10 จุดชี้อนาคตตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ปี 2017

ท่ามกลางกระแส เศรษฐกิจโลก ที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกาพยายามเบรกไว้ไม่ให้จีนได้กลายเป็นมหาอำนาจของโลกแต่ดูเหมือนว่าความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลของจีนก็ไม่ได้ลดลาวาศอกลงแม้แต่น้อย

โดยเฉพาะบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลกอย่าง Alibaba ที่ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาประเทศในแถบอาเซียนเหมือนเป็นแหล่งขุมทรัพย์ที่สำคัญก็ว่าได้ นั้นคือเหตุผลที่ทำไม Jack Ma ถึงต้องใช้เงินกว่าพันล้านเหรียญในการควบรวมกิจการของ Lazada ให้มาเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของ Alibaba ที่เพิ่มมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ www.ThaiSMEsCenter.com เองก็มองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียนจะมีการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่แน่นอนว่าจะเป็นการขยายในหลายส่วนตั้งแต่โฆษณาดิจิทัล โลจิสติกส์ การเงิน ประกัน แม้แต่บริการทางสุขภาพด้วยเช่นกัน และต่อไปนี้คือ 10 จุดชี้อนาคตที่น่าจะเกิดขึ้นแน่ๆกับตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ปี 2017 นี้

เศรษฐกิจโลก

1. ลาซาด้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

แม้การซื้อกิจการของ Lazada เข้ามาแต่ Alibaba เองก็ยังไม่ได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรมากนักเพราะ Alibaba เองก็มีแพลตฟอร์มที่ใกล้เคียงกันนี้มากมายไม่ว่าจะเป็น Ant Financial, Cainiao, และ Taobao Partner (TP) program

โดยเฉพาะTaobao Partner (TP) program ที่มีมากว่า 7 ปีและเป็นโปรแกรมที่ให้ผู้ผลิตผู้จำหน่ายได้ให้บริการอีคอมเมิร์ซแก่พ่อค้าแม่ขายจาก Taobao เช่น Baozun และ Lili & Beauty ที่เสนอบริการการดำเนินการของร้านค้าและบริการอื่นๆที่ทำให้ Taobao และ Tmall เติบโตขึ้นเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดของจีน

ซึ่ง Lazada Partner ที่เข้ามาใหม่ก็ต้องมีแนวทางบริการที่ไม่ต่างจากของเดิมที่ Alibaba เคยมี เราจึงรอเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มศักยภาพในการค้าขายให้ได้กำไรขึ้นอีกหลายเท่าตัวทีเดียว

2. เมื่อโลจิสติกส์กลายเป็นสินค้า ทำให้เครือข่ายของอาลีบาบาอย่าง Cainiao จะมาแรง

การขนส่งดูจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ในเรื่องการค้าขายออนไลน์ปีที่ผ่านๆมามีหลายกิจการที่เข้ามาร่วมในตลาดนี้อย่าง Ninja Van, Ascend Group’s Sendit, และ Skootar ขณะที่เครือข่ายของ Alibaba อย่างCainiao ก็ถูกหยิบยกมาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้

และดูเหมือนว่าเพื่อเพิ่มศักยภาพและแก้ปัญหาด้านการขนส่งให้ชัดเจนขึ้นบริการที่น่าสนใจอย่าง Alipay และ Ant Financial จะเริ่มมีบทบาทโดยมีCainiaoเป็นฐานที่คอยควบคุมให้การทำงานส่วนนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

uu2

3. Google and Facebook จะเจอคู่แข่งที่สำคัญ

ในปี 2017 นอกจากอาลีบาบาจะดีลธุรกิจกับลาซาด้า รวมถึงการร่วมกับแพลตฟอร์มอย่าง Tmail อาลีบาบาก็เตรียมเปิดตัวแพลดฟอร์มโฆษณาอย่าง Alimama ที่คล้ายกับ Google Adword โดยโปรแกรม Alimama นี้ยังทำงานร่วมกับเครือข่ายโฆษณาบนหน้าจอและจัดการข้อมูลอย่างTaobao Affiliate Network ด้วย

ซึ่งถือว่าเป็นการแย่งพื้นที่เสิร์จเอ้นจิ้นในวงการทั้งจาก Facebook และ Google อย่างตรงตัวโดยเป้าหมายคือให้คนทั่วโลกได้สามารถเข้าถึงอาลีบาบาได้มากขึ้นนั่นเอง

4. พร้อมปฏิรูประบบการจ่ายเงินออนไลน์ให้ง่ายขึ้น

ปี 2017 เป็นปีที่เข้ายุคของ Cash-on-delivery อย่างเต็มรูปแบบแล้ว กว่า 75% ของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซก็เกิดจาก Cash-on-delivery เช่นกัน ทำให้เกิดสตาร์ทอัพที่จับกระแสนี้มาได้สักพักแล้ว

เช่น Omise, DOKUtelcos และธนาคารอื่นๆที่เริ่มให้บริการคล้ายๆ Paypal แล้วโดยทางอาลีบาบาเองเริ่มเอา Alipay และ Ant Financial เข้ามาแทรกซึมในอาเซียนเป็นผ่านทางลาซาด้าแล้ว

ซึ่งเป็นตลาดที่มีฐานผู้ใช้งานและช่องทางจัดจำหน่ายที่ใหญ่ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งานของอาลีบาบาสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

uu3

5. ตลาดอีคอมเมิร์ซจะแข่งขันในเรื่องราคามากกว่าการมองหาต้นทุนที่ต่ำ

การแข่งขันอีคอมเมิร์ซยุคนี้ความได้เปรียบไม่ได้อยู่ที่การประหยัดด้านต้นทุนเพียงอย่างเดียวแต่สำคัญที่เรื่องของราคา วิธีการเลือกสรรสินค้า ที่ต้องใช้ความคิดเยอะ จึงจะทำให้การแข่งขันนั้นมีโอกาสที่จะชนะได้มากขึ้นเห็นได้จากกิจการแฟชั่น Pomelo Fashion ที่ให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์โดยตรง เพื่อ ผลิตสินค้าแฟชั่นตามสไตล์ของตัวเอง

รวมถึง Sale Stock สตาร์ทอัพแฟชั่นของอินโดนิเซียที่ใช้โมเดลคล้ายๆ กันในการรับออเดอร์จากเว็บไซต์บนมือถือ และยังมี Chatbot ที่ใช้ Chatbot สำหรับอีคอมเมิร์ซของภูมิภาคนี้ ทำให้รับออเดอร์ได้ผ่าน Facebook Messenger ได้อีกด้วย

6. การควบรวมกิจการยังจะเกิดขึ้นเรื่อยๆในปี 2017

ปี 2016 นับเป็นปีที่มีกิจการที่ควบรวมกันอยู่หลายๆเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Zalora ทั้งไทยและเวียดนามที่ถูกขายให้กับเซ็นทรัลกรุ๊ป, Cdiscount ที่ถูกขายให้กับ TCCGroup, อีคอมเมิร์ซอย่าง Moxy ที่โฟกัสลูกค้าผู้หญิงถูกควบรวมกับ Bilna ของอินโดนิเซียเกิดเป็นบริษัทใหม่ Orami,

บริษัท Rakuten ของญี่ปุ่นในอินโดนิเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ถูกขายคืนให้กับผู้ก่อตั้ง และร้านขายของชำออนไลน์อย่าง RedMart ถูกขายให้กับลาซาด้า พร้อมกับข่าวลือว่าอเมซอนเตรียมให้บริการคล้ายๆกันอย่าง AmazonFresh ในสิงคโปร์ด้วย

uu4

7. แบรนด์จะใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อติดต่อกับลูกค้าโดยตรง

แบรนด์ที่ขายบน Lazada, MatahariMall, and 11street แรกๆมีคนเข้ามาดูสินค้าเรื่อยๆ ทำให้แบรนด์อย่าง L’Oreal and Unilever เข้ามาขายในแพลตฟอร์มนี้บ้าง

แต่ข้อเสียของการใช้แพลตฟอร์มพวกนี้คือไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้าหมวดไหนหรือแบรนด์ไหนขายดี ขายได้ตอนไหน ที่ไหน ขายให้ใคร ในปี 2017 แบรนด์จึงเริ่มทำให้ตัวแบรนด์เองให้กลุ่มเป้าหมายได้พบได้เห็น จากนั้นค่อยขายสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางต่างๆเช่น brand.com ที่มีข้อมูลของลูกค้า และสามารถควบคุมข้อมูลนั้นเพื่อสร้างช่องทางติดต่อที่มากขึ้นด้วย

8. การแข่งขันที่รุนแรงจะผลักดันให้ธุรกิจหาหลักประกันในเรื่องการเงินและสุขภาพมากขึ้น

ในปี 2016 เราจะเห็น FinTech อย่าง EdirectInsure, frank.co.th ในไทย frankinsure.com.tw ในไต้หวัน เพื่อให้บริการประกันอุบัติเหตุรถยนต์รูปแบบใหม่ และบริษัทหน้าใหม่ที่ให้บริการประกันอีกมากมายทางออนไลน์

และทางอาลีบาบาเองก็ให้ความสำคัญกับส่วนนี้โดยเขากล่าวว่า “อีคอมเมิร์ซเป็นเพียงแค่ก้าวแรกเท่านั้น งานของอาลีบาบากว่าครึ่งจะทุ่มไปกับโลจิสติกส์ การเงินบนอินเตอร์เน็ต ข้อมูล คลาวด์ อินเตอร์เน็ตบนมือถือ โฆษณา บริการสุขภาพ และ “ความสุข”

uu5

9. ตลาดที่น่าสนใจในอาเซียนคือ “เมียนมาร์”

ในขณะที่ประเทศอื่นอาจเริ่มอิ่มตัวแต่เมียนมาร์ที่เปิดประเทศมาตั้งแต่ปี 2011 และกำลังก้าวเข้าสู่ยุคโมบายเต็มรูปแบบเพราะตลาดในปประเทศอื่นๆเริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ยกเว้นเมียรมาร์ที่เปิดประเทศตั้งแต่ปี 2011 และก้าวเข้าสู่ยุคโมบายทันที ทำให้ทั้งประเทศใช้ชีวิตอยู่แต่กับมือถือกันมากขึ้นโดย Shop.com.mm ที่เปิดให้บริการในเมียรมาร์ในปี 2014

มีคนเข้าไปดูในเว็บไซต์นี้เฉลี่ย 90,000 ต่อเดือน รวมถึงการมีผู้เล่น Facebook เพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านคน การสร้างร้านค้าบนโซเชี่ยลและวางเครือข่ายออนไลน์ในพม่าจึงเหมือนจะดูมีอนาคตที่สดใสรออยู่อีกมาก

10. ใครที่ให้บริการแบบ On-Demand ต้องรับมือให้ดี

สำหรับสตาร์ทอัพที่ให้บริการ On-Demand ก็ต้องบอกว่าอนาคตของบริการนี้ชักไม่สดใสเหมือนก่อนแล้ว ล่าสุด ร้านขายของชำ On-Demand ในไทเปและมะนิลาต้องปิดตัวลงและไล่พนักงานออกหมด,Tapsy บริการส่วนตัวในไทยก็ปิดตัวลงอีกไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัวส่วนGo-Jek ที่เป็นธุรกิจบริการคมนาคมในอินโดนิเซียก็ทำท่าจะไม่รอด

แต่ทั้งนี้โมเดล On-Demand ก็ยังใช้ได้อยู่ เพียงแต่ต้องทำให้ลูกค้าของคุณรู้ว่าบริการของคุณสามารถเติมเติมความต้องการของเขา “ทันที” ได้ในยามเร่งด่วน เมื่อถึงตอนนั้น เป็นใครก็ต้องยอมจ่าย ลำพังมีสินค้าที่ตอบโจทย์อย่างเดียวไม่ทำให้ผู้บริโภคควักเงินจ่ายได้ในยุคนี้

ในที่นี้จะเห็นว่ามีหลายแนวทางที่ตลาดอีคอมเมิร์ซจะถูกยกระดับให้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นซึ่งก็เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีในหลายปีที่ผ่านมาที่ทำให้การสื่อสารมีความหลากหลายและในอนาคตก็คงมีความเปลี่ยนแปลงที่มากยิ่งขึ้น

ซึ่งเราก็ต้องติดตามการเคลื่อนไหวให้ดีเพราะแวดวงนี้มีการอัพเดทตลอดเวลาธุรกิจที่เกี่ยวข้องจึงต้องพัฒนาและก้าวตามเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ทันด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/ALgjGT

ขอบคุณรูปภาพจาก goo.gl/E3XjuO

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด