ly/3qthqpz

ยุคที่เรื่องสุขภาพสำคัญที่สุด ไหนจะปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไหนจะเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID 19 สิ่งที่คนอยากรู้มากที่สุดในตอนนี้คือผลิตภัณฑ์แบบไหนที่ตอบโจทย์สุขภาพได้ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การตลาดแบบ “รักษ์โลก” จึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องใส่ใจ

และอย่าคิดว่าไม่สำคัญเพราะการตลาดแนวนี้จะ “ซื้อใจ” ลูกค้าได้มาก แม้จะไม่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือสนใจสินค้าเราได้ทันที แต่อย่างน้อยก็ทำให้สินค้าเราตามกระแสนิยม ไม่สวนกระแส คนจะไม่จับจ้องและมองสินค้าเราเป็น “พวกเดียวกัน” ที่อาจช่วยเพิ่มยอดขายในอนาคตได้

4.แบรนด์ยิ่งมี Story ยิ่งขายดี

1

การทำสินค้าวางจำหน่ายในช่วงเวลาแบบนี้หลายคนอาจจะครุ่นคิดเรื่องการตั้งชื่อแบรนด์ การทำโลโก้ หรือการออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้สำคัญก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจมักจะหลงลืม คือการสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ออกไป เพราะถ้าเราสามารถนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ของเราได้ดี ลูกค้าก็จะจดจำแบรนด์ของเราได้มากกว่าแบรนด์อื่นๆ

สินค้ายิ่งมี Story ยิ่งเป็นที่สนใจของลูกค้า การทำให้สินค้ามี Story ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้อย่างน่าสนใจ คนซื้อก็จะรู้สึกว่าเราได้สินค้าที่มีคุณค่า ไม่ใช่สินค้าธรรมดาทั่วไป การตลาดที่จะสื่อสารในช่วงนี้จึงต้องไม่ลืมสร้าง Story ของสินค้านั้นๆด้วย

5.บริหารคนให้เป็น ลูกน้องไม่ใช่แค่พนักงานที่เราจ้างมา

21

ปัญหาที่เราเห็นในตอนนี้คือการจ้างคนออก แต่ความจริงสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจก็คือบุคลากร ยิ่งเป็นคนที่ทำงานกันมานาน เป็นลูกน้องที่ไม่ต้องมาคอยบอกคอยสอนว่าต้องทำอะไร ลูกน้องที่อยู่กันมานานเหมือนเสาหลักค้ำจุนธุรกิจ ต่อให้มีคนใหม่ เข้ามาแม้จะดีกรีสูงกว่าดูท่าจะเก่งกว่าแต่ก็ต้องมาฝึกให้ทำงานเป็นและเข้าใจความเป็นไปขององค์กร

หัวหน้าที่ดีที่จะพาธุรกิจไปรอดในช่วงนี้จึงต้องรู้จักบริหารบุคลกรที่อยู่ด้วยกันมานานให้เขารู้สึกรัก เทิดทูนบริษัท และคิดว่านี่คือบริษัทที่ดีที่สุดที่เขาจะฝากชีวิตไว้ ไม่ใช่สร้างความรู้สึกให้ลูกน้องมาทำงานแค่เช้าไปเย็นกลับ ไม่รู้สึกผูกพัน ไม่มีความคิดด้านบวกกับบริษัท ซึ่งถือเป็นการบริหารที่ไม่เอาใจลูกน้อง เพราะธุรกิจที่จะเติบโตยิ่งใหญ่ลำพังแค่เจ้าของธุรกิจคนเดียวไม่สามารถทำให้ยิ่งใหญ่ได้

6.คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ

 

2

เจ้าของธุรกิจมักจะอยากขยายฐานลูกค้าให้ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นคือแทนที่จะมุ่งทำการตลาดไปที่กลุ่มเป้าหมายหลัก กลับเน้น “ปริมาณ” มากกว่า “คุณภาพ” ของลูกค้าจริงๆ ดังนั้น เราจึงควรถามตัวเองอยู่เสมอว่า

ธุรกิจของเราเกิดมาเพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มไหน แล้วเราอยากต่อยอดธุรกิจให้พัฒนาไปอย่างไรในอนาคต ถ้าตอบคำถามได้ตามนี้เราถึงจะสามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

7.ตลาดออนไลน์ใช้ให้เป็น

16

ภาพจาก bit.ly/3nJ2aTv

ยุคนี้ถ้าไม่รู้จัก “ตลาดออนไลน์” ธุรกิจก็เตรียมตัวเจ๊งได้เลย สมัยก่อนธุรกิจอาจมั่นใจในทีมการตลาด มั่นใจในการขาย มั่นใจในสินค้า และมองว่าช่องทางออนไลน์ไม่จำเป็น แต่สมัยนี้แตกต่างสิ้นเชิง ดูได้จากธุรกิจระดับโลกทุกแห่งต้องหันมาพึ่งพาแพลตฟอร์มออนไลน์ในการเข้าถึงลูกค้า

และธุรกิจไหนที่ไปไม่เป็น ทำไม่ได้ ผสมผสานออนไลน์กับออฟไลน์เข้ากันไม่ได้ ก็มีแต่ล้มหายตายจาก พลังของตลาดออนไลน์ไม่ใช่แค่การตลาดที่เพิ่มยอดขาย แต่ปัจจุบันมันคือเครื่องมือการตลาดที่สะท้อนให้เห็นถึงความอยู่รอดของบริษัทได้เลยทีเดียว

8.ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากกว่าความคิดเดิมๆ

4

ผู้บริหารที่มั่นใจว่าความคิดของเราดีที่สุด ไม่คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือเอาแต่ลอกตามความคิดคนอื่น ไม่มีจุดยืนของตัวเอง ในปี 2564 นี้เชื่อว่าจะดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดได้ยาก ลูกค้ายุคใหม่ต้องการเห็นสินค้าที่มีความแตกต่าง ที่สามารถช่วยเหลือ ตอบโจทย์ความต้องการได้จริง

ไม่ใช่แค่สินค้าธรรมดาที่มองไปทางไหนก็เจอ หรือเป็นสินค้าและบริการที่เอาแต่เงินลูกค้าแต่ไม่ช่วยสร้างสรรค์สิ่งใดๆ คืนกลับไป การทำธุรกิจยุคนี้ที่จะเติบโตจึงควรมีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและมองเห็นว่าธุรกิจของเรามีประโยชน์กับเขาจริงๆ

9.เน้นเอาใจลูกค้ากลุ่มใหญ่ผู้มีรายได้น้อย

19

สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันคนตกงานมากขึ้น คนมีรายได้ลดลง กลุ่มคนส่วนใหญ่ในประเทศจึงมีรายได้น้อย ไม่ใช่พวกกลุ่มนักการเมือง หรือเศรษฐีต่างๆ ที่เราถือว่าเป็นคนส่วนน้อยคนพวกนี้ไม่สะทกสะท้านกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

เพราะมีเงินทุนมากพอที่จะใช้ไปได้ตลอดชีวิต ต่างกับคนธรรมดาที่เป็นชาวบ้านทั่วไปที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ รายได้แทบไม่พอกับรายจ่ายดังนั้น การที่จะโฟกัสการลงทุนใดๆ ควรเน้นเอาใจคนกลุ่มนี้ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ

10.รู้จักการปรับลดต้นทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจ

3

การเงินของภาคธุรกิจ SMEs จะยังคงไม่แข็งแรงเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาด จากการลดลงของยอดขายและการเผชิญกับปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ปัจจัยหลักในการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs หลัก ๆ คือ การลดต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตหรือการให้บริการ จะเป็นโจทย์สำคัญในการรักษาสุขภาพทางการเงินของธุรกิจ

การบริหารงานในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์คือสิ่งที่ธุรกิจต้องการ ในวิกฤติย่อมมีโอกาสแต่ใช่ว่าทุกคนจะมองเห็นโอกาสนั้น และการบริหารธุรกิจที่ดีต้องรู้จักบริหารคน บริหารเวลา บริหารการเงิน ทุกสิ่งต้องสัมพันธ์กัน ไม่ใช่แค่เก่งทางใดทางหนึ่งหรือมั่นใจในความคิดเดิมๆ ยุคนี้ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ หากไม่ขยับตามก็เตรียมตัวเจ๊งไม่เป็นท่าได้เลย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/35Ge9uV , https://bit.ly/3imXthn , https://bit.ly/3qhkchp , https://bit.ly/2MUIIGE

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sx4Xmp

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่

โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด